ความล่าช้าการเคลื่อนย้ายอากาศยาน
ตามมาตรฐานสากล องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ICAO กำหนดไว้ตาม ICAO DOC 9137 part 7 ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายอากาศยาน ในบริบทหน้าที่เคลื่อนย้ายอากาศยานไว้ดังนี้ ผู้รับผิดชอบในการเคลื่อนย้ายอากาศยาน
full Responsibility กำหนดให้เป็นเจ้าของอากาศยานหรือสายการบินที่มีหน้าที่หลักในการเคลื่อนย้ายโดยท่าอากาศยาน จะมาเป็นผู้ประสานงานในเรื่องของการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายอากาศยานนั้นได้กำหนดไว้ใน DOC 9137 ICAO เช่นกัน
ในกรณีนี้ผู้รับผิดชอบในการเคลื่อนย้ายอากาศยาน คือสายการบินโดย License Engineer ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญ
เครื่องบินแบบที่เกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะ ซึ่งทราบถึงจุดต่าง ๆ ในการโยง การยึด การยก ในการเคลื่อนย้าย เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติม เช่นเดียวกันกับในกรณีนี้
ทางสายการบินได้พิจารณาแล้วว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นอุบัติเหตุที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน อันแรกคือเครื่องออกนอกทางวิ่ง ข้อ 2 ปีกเอียงและสิ่งสำคัญ Nose Gear ของเครื่องเสียหายหมด ในการพิจารณาความเสียหายนี้ค่อนข้างละเอียดซับซ้อนในการกู้ ทางสายการบินพิจารณาประสานงานในหน่วยของ Recovery
ของสายการบิน TG เข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีอุปกรณ์พิเศษในการเคลื่อนย้าย อุปกรณ์พิเศษ เช่นเบาะลม ซึ่งการดำเนินการ
ร่วมกันภายใต้การกำกับดูแลของ License Engineer จะทำตามคู่มือ Aircraft Recovery Manual ของเครื่องบินแบบนั้น ๆ ซึ่งทุกอย่างในการดำเนินการต้องทำอย่างเป็นขั้นตอน และได้ตามมาตรฐานตามที่กำหนดไว้และสิ่งที่สำคัญคือให้มีความปลอดภัยคือสาเหตุสำคัญของเวลาในการกู้อากาศยาน
การดำเนินงานสนามบินท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ได้รับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ และหน่วยงานกำกับดูแลในด้านมาตรฐานและในเรื่องของธงแดง ICAO ในการตรวจ ICAO ตรวจรัฐหรือประเทศ ซึ่งองค์ประกอบหนึ่งในการตรวจสนามบินเป็นการตรวจ
การกำกับดูแลการดำเนินงานของสนามบินว่าได้มาตรฐานหรือไม่และสิ่งสำคัญตรวจเรื่องของ Rescue Fire Fighting และแผนฉุกเฉินซึ่งในการตรวจการดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐานในหัวข้อคะแนนการตรวจต่าง ๆ ใน Website ICAOและสิ่งสำคัญเมื่อท่าอากาศยานเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะในครั้งนี้ท่าอากาศยานได้ปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉินที่ได้รับการรับรองจากรัฐเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และการช่วยเหลือกู้ภัยต่อผู้ประสบเหตุ