Categories: EconomyTransportation

ทางเดินเชื่อมชีวิตจากแนวคิด TOD

ชีวิตคือการเดินทาง และทุกการเดินทางเริ่มต้นจากการเดินเท้าเสมอ ดังนั้นการมีเส้นทางเดินเท้าสวยงาม น่าเดิน จึงเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางที่ดีในทุกวันของคนเมือง แนวคิดการออกแบบพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งสาธารณะ TOD (Transit Oriented Development) จึงให้ความสำคัญกับการสร้างโครงข่ายทางเดินเท้าเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ ของเมืองเข้าสู่สถานีขนส่งสาธารณะ ด้วยโครงข่ายทางเดินเท้าที่ชักชวนให้ประชาชนเดินเท้าเข้ามาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ แทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

1.เดินถึงสถานีภายใน 10 นาที

แนวคิดในการออกแบบโครงข่ายทางเดินเท้าตามแบบ TOD นั้นมักวางโครงข่ายออกเป็น 2 ระยะคือ รัศมี 400 เมตร และรัศมี 800 เมตรจากตัวสถานีขนส่งสาธารณะ ซึ่งทั้ง 2 ระยะนี้จะต้องออกแบบเส้นทางเดินเท้าที่ช่วยให้ประชาชน เดินถึงสถานีภายในเวลาไม่เกิน 10 นาที ซึ่งเป็นช่วงระยะทางและเวลาที่ประชาชนสามารถเดินได้ โดยไม่รู้สึกว่าสถานีขนส่งสาธารณะนั้นอยู่ไกลเกินไป จนรู้สึกไม่อยากเดิน

Coach เปิดตัวดิจิทัลสโตร์แห่งที่สองของเอเชีย ที่สยามพารากอน ในธีม ‘Signature Denim’
อาลีบาบา กรุ๊ป ประกาศผลประกอบการ ปีงบประมาณ 2565

ในกรณีที่เป็นเขตเมืองที่มีความหนาแน่นผู้อยู่อาศัยสูง จะนิยมสร้างสถานีถัดไปให้ห่างกันประมาณ 800 – 1,200 เมตร เพื่อให้มีรัศมีโครงข่ายทางเดินเท้าครอบคลุมระยะไม่เกิน 800 เมตรจากย่านชุมชน จึงเป็นที่สังเกตว่าสถานีรถไฟฟ้าระบบรางในเมือง มักอยู่ไม่ห่างกัน เราสามารถเดินจากสถานีหนึ่งไปอีกสถานีหนึ่งได้โดยไม่รู้สึกเหนื่อยมากนัก หรือเลือกได้ว่าจะเดินขึ้นสถานีใดที่ใกล้กับปลายทาง และประหยัดค่าเดินทางมากที่สุด

2.มีสิ่งดึงดูดใจ

ป้ายโฆษณา ต้นไม้ ร้านค้า การออกแบบทางเดินเท้า และทัศนียภาพของเมือง คือสิ่งดึงดูดผู้คนให้หันมาใช้โครงข่ายทางเดินเท้า เข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะ แทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยเฉพาะร้านค้าต่างๆ ริมทางเดิน ถือเป็นสิ่งดึงดูดผู้คนให้หันมาใช้การเดิน เพื่อเข้าถึงร้านค้าเหล่านี้ได้อย่างสะดวกสบายมากกว่าการขับรถส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่มีที่จอดรถรองรับมากพอ

ระหว่างทางเดิน ควรมีเก้าอี้นั่งพักใต้ร่มไม้ และบริเวณหน้าร้านค้า ซึ่งสามารถนั่งพักผ่อนหย่อนใจ หรือใช้เป็นจุดนัดหมายนั่งรอเพื่อน ทำให้ทางเดินเท้าไม่เพียงแต่เป็นเส้นทางสำหรับสัญจรเท่านั้น แต่ยังเป็นเส้นทางเชื่อมโยงสังคมคนเมืองเข้าด้วยกัน

ที่ขาดไปไม่ได้เลยในเส้นทางเดินก็คือ การเดินผ่านอาคารหรือสถานที่ ที่มีสถาปัตยกรรมการออกแบบที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นอาคารเก่าหรือใหม่ ทั้งหมดคือเอกลักษณ์ของเมือง เป็นแลนด์มาร์กหรือจุดท่องเที่ยว และทำให้เมืองน่าเดินสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว ที่ต้องการเดินทางมาสัมผัสเมืองอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

3.ทางเดินเท้าที่หลากหลาย

การสร้างโครงข่ายทางเดินเท้าลักษณะทางเดินเท้า ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ทางเดินเท้าที่มีขอบทางเดิน ยกสูงจากระดับพื้นถนน และขนานไปกับช่องทางเดินรถเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึงทางเดินรูปแบบต่างๆ เป็นตัวเลือกสำหรับประชาชนในการเลือกเส้นทางเดินที่มีความหลากหลายเช่น

-เส้นทางเดินลัด ในทุกเมืองเราจะพบเห็นเส้นทางเหมือนตรอก ซอกซอย ขนาดเล็ก ที่ไม่ได้สวยงามเหมือนเส้นทางหลัก แต่สามารถประหยัดเวลาการเดินในชั่วโมงเร่งด่วน ขณะเดียวกันยังเหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบเดินในเส้นทางที่พลุกพล่านด้วยผู้คน และมีความสำคัญในแง่การเข้าถึงพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน เปรียบเสมือนเส้นเลือดฝอยของเมือง ซึ่งทำให้ผู้อยู่อาศัย สามารถเดินเท้าเพื่อเข้าถึงสถานีขนส่งสาธารณะซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจของการเดินทาง ตั้งแต่เปิดประตูออกจากบ้าน

-เส้นทางเดินภายในอาคาร ในการออกแบบพื้นที่ใช้งานแบบผสมผสาน (Mix Used) ในย่านใจกลางเมือง จะเน้นการใช้งานที่หลากหลาย เป็นทั้งสำนักงาน ที่อยู่อาศัย และศูนย์การค้าภายในอาคาร จึงต้องออกแบบเส้นทางเดินภายในอาคารให้เชื่อมโยงกับทางเดินภายนอก

ดังนั้นเส้นทางเดินภายในอาคารจึงถือเป็นหนึ่งในโครงข่ายทางเดินเท้า เป็นทางเลือกให้ประชาชนสามารถเดินลัดเส้นทางเข้าไปภายในอาคารแล้วเดินออกไปสู่ถนนอีกฝั่งหนึ่ง แทนที่การเดินทางเท้าอ้อมตึกเพื่อข้ามไปอีกฝั่ง ซึ่งทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างเช่นในพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าโอซาก้า ประชาชนสามารถเดินเข้าตัวสถานีได้จากอาคารศูนย์การค้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงเช่น อาคารศูนย์การค้า โยโดบาชิ คาเมร่า และ อาคารแกรนด์ ฟรอนท์ โอซาก้า ซึ่งเป็นอาคารสำนักงาน และศูนย์การค้า ประชาชนสามารถเดินตัดผ่านตัวอาคารเพื่อเข้าสู่ทางเดินสกายวอล์ค เข้าสู่ตัวสถานีได้โดยตรง ซึ่งทางเดินภายในอาคารอื่นในบริเวณใกล้เคียงก็เชื่อมต่อกับสกายวอล์คไปสู่สถานีรถไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

เส้นทางเดินใต้ดิน โครงข่ายทางเดินเท้าอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากก็คือ การออกแบบโครงข่ายทางเดินเท้าใต้ดิน ตามแนวทางของ TOD การออกแบบเส้นทางนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ทางเดินลงสู่ตัวสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเท่านั้น แต่ควรออกแบบให้มีการเชื่อมต่อกับชั้นใต้ดินของอาคารต่างๆ ที่อยู่โดยรอบสถานีทำให้ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องเสียเวลา เดินออกจากสถานีรถไฟใต้ดินเพื่อเดินต่อไปยังอาคารโดยรอบที่ต้องการ

ยกตัวอย่างในสถานีรถไฟฟ้าโอซาก้า จะมีโครงข่ายทางเดินใต้เชื่อมกับอาคารที่อยู่ในรัศมี 400 เมตร รวมทั้งสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น สถานีโอซาก้า อุเมดะ, นิชิ อุเมดะ ,คิตะ ชินชิ และ ฮิกาชิ อุเมดะ รวมทั้งเชื่อมต่อไปยังศูนย์การค้าทั้งหมด ด้วยทางเดินใต้ดิน ในช่วงเช้าและเย็นในย่านสถานีรถไฟโอซาก้า เราจะไม่เห็นชาวโอซาก้าเดินบนทางเดินเท้าบนดินมากนัก พวกเขามักเลือกเดินใต้ดินข้ามไปมาระหว่างสถานีรถไฟกับที่ทำงาน เป็นเส้นทางลัดเพราะไม่ต้องรอสัญญาณไฟข้ามถนน อีกทั้งยังใช้หลบฝน และอากาศที่หนาวเย็นของโอซาก้าได้อีกด้วย

-เส้นทางเดินบนลานกว้าง ลานกว้างที่อยู่ใกล้กับอาคารสูงและสวนสาธารณะ นับเป็นรูปแบบทางเดินเท้าด้วย เช่นกัน เพราะเราสามารถเดินเท้าผ่านพื้นที่ลานกว้างไปยังอาคารที่ต้องการไป ลานกว้างส่วนใหญ่มักจะออกแบบตามหลักภูมิสถาปัตย์ โดยคำนึงถึงทิวทัศน์ของเมือง ทิศทางแสงแดด และกระแสลม ทำให้ช่วงเช้าและเย็น ลานกว้างจะกลายเป็นที่ร่มจากเงาของอาคาร เหมาะสำหรับจัดกิจกรรมสำคัญของเมือง หรือใช้เป็นสถานที่นัดพบและทำกิจกรรมร่วมกันของประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

ยกตัวอย่างบริเวณสถานีรถไฟใต้ดิน เวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษมีเส้นทางเดินในรูปแบบสวนสาธารณะ และสถานที่ท่องเที่ยว ที่สามารถเดินถึงอาคารสถานีได้หลายแห่งไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะเซ็นต์เจมส์ และ พาร์เลียเมนท์ สแควร์ การ์เด้น หากเดินทางโดยเรือ ก็สามารถเดินจากท่าเรือเวสต์มินสเตอร์ เลียบแม่น้ำเทมส์ เข้าสู่ตัวสถานีรถไฟใต้ดินเวสต์มินสเตอร์ได้

จุดเด่นของเส้นทางเดินแบบลานกว้างใกล้กับสถานีเวสต์มินสเตอร์ คือ เส้นทางเดินที่เราสามารถมองเห็นหอคอยบิ๊กเบน, ชิงช้าสวรรค์ ลอนดอนอายและสะพานเวสต์มินสเตอร์ พร้อมชมความงามของวิวแม่น้ำเทมส์ได้ในคราวเดียวกัน

ทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ว่าการออกแบบโครงข่ายทางเดินเท้า ตามแนวทางของ TOD ไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับ การสร้างเส้นทางเชื่อมต่อกับสถานีขนส่งสาธารณะเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการสร้างทางเดินที่มีความหลากหลายแก้ประชาชนในเมือง เพราะไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนแตกต่างกัน การเลือกทางเดินชีวิตของแต่ละคนย่อมแตกต่างด้วยเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด, www.kinder.rice.edu

supersab

Recent Posts

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

45 minutes ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

1 hour ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

1 hour ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

1 hour ago

เปิดเทรนด์ “Conscious Travel” สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…

1 hour ago

ไชน่า ยูนิคอม ผนึกกำลัง หัวเว่ย เร่งเครื่อง 5G-Advanced ทั่วเอเชีย

ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…

2 hours ago