บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าจากความสำเร็จในการบริหารจัดการวิกฤติสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของประเทศไทยที่ดำเนินมาตรการต่างๆ ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมาโดยลำดับ ตั้งแต่การนำมาตรการ Test and Go มาใช้ในการคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศ การทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางต่างๆ เรื่อยมาจนมาถึงการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบในวันนี้ ประกอบกับภาพรวมของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทยอยผ่อนคลายและยกเลิกมาตรการควบคุมการเดินทางมาตั้งแต่ปลายปี 2564 เช่นเดียวกัน บริษัทจึงได้เพิ่มจำนวนเที่ยวบินและ เส้นทางบินที่ให้บริการเพื่อรองรับปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการเติบโตด้านรายได้อย่างมีนัยสำคัญมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นต้นมา
โดยในช่วงวันที่ 1 – 27 มิถุนายน 2565 จำนวนผู้โดยสารรวมเฉลี่ยในแต่ละวันของบริษัทและสายการบินไทยสมายล์ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12,568 และ 12,257 คนต่อวัน จาก 269 และ 4,929 คนต่อวันในช่วงเดือนเมษายน – เดือนตุลาคม 2564 อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) ในส่วนของการบินไทยช่วงดังกล่าวปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 75 และมีอัตราการสำรองที่นั่งล่วงหน้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 ที่เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ปี 2565 บริษัทได้เพิ่มจุดบินและความถี่เพื่อรองรับการฟื้นตัวของปริมาณการเดินทาง ได้แก่ เดลี มุมไบ เจนไน เบงกาลูรู ละฮอร์ การาจี อิสลามาบัด ฮานอย โฮจิมินห์ พนมเปญ เมลเบิร์น ลอนดอน จาการ์ตา ธากา แฟรงก์เฟิร์ต ไทเป สิงคโปร์ โคเปนเฮเกน มิวนิก ซูริก ฯลฯ และช่วงไตรมาสที่ 3 มีแผนเพิ่มความถี่เที่ยวบิน ได้แก่ จาการ์ตา ไทเป สิงคโปร์ โคเปนเฮเกน มิวนิก ซูริก โซล และเปิดให้บริการเส้นทางบินเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมเส้นทางหลักไปยังจุดหมายปลายทางในภูมิภาคต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ โตเกียว (สนามบินฮาเนดะ) บรัสเซลส์ เจดดาห์ ขณะที่รายได้จากการขนส่งสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ของบริษัท ทั้งในส่วนของการขนส่งในเที่ยวบินโดยสารตามตารางบินและเที่ยวบินเช่าเหมาลำขนส่งสินค้ารวมในเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา มีจำนวน 2,104 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2562 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41
กอปรกับความสำเร็จและคืบหน้าในการฟื้นฟูกิจการส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างและขนาดองค์กรให้มีความเหมาะสมต่อสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบิน การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับ การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการหาประโยชน์จากทรัพย์สินครองที่ไม่ได้อยู่ในแผนดำเนินธุรกิจทั้งจากการจำหน่ายและให้เช่าที่สร้างกระแสเงินสดให้แก่บริษัทรวมเป็นเงินโดยประมาณกว่า 9,000 ล้านบาทที่นำมาใช้ในการดำรงกิจการในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาโดยไม่สร้างภาระแก่ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ การปรับลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ อาทิ ต้นทุนอากาศยาน การซ่อมบำรุงอากาศยานและเครื่องยนต์อากาศยาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำมันเชื้อเพลงในการปฏิบัติการบิน บุคลากรและสิทธิประโยชน์บุคลากร การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสในการหารายได้ ได้แก่ การปรับปรุงกระบวนการทำงานด้านการพาณิชย์ การปฏิรูปด้านดิจิทัล การสร้างรายได้ใหม่จากหน่วยธุรกิจการบิน อาทิ การจัดทำความร่วมมือทางธุรกิจกับคู่ค้าที่มีศักยภาพในการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า การพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด อาทิ ปาท่องโก๋การบินไทย และการเปิดให้บริการภัตตาคาร “อร่อยล้นฟ้า” ของหน่วยธุรกิจครัวการบิน การให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำสำหรับการขนส่งสินค้าของฝ่ายพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ การพัฒนาศักยภาพการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานและเครื่องยนต์อากาศยาน ทำให้บริษัทมีระดับกระแสเงินสดในการดำเนินกิจการที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ระดับความต้องการสินเชื่อใหม่ลดลงจากเดิม
คณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการจึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันนี้ (1 กรกฎาคม 2565) โดยมีรายละเอียดสาระสำคัญในการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
รวมเป็นส่วนทุนที่คาดว่าจะได้รับจากการปรับโครงสร้างหนี้และโครงสร้างทุนตามข้อเสนอขอแก้ไขแผนประมาณ 80,000 ล้านบาทเศษ โดยการบินไทยคาดหมายว่าจะสามารถดำเนินการปรับโครงสร้างทุนข้างต้นให้แล้วเสร็จภายในปี 2567 ซึ่งหากการดำเนินการเป็นไปตามข้อเสนอข้อแก้ไขแผน ส่วนของทุนจะกลับมาเป็นบวกในปี 2567 และหลักทรัพย์ของบริษัทน่าจะสามารถกลับมาทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 2568
ทั้งนี้ ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการมีความมั่นใจว่าการยื่นคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในครั้งนี้จะเป็นการยกระดับความเชื่อมั่นแก่เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้น ผู้โดยสาร ลูกค้า ต่อการฟื้นฟูกิจการของบริษัท และเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการวางรากฐานเพื่อการเติบโตและสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคตเพื่อให้บริษัทเป็นสายการบินแห่งชาติที่คนในชาติภาคภูมิใจ เป็นสายการบินหลักที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศ และกำลังสำคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศ ในระยะเวลาอันใกล้นี้
ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…
ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โครงการ Super AI Engineer Season 5 ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเป็นการรวมพลังครั้งสำคัญจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้าน AI ของไทยให้มีทักษะและความสามารถที่ทัดเทียมนานาชาติ…
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…