Transportation

ถกผู้ให้บริการระบบราง เหตุดินถล่มภายในอุโมงค์คลองไผ่

กรมการขนส่งทางรางหารือผู้ให้บริการระบบราง พร้อมติดตามข้อเท็จจริงเหตุการณ์ดินถล่มภายในอุโมงค์คลองไผ่ ของสัญญา 3 – 2 โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา พร้อมทั้งกำชับผู้รับจ้างและที่ปรึกษาควบคุมงานที่อยู่ระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้างของ รฟท. ทั่วประเทศ ตรวจสอบความปลอดภัยโครงการก่อสร้าง เพื่อให้มีมาตรการความปลอดภัยในการดำเนินงาน ไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ

วันนี้ (6 กันยายน 2567) ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับและบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง ครั้งที่ 4/2567 ร่วมกับหน่วยงานผู้ให้บริการระบบรางที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมฯ ได้มีการหารือประเด็นต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนและผู้ใช้บริการระบบขนส่งทางราง รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงและแก้ไขปัญหา โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ ดังนี้

สถิติเหตุขัดข้องของรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2567 รวม 12 ครั้ง ประกอบด้วย

  1. เดือนกรกฎาคม 2567 มีเหตุรถไฟฟ้าขัดข้องทั้งหมด 6 ครั้ง สาเหตุเกิดจากระบบขับเคลื่อน 2 ครั้ง จุดสับราง 2 ครั้ง ระบบอาณัติสัญญาณ 1 ครั้ง และอื่น ๆ 1 ครั้ง
  2. เดือนสิงหาคม 2567 มีเหตุขัดข้องทั้งหมด 6 ครั้ง สาเหตุเกิดจากระบบเบรก 1 ครั้ง ระบบประตูรถ 1 ครั้ง จุดสับราง 1 ครั้ง ระบบอาณัติสัญญาณ 1 ครั้ง และอื่น ๆ 2 ครั้ง ซึ่งกรมการขนส่งทางรางได้ประสานผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุของการขัดข้อง และร่วมกันหาแนวทางการป้องกันเพื่อลดจำนวนเหตุรถไฟฟ้าขัดข้อง

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้มีการรายงานเหตุดินถล่มภายในอุโมงค์คลองไผ่ฯ โดย ขร. ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ข้างต้น ณ สถานที่เกิดเหตุดังกล่าว พร้อมทั้งมีหนังสือรายงานผลถึงกระทรวงคมนาคม (คค.) เพื่อมอบหมายให้ รฟท. พิจารณา ดังนี้

  1. ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรายงานสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงดำเนินการปรับปรุงความปลอดภัย ให้เป็นไปตามมาตรฐาน แนวทาง มาตรการ ระเบียบ ข้อกำหนด คู่มือการก่อสร้าง และเอกสารที่แนบในสัญญาก่อสร้าง
  2. ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตามกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือ และแผนปฏิบัติการพิเศษค้นหาและกู้ภัย ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักวิศวกรรม หลักความปลอดภัย และเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ทั้งนี้ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง ป้องกันการสูญเสียซ้ำซ้อน
  3. ตรวจสอบสัญญาจ้างก่อสร้าง ในส่วนของความรับผิดชอบ ประกันภัย รวมทั้งมาตรการเยียวยาให้กับผู้เสียหาย และสั่งการผู้รับจ้างและที่ปรึกษาควบคุมงานที่อยู่ระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้างของ รฟท. ทั่วประเทศ ตรวจสอบความปลอดภัยโครงการก่อสร้าง กรณีพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย ให้แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการทราบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงความปลอดภัยโดยเร็ว โดยเฉพาะโครงการที่มีการขุดเจาะอุโมงค์ให้เฝ้าระวังความปลอดภัยเป็นพิเศษโดยใช้มาตรการความปลอดภัยสูงสุด

ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ) ได้สั่งการให้ รฟท. ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด พร้อมทั้งรายงานสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงดำเนินการปรับปรุงความปลอดภัย ซึ่งขณะนี้ให้หยุดการก่อสร้างอุโมงค์ไว้ชั่วคราว และรอผลการวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุอย่างเป็นทางการ ก่อนดำเนินการก่อสร้างต่อไป นอกจากนี้ คณะทำงานวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ทางราง ซึ่งมีอธิบดีกรมการขนส่งทางรางได้กำหนดประชุมในวันที่ 10 กันยายน 2567 เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านเทคนิคที่รวบรวมได้ หาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดดินถล่มภายในอุโมงค์คลองไผ่ และแนวทางการป้องกันเพื่อมิให้เกิดเหตุในลักษณะดังกล่าวซ้ำต่อไป

BizTalk NEWS

Recent Posts

vivo V50 เปิดตัวแล้ว มาพร้อมกล้อง ZEISS 50MP ในราคาเริ่มต้น 15,999 บาท

เปิดตัว vivo V50 สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมคอนเซปต์ "ถ่ายที่รักอย่างโปร" ชูจุดเด่นกล้อง ZEISS ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลรอบด้าน อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ AI…

4 hours ago

LINE MAN เผยเทรนด์ “ชาไทย Specialty” แรงจัด! ยอดสั่งพุ่ง 81% ร้านใหม่ผุด 205%

กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…

7 hours ago

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

9 hours ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

9 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

9 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

9 hours ago