ตลาด “สมุนไพรไทย” ในปี 2565 ที่ผ่านมามีมูลค่าสูงถึง 52,104 ล้านบาท โดยไทยนั้นเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน ที่มีการส่งออกสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ (ข้อมูลจากรายงานสุขภาพคนไทย ประจำปี 2566) แต่ถึงแม้ไทยจะมีศักยภาพแต่ก็ยังมีข้อจำกัดด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยาจากธรรมชาติ อุตสาหกรรมแปรรูปสมุนไพร และอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปอาหาร เป็นต้น ทำให้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ได้เล็งเห็นถึงข้อจำกัด จึงจัดงาน TCELS Business Forum 2023 Keep an Eye on the Future : Unlocking the Capability of Thai Herbal Business เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อปลดล็อกการเติบโตของอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย ให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนด้วยกัน ไปจนถึงร่วมมือกับภาครัฐเพื่อขยายตลาดไปสู่ระดับโลกได้
ว่าที่ร้อยเอก ภก.ดร.วฤษฎิ์ อินทร์มา ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุน หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า TCELS ได้ปรับบทบาทมาเป็นหน่วยงานที่ให้ทุน มุ่งเน้นด้านสารสกัดต่างๆ จากสมุนไพรไทย มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหรือยา โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการให้ผู้ประกอบการทำ Commercialization หรือนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดให้ได้ โดยให้ผู้ประกอบการเข้ามาร่วมมือกับภาครัฐก่อนจะต่อยอดไปสู่ภาคเอกชน รวมไปถึงการนำผลิตภัณฑ์ที่มีมาต่อยอด สร้างมาตรฐานให้ผลิตภัณฑ์เพื่อส่งขายในประเทศและต่างประเทศ
“ซึ่งการพาผู้ประกอบการไปสู่ภาครัฐ เราเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการจัดเตรียมเอกสาร และให้ทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดให้ได้ “ในปีนี้เราให้ทุนไปแล้วประมาณ 10 ราย มูลค่าประมาณ 50 ล้านบาท” ว่าที่ร้อยเอก ภก.ดร.วฤษฎิ์ อินทร์มา กล่าวเสริม
ด้าน นายแพทย์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และอดีตประธานกรรมการ ศลช. มองทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยว่า ถ้าดูตัวเลขการเติบโตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรนั้นค่อนข้างมาก แต่ส่วนมากจะอยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง ส่วนที่เป็นยาจะรองลงมา หากลงลึกมาที่การใช้กับระบบบริการสุขภาพ ก็ยิ่งน้อยลงไปอีก เพราะระบบสุขภาพไทยเติบโตมาด้วยยาแผนปัจจุบัน
“ยาสมุนไพร ไม่ค่อยได้ใช้กับหน่วยงานภาครัฐ ส่วนมากจะเป็นร้านขายยา คนมาซื้อกินเอง เช่น คนเป็นโควิด ซื้อฟ้าทะลายโจรมาเก็บไว้ หรือ ขมิ้นชันที่คนซื้อมากินเองได้” นายแพทย์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กล่าว
ส่วนที่จะเข้าสู่ระบบเงินงบประมาณภาครัฐ เช่น บัตรทอง หรือ ประกันสังคม ก็มีข้อจำกัด เพราะผู้ให้บริการเกือบทั้งหมดเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่คุ้นชินกับการใช้สมุนไพร ถึงแม้ปัจจุบัน บัตรทอง จะมีงบประมาณแยกออกมาเพื่อแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
โดยในปีหน้าหรือปีงบประมาณนี้ ทาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) วางแผนงบประมาณไว้ที่ 1,500 ล้านบาท จะเป็นด้านสมุนไพรจริงประมาณ 500-600 ล้านบาท ที่เหลือจะเป็นด้านนวด อบประคบ ฝังเข็ม ทั้งนี้งบประมาณอาจจะถูกใช้ไม่หมด เพราะคนใช้คือแพทย์แผนปัจจุบัน
“ทั้งนี้สมุนไพรไทยหลายชนิดมีประโยชน์กับการรักษาโรคปัจจุบัน ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง กำลังเปลี่ยนวิธีสนับสนุนทางการเงินใหม่ โดยจะให้จ่ายตามรายการยาที่อยู่ในบัญชียาหลักทั้ง 97 ตัว ซึ่งจะกระตุ้นให้หน่วยบริการใช้มากขึ้น อีกส่วนคือ จะตั้งราคายาสมุนไพร ให้มีกำไรมากกว่ายาแผนปัจจุบัน รวมถึงให้ร้านขายยาจ่ายยาสมุนไพรมากขึ้น เพราะร้านขายยาสามารถรักษา 16 โรคและเบิกเงินจากบัตรทองได้ ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้ทางร้านจ่ายยาสมุนไพรมากขึ้น” นายแพทย์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กล่าว
นอกจากนี้ นายแพทย์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ยังแนะนำผู้ประกอบการสมุนไพรไทยที่ต้องการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจตนเองว่า จะต้องมี 2 ข้อสำคัญ คือ
1.ผลิตภัณฑ์ต้องได้มาตรฐาน คุณภาพดี ปลอดภัย หรือผ่านการขึ้นทะเบียน อย.
2.ต้องพร้อมแข่งชันในตลาดภาครัฐ ปัจจุบันสถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเมือง (รพ.สต.) ปลูกสมุนไพรเอง เพราะนโยบายรัฐอยากให้ชาวบ้านปลุกสมุนไพรเองใช้ในครัวเรือน ช่วยตัวเองได้ เช่น โรคกระเพาะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ก็กินขมิ้นชันแทนยาแผนปัจจุบันได้ แต่หากผู้ปะกอบการมียาที่ได้คุณภาพ ราคาไม่แพง หน่วยงานเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนปลูกเอง
ขณะที่ ดร.พัชราภรณ์ วงษา ผู้อำนวยการโปรแกรมบริหารโภชนเภสัชภัณฑ์และเวชสำอาง TCELS กล่าวถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการสมุนไพรไทยว่า TCELS ได้งบประมาณส่วนหนึ่งมาสนับสนุนผู้ประกอบการที่เข้าเกณฑ์ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดยจะเน้นช่วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เข้าตลาดแล้ว ให้ขยายตลาดต่อไปได้ โดยแบ่งกลไกสนับสนุนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก คือ นวัตกรรมสมุนไพรที่ได้ขึ้นทะเบียนใหม่จาก อย. และเข้าสู่ตลาดแล้วไม่เกิน 1 ปี จะเน้นให้คนกลุ่มนี้ขอทุนเพื่อทดลองตลาด เก็บข้อมูลไปวางกลยุทธ์และวางจำหน่ายจริง เป็นการช่วยให้ธุรกิจตั้งไข่ได้ เพราะบางครั้งผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวใหม่ยังไม่เป็นที่รู้จัก ซึ่ง TCELS จะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่รู้จัก ได้รับการยอมรับและขยายในวงกว้างได้
ซึ่งงบประมาณจะเป็นลักษณะของการ Matching หมายความว่าไม่ได้ให้ทั้ง 100% จะขึ้นอยู่กับธุรกิจ ถ้าเป็น SME ที่มีรายได้แล้วก็จะ Matching 50% โดยมีพวกสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ช่วยธุรกิจขยายตลาด ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นทุนให้เปล่า
กลุ่มที่ 2 คือ ผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดแล้ว แต่อยากจะเพิ่มความเป็นพรีเมี่ยมมากขึ้น มีผลทดสอบทางวิทยาศาสตร์แล้ว และต้องการขยายการผลิต ซึ่งกลุ่มนี้ก็จะ Matching กันที่ 50% เช่นกัน
ทั้งนี้สมุนไพรไทยที่ทาง TCELS มุ่งเป้าจะเพิ่มผลผลิตมีทั้งหมด 15 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน กระชายดำ กัญชง กัญชา บัวบก กระเจี๊ยบ
“เป้าหมายของเราคืออยากให้สมุนไพรหรือสารสกัด มันเติบโตขึ้น คนไทยสามารถผลิตได้เองโดยไม่ต้องนำเข้าหรือลดการนำเข้า อยากให้มีโรงงานสกัดเพื่อที่จะขายทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ เป็นศูนย์กลางของการสกัดสารจากสมุนไพร ซึ่งปัจจุบันเรามีเพียง 10 โรงงาน ที่ทำได้ แต่เป็นการผลิตเพื่อใช้เองเป็นส่วนมาก เบื้องต้นหากเราขยายไปจนลดการนำเข้าได้สัก 30% ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ซึ่งเราตั้งเป้าไว้ว่าจะทำให้ได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้เป้าหมายจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยทุกองคาพยพช่วยกันผลักดัน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข และ อย. ซึ่ง TCELS เราเป็นเพียงส่วนเล็กๆ เท่านั้น” ดร.พัชราภรณ์ วงษา กล่าว
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารและรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ TCELS
China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…
AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…
ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…
ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…
ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…
ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…