Economy

ส่องกลยุทธ์ SeaChange® 2030 จาก ไทยยูเนี่ยน กับ 11 พันธกิจ ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้ท้องทะเล

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่ผ่านมา บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange ® 2030 เพื่อต่อยอดความสำเร็จของโครงการตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นด้าน การสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้คนและดูแลรักษาท้องทะเล การผลักดันอุตสาหกรรมอาหารทะเลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก การทำงานเพื่อตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนของ UN SDGs และ การดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแรงงานถูกกฎหมาย หรือจัดหาวัตถุดิบ ซึ่งการประกาศในครั้งนี้เป็นการ ก้าวกระโดด จากกลยุทธ์เดิมผ่านพันธกิจทั้งหมด 11 ข้อ ที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ คือ การจัดหาวัตถุดิบ การผลิตและการกระจายสินค้า และผู้บริโภคและชุมชน

จากความตั้งใจแก้ปัญหาความยั่งยืนท้องทะเล จนเกิดเป็น SeaChange®

หากย้อนกลับไปถึงที่มาของจุดกำเนิดกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange®  ในปี 2016 จนมาถึงการประกาศกลยุทธ์ SeaChange® 2030 ในครั้งนี้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนทำให้ระบบนิเวศตกอยู่ในความเสี่ยง

จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ ไทยยูเนี่ยน ในฐานะผู้นำธุรกิจอาหารทะเลระดับโลกจึงได้รุกประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® เป็นครั้งแรกในปี 2016 เพื่อแสดงถึงบทบาทเชิงบวกต่อชุมชนและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่า ประชากรโลกกว่า 600 ล้านคนพึ่งพามหาสมุทรเป็นแหล่งอาหารและใช้ในการประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา

เปิดรายงานความยั่งยืนกลุ่มธุรกิจ TCP เผย “ความร่วมมือ” เปลี่ยนทุกสิ่งเป็นไปได้ สร้างสมดุลทุกมิติ เศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อม สู่เป้าหมายความยั่งยืน

หลังจากประกาศ กลยุทธ์ SeaChange® ในปี 2016 ไทยยูเนี่ยน ได้ประกาศพันธกิจการจัดหาปลาทูน่าอย่างยั่งยืนเป็นครั้งแรกอีกด้วย โดยมีเป้าหมายว่าภายในปี 2020 ปลาทูน่า 75% ของผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของบริษัท จะต้องมาจากการประมงที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสินค้าประมง (Marine Stewardship Council : MSC) หรือมาจาก Fishery Improvement Projects หรือ FIP (โครงการพัฒนาการประมง) ซึ่งเมื่อสิ้นปี 2020 ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าภายใต้ตราสินค้าของ ไทยยูเนี่ยน กว่า 88 เปอร์เซ็นต์ มาจากแหล่งประมงที่ได้รับการรับรองจาก MSC หรือจากแหล่งที่เป็น FIP ซึ่งทำได้ดีกว่าที่เป้าหมายกำหนด

จากความสำเร็จของการประกาศพันธกิจปลาทูน่ายั่งยืนทำให้ ไทยยูเนี่ยน เดินหน้าต่อโดยขยับตัวเลขเป็น 100% ของผลิตภัณฑ์ รวมถึง OEM จะต้องมาจากแหล่งประมงที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานภายในปี 2025

นอกจากนี้ยังประสบความสำเร็จในอีกหลากหลายภารกิจ ไม่ว่าจะเป็น

  • การเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF)
  • ได้รับเกียรติเป็นเป็นประธาน SeaBOS หรือ Seafood Business for Ocean Stewardship ในปี 2022
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่ 9 ปีติดต่อกัน และได้อันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งไทยยูเนี่ยนเคยได้ในปี 2018 และปี 2019
  • ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน
  • นำหลักการ “นายจ้างคือผู้จ่ายเงิน” (Employer Pays Principle) มาใช้เพื่อมิให้พนักงานคนใดต้องจ่ายเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในการสมัครงานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
  • บริจาคอาหารเกือบ 1 ล้านมื้อพร้อมกับเวชภัณฑ์อื่น ๆ ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมา ผ่านโครงการ Thai Union Cares
  • ออกสินเชื่อส่งเสริมความยั่งยืน และหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loans and Sustainability-Linked Bonds) รวม 27,000 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และตั้งเป้าหมายให้ภายในปี 2025 เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัท 75% มาจากเงินทุนที่ส่งเสริมความยั่งยืน (Blue Finance)

พันธกิจ 11 ข้อ ความท้าทายใหม่ของ SeaChange ® 2030

จากความสำเร็จตั้งแต่เริ่มโครงการ SeaChange®  ครั้งแรกในปี 2016 จนถึงปัจจุบัน ทำให้ ไทยยูเนี่ยน พร้อมยกระดับการทำงานด้านความยั่งยืนไปอีกขั้นถึงปี 2030 โดยมีเป้าหมายที่กว้างขึ้น และลึกขึ้น ดูแลครอบคลุมทั้งมิติผู้คนและสิ่งแวดล้อม และยังคงตอบโจทย์ UNSDGs ผ่านพันธกิจทั้ง 11 ข้อ ดังนี้

1.เส้นทางสู่ Net Zero: โดยจะเดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 42% จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้ไฟฟ้า และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ ภายในปี 2030 ก่อนจะเดินหน้าบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050

2.การทำประมงอย่างรับผิดชอบ: อาหารทะเลที่จับจากธรรมชาติ จะผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ หรือมาจากโครงการปรับปรุงการประมงทั้ง 100% และขยายขอบเขตการทำงานมากกว่าวัตถุดิบปลาทูน่าไปยังสัตว์น้ำอื่นๆ นอกจากนี้ด้านแนวปฏิบัติด้านแรงงานจะต้องมีความปลอดภัย เท่าเทียม

3.การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างรับผิดชอบ: กุ้งเพาะเลี้ยงทั้ง 100% จะต้องผลิตขึ้นโดยส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านสวัสดิการและสภาพการทำงานของอุตสาหกรรมอาหาร

4.การฟื้นฟูระบบนิเวศ: สนับสนุนงบจำนวน 250 ล้านบาท (มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น ปกป้องและฟื้นฟูป่าชายเลน แนวปะการัง และป่าดิบชื้น

5.เกษตรกรรมที่มีความรับผิดชอบ: วัตถุดิบถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มทั้งหมด 100% ได้รับการรับรองว่าจะปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า ส่วนวัตถุดิบไก่จะได้รับการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

6.กระบวนการผลิตที่เป็นเลิศ: ปรับปรุงระบบภายในโรงงานเพื่อลดการปล่อยน้ำเสียเป็นศูนย์ ลดของเสียฝังกลบเป็นศูนย์ และลดการสูญเสียอาหารเป็นศูนย์ โดยจะนำร่องในโรงงานหลัก 5 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ

7.งานที่ปลอดภัย มีคุณค่า และเท่าเทียม: เดินหน้าสร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย มีคุณค่า ยอมรับความแตกต่างและหลากหลาย มีความเท่าเทียม ให้กับพนักงานทุกคนและยังขยายผลให้ครอบคลุม:

-50% ของผู้บริหารองค์กรเป็นผู้หญิง

-100% ของเรือประมงที่จัดหาวัตถุดิบให้บริษัทจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และไม่มีแรงงานทาสสมัยใหม่

-100% ของฟาร์มสัตว์น้ำที่จัดหาวัตถุดิบให้บริษัทจะต้องดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านแรงงาน

8.การลดขยะพลาสติกในทะเล: จัดการขยะพลาสติก 1,500 ตัน ไม่ให้มีสารเคมีลงไปปนเปื้อนสู่แม่น้ำลำคลองและทะเล

9.โภชนาการและสุขภาพ: ผลิตภัณฑ์ 100% ที่เก็บได้ในอุณหภูมิห้อง (เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง) ภายใต้แบรนด์ของบริษัทจะต้องยึดตามแนวทางด้านโภชนาการ และ 100% ของผลิตภัณฑ์ที่เก็บได้ในอุณหภูมิห้องที่ออกใหม่ทั้งหมดภายใต้แบรนด์ของบริษัท จะต้องส่งเสริมโภชนาการเชิงบวกเพื่อสุขภาพที่ดี

10.บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน: ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์สินค้าของบริษัท 100% จะต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนภายในปี 2025 และจะสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ผลิตให้กับคู่ค้าอย่างน้อย 60% ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

11.การเป็นพลเมืองดีของสังคม:  สนับสนุนงบประมาณจำนวน 250 ล้านบาท (มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อช่วยเหลือและตอบแทนชุมชนในพื้นที่ที่บริษัทดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีงานบรรเทาสาธารณภัยในช่วงเวลาวิกฤติอีกด้วย

ทั้งนี้ การบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยลดปริมาณคาร์บอน จำกัดปริมาณของเสียให้น้อยที่สุด รวมถึงป้องกันและฟื้นฟูระบบนิเวศ ให้เกิดขึ้นจริงตลอดห่วงโซ่มูลค่า

ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ณ วันนี้ไทยยูเนี่ยนมองว่าความยั่งยืนคือหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ และ SeaChange®  เปรียบเสมือนใบอนุญาตที่จะทำให้องค์กรดำเนินธุรกิจได้ในโลกปัจจุบัน การดูแลทรัพยากรด้วยความรับผิดชอบเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเป็นแหล่งอาหารและอาชีพให้กับประชากรโลกในรุ่นต่อไป

ไทยยูเนี่ยนตระหนักถึงสถานการณ์และความเร่งด่วนที่จะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ครั้งนี้เราจึงตั้งงบประมาณ 7,200 ล้านบาท หรือกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเท่ากับกำไรสุทธิที่บริษัทได้รับในปี 2022 ทุ่มให้กับการทำกลยุทธ์ความยั่งยืนยาวไปถึงปี 2030 พร้อมตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเพื่อมุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับห่วงโซ่มูลค่าธุรกิจอาหารทะเล

“SeaChange®  2030 จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้องค์กรของเราบรรลุวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืน เราเชื่อมั่นว่าความเปลี่ยนแปลงที่ช่วยกันผลักดัน จะเกิดประโยชน์ไม่เพียงแต่กับบริษัทเท่านั้น แต่คือความยั่งยืนเพื่อพวกเราทุกคน” ธีรพงศ์ จันศิริ กล่าวเสริม

ขณะที่ อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “วันนี้ อุตสาหกรรมอาหารทะเลต้องลุกขึ้นมาเดินหน้าดูแลผู้คน ดูแลโลก และมหาสมุทร เราต้องลงมือทำตั้งแต่วันนี้ และด้วยกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® เรามุ่งมั่นผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลของโลกดีขึ้น ความท้าทายเหล่านี้ต้องอาศัยพลังและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์กร รวมไปถึงภาคประชาชน ที่จะช่วยกันทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นจริง วันนี้บริษัทกับพันธมิตรพร้อมแล้วที่จะขอให้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลกหันมาร่วมกันทำให้โลกของเรายั่งยืน”

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.seachangesustainability.org/

supersab

Recent Posts

“โค้ก” ซีโร่ กลิ่นวานิลลา: เขย่าตลาดเครื่องดื่ม เติมความซ่าส์ หอมหวานลงตัว เอาใจ Gen Z

โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…

9 hours ago

Epson ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นแท่นผู้นำคนใหม่

บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…

9 hours ago

รฟม. ลุยตรวจเข้ม ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีม่วง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…

10 hours ago

LINE MAN MART ผนึกกำลัง Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายบริการช้อปปิ้งออนไลน์สู่ 1,400 สาขา จัดเต็มส่วนลดสุดปังทุกสัปดาห์!

LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…

13 hours ago

พฤกษา จับมือ รพ.วิมุต มอบสิทธิพิเศษดูแลสุขภาพลูกบ้านตลอดปี 2568 ตอกย้ำผู้นำอสังหาฯ สร้างชุมชนสุขภาพดี

พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…

14 hours ago

HONOR Magic7 Pro 5G ยอดขายพุ่งทะยาน 2.4 เท่า สะท้อนความเชื่อมั่นเทคโนโลยี AI

ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…

14 hours ago