นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ พร้อมอะไหล่ จำนวน 184 คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น 24,150.00 ล้านบาท (สองหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยห้าสิบล้านบาทถ้วน) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟฯ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 มีมติเห็นชอบให้ผลักดันโครงการดังกล่าวเพื่อนำมาทดแทนรถดีเซลรางปรับอากาศเดิมซึ่งมีการจัดหาครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2538 มีอายุการใช้งานมากว่า 30 ปี เพื่อรองรับการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานทั้งโครงการก่อสร้างทางคู่ระยะที่ 1 – 2
รวมถึงโครงการทางรถไฟสายใหม่ในอนาคตด้วย
โครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศพร้อมอะไหล่ จำนวน 184 คัน มีเป้าหมายเพื่อนำมาทดแทนขบวนรถที่ให้บริการขนส่งผู้โดยสารระยะไกลในปัจจุบัน จำนวน 10 ขบวน และนำมาเปิดเดินขบวนรถเพิ่ม เพื่อรองรับการขยายเส้นทางในโครงการก่อสร้างทางคู่ระยะที่
1 – 2 จำนวน 52 ขบวน โดยแบ่งเป็นเส้นทางระยะกลาง 46 ขบวน และระยะไกล 6 ขบวน ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย และแผนวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 (แผนฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย) ตลอดจนเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับการขนส่งรูปแบบอื่นที่จะทำให้เกิดการปรับรูปแบบการเดินทางของผู้ใช้บริการมาใช้ระบบรางมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางของผู้ใช้บริการ
ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ลดปัญหาการจราจรติดขัด ที่สำคัญ ยังลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมลภาวะทางอากาศ
และลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุทางถนนด้วย
สำหรับโครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศดังกล่าว เป็นการจัดหารถกำลังดีเซลรางปรับอากาศมีห้องขับ จำนวน 92 คัน วงเงิน 12,075.00 ล้านบาท และรถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ จำนวน 92 คัน วงเงิน 12,075.00 ล้านบาท รวมวงเงินโครงการทั้งสิ้น 24,150.00 ล้านบาท เฉลี่ยคันละ 131.25 ล้านบาท ซึ่งการรถไฟฯ เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย และกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
ทั้งนี้ การรถไฟฯ มีแผนนำรถดีเซลรางปรับอากาศมาพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ทั้งการออกแบบภายใน และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกบนขบวนรถ จำนวน 62 ขบวน ประกอบด้วย 1.การทดแทนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่จัดเดินในปัจจุบัน จำนวน 10 ขบวน คือ ในเส้นทางสวรรคโลก จำนวน 2 ขบวน, เชียงใหม่ จำนวน 2 ขบวน, อุบลราชธานี จำนวน 2 ขบวน และสุราษฎร์ธานี จำนวน
4 ขบวน
รถดีเซลรางปรับอากาศ จำนวน 184 คัน เป็นรถดีเซลรางไฟฟ้ารูปแบบ Hybrid DEMU. (Hybrid Diesel Electric Multiple Unit) ที่สามารถใช้แหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนจาก 2 แหล่ง ทั้งเครื่องยนต์ดีเซลและพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Energy Storage) เป็นรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 รูปแบบริ้วขบวนรถ ประกอบด้วย รถปรับอากาศชั้น 1 จำนวน 1 คัน และชั้น 2 จำนวน 3 คัน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 239 ที่นั่ง ซึ่งมีการออกแบบพื้นที่สำหรับให้บริการแก่ผู้พิการโดยเฉพาะ พร้อมกับเน้นความทันสมัยทั้งภายนอก และมีการตกแต่งภายใน อาทิ ระบบ Internet WiFi บนขบวนรถ เก้าอี้โดยสารสามารถปรับเอนได้ ห้องสุขาระบบปิดที่ถูกสุขอนามัย ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการสื่อสารและจอภาพ LED เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีเคาน์เตอร์จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายระหว่างการเดินทางของผู้ใช้บริการอีกด้วย ทั้งนี้ จะสามารถรับรถงวดแรก จำนวน 60 คันได้ภายในปี 2570 คาดว่าจะมีผู้โดยสารเฉลี่ย 4.81 ล้านคน/ปี สร้างรายได้เฉลี่ย 3,469 ล้านบาท/ปี
ขั้นตอนจากนี้ การรถไฟฯ จะนำเสนอรายงานต่อกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาทำความเห็นเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป หากคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการดังกล่าว การรถไฟฯ จึงจะออกประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจยื่นข้อเสนอประกวดราคา และน่าจะพิจารณาผลการคัดเลือกได้ภายในเดือนกรกฎาคมปี 2569 คาดว่าจะสามารถนำรถดีเซลรางปรับอากาศดังกล่าวมาให้บริการได้ครบทั้งหมดภายในเดือนเมษายน 2573 ซึ่งสอดคล้องกับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในการก่อสร้างทางคู่ระยะที่ 1 และ 2 ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2571 และโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2572
“การรถไฟฯ มุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้วยการนำรถโดยสารที่มีความทันสมัยมาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้มีมาตรฐานสากล สามารถตอบสนองความต้องการในการเดินทางของผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ และพร้อมรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการเดินทางของประชาชนในอนาคตด้วย” ผู้ว่าการรถไฟฯ กล่าวทิ้งท้าย
AIS และ True Corporation สองผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ ได้ประกาศความพร้อมในการเปิดใช้งานระบบแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast และ SMS ครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมปฏิบัติการทันทีเมื่อหน่วยงานภาครัฐสั่งการ AIS: ระบบ Cell…
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) ประกาศความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์ จับมือ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ 5 องค์กรธุรกิจยักษ์ใหญ่ของประเทศ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)…
“เอกนัฏ พร้อมพันธุ์” เปิดเวที CEO Forum ชูแนวทาง Industrial Decarbonization ภายใต้โครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการไทยลดคาร์บอน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมประกาศเจตนารมณ์ร่วมลดก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน…
ท็อปส์ (Tops) ประกาศศักดาผู้นำตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ปี 2568 ทุ่มงบไม่อั้น พัฒนาพอร์ตสินค้า Own Brand ทะลุ 5,000 รายการ ชูจุดแข็งด้านคุณภาพระดับพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงได้…
ตามที่ เกิดเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา โดยแรงสั่นสะเทือนได้ส่งผลกระทบมาถึงกรุงเทพมหานคร ทำให้รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (MRT สายสีชมพู) ต้องงดให้บริการชั่วคราว เพื่อแก้ไขรางจ่ายไฟเพื่อความปลอดภัยในการเดินรถ นั้น จากการตรวจสอบพบว่าเกิดความเสียหายที่แผ่นปิดรอยต่อคานทางวิ่ง จำเป็นต้องซ่อมแซม ซึ่ง กระทรวงคมนาคม, กรมการขนส่งทางราง…
ไปรษณีย์ไทย ได้เปิดตัวแสตมป์ที่ระลึกชุดพิเศษเนื่องในโอกาสวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช 2568 ด้วยการนำเสนอศิลปกรรมอันทรงคุณค่าที่กำลังจะเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ นั่นก็คือ "กระจกเกรียบ" ศิลปะแห่งสยามประเทศที่มีความงดงามเป็นเอกลักษณ์แต่กลับหาชมได้ยากยิ่งในปัจจุบัน โดยมีกำหนดการเปิดจำหน่ายทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2568 เป็นต้นไป ในราคาดวงละ…
This website uses cookies.