ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) หรือโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย – จีน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ระบบรางเป็นระบบหลักในการเดินทางและการขนส่งของประเทศ สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี




โดยกระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงประเทศไทยกับกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาค จากเดิมที่มีการลงนามสัญญาและก่อสร้างงานโยธาเพียง 1 สัญญา ซึ่งสามารถเร่งรัดการดำเนินการสัญญางานโยธาของโครงการจนสามารถลงนามและก่อสร้างได้กว่า 10 สัญญา ซึ่งในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ กรมการขนส่งทางราง
ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่จำนวน 3 สัญญาที่ ได้แก่
1) สัญญาที่ 2 – 1 ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก
ระยะทาง 11 กิโลเมตร ความคืบหน้าในการก่อสร้าง 89.40 %
2) สัญญาที่ 3 – 4 ช่วงบันไดม้า ลำตะคอง
ระยะทาง 37.45 กิโลเมตร ความคืบหน้าในการก่อสร้าง 27.78%
3) สัญญาที่ 4 – 7 ช่วงสระบุรี – แก่งคอย
ระยะทาง 12.99 กิโลเมตร ความคืบหน้าในการก่อสร้าง 23%
การลงพื้นที่ของ ขร. ในครั้งนี้ เพื่อดำเนินการติดตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการยกระดับมาตรฐานรถไฟไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า และเป็นรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยในระยะยาว ที่ผ่านมาโครงการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ภายหลังจากสถานการณ์การคลี่คลายแล้ว หลังจากนี้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กำชับต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินโครงการให้ก่อสร้างแล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570 ตามแผนงานของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการผลักดันการขนส่งทางระบบรางเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนที่จะช่วยสร้างศักยภาพและโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทาง เกิดการกระจายความเจริญอย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยต่อไป
พร้อมนี้ ดร. พิเชฐ ยังได้เปิดเผยว่า ภายหลังจากโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จนั้น จะเกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ดังนี้
- ยกระดับคุณภาพชีวิตและระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
- ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
- เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และลดอุบัติเหตุในการเดินทาง
- เพิ่มศักยภาพการคมนาคมขนส่งระบบ
รางของรัฐ - ลดการกระจุกตัวของประชากร ลดความ
แออัดของชุมชนและกระจายสู่ภูมิภาค - ประหยัดพลังงาน และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
ทางอากาศ - ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเชื่อมโยงชุมชน
สู่ภูมิภาค - สร้างโอกาสและรายได้ให้คนท้องถิ่น รวมทั้ง
กระตุ้นให้เกิดการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจ
ตามแนวเส้นทางรถไฟ
กรมการขนส่งทางรางจะทำหน้าที่กำกับดูแล ติดตาม การดำเนินการต่างๆเพื่อพัฒนาการขนส่งทางรางให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดีขึ้น ตรงเวลา และปลอดภัย