รฟม. #แนะนำ3ทางเลี่ยง รับมือรื้อถอนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ วันที่ 6 มกราคม 2568 เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
กิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) ที่เปิดมาแล้ว 4 สาย โดย รฟม. ได้เริ่มงานเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 และมีแผนแล้วเสร็จในปี 2573
โครงการฯ มีแนวเส้นทางเชื่อมต่อจากสถานีบางขุนนนท์ ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) ไปยังสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ดังนั้น จึงถือเป็นรถไฟฟ้าสายหลักอีกหนึ่งสายที่มีความสำคัญอย่างมากต่อโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เนื่องจากมีแนวเส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก ผ่านจุดสำคัญหลายแห่ง เช่น ราชดำเนิน รพ.ศิริราช สนามกีฬาราชมังคลาสถาน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
โดยโครงการฯ มีแผนจะดำเนินการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ (OR02) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชันและ ถนนสุทธาวาสตัดกับถนนจรัญสนิทวงศ์ จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการรื้อถอนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ โดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับจ้างของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น ผู้ร่วมลงทุน มีแผนจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรเพื่อรื้อถอนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ ในวันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชม. จนถึงวันที่ 31 มิถุนายน 2571 โดยในระหว่างปิดเบี่ยงจราจร ผู้ใช้เส้นทางสามารถสัญจรได้เฉพาะทางราบบนถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชันและถนนสุทธาวาส ฝั่งขาเข้าและขาออก ได้ฝั่งละ 1 ช่องจราจร ดังนั้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบด้านการจราจรในระหว่างการปิดและรื้อถอนสะพาน รฟม. จึงขอประชาสัมพันธ์เส้นทางเลี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ก่อสร้างดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้
โดยผู้รับจ้างมีแผนจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์คืนในเดือนธันวาคม 2569 และคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในเดือนมิถุนายน 2571 โดยภายหลังเปิดใช้สะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ ผู้ใช้เส้นทางจะสามารถกลับมาสัญจรบนสะพานฝั่งขาเข้าและขาออกได้ฝั่งละ 1 ช่องจราจร และสัญจรทางราบบนถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชันและถนนสุทธาวาสฝั่งขาเข้าและขาออกได้ฝั่งละ 1 ช่องจราจรเหมือนเดิม ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะอีกแห่งหนึ่ง ที่จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชน ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรบนท้องถนนให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ในระหว่างการปิดเบี่ยงจราจรเพื่อดำเนินงานดังกล่าว อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและอาจมีเสียงดังรบกวนพื้นที่บริเวณใกล้เคียงในวันเวลาดังกล่าว ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น ประชาชนโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง และ รฟม. ขออภัยในความไม่สะดวก โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจรร้องเรียน เสนอแนะ ได้ที่หมายเลข 0 2168 3460 – 68 และติดตามข้อมูลโครงการฯ ได้ที่ Facebook โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
–บอร์ด รฟม. ลงพื้นที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ขานรับนโยบายคมนาคม กำชับตามแผน ก่อสร้างด้วยความปลอดภัย
รองนายกฯ ประเสริฐ มอบของขวัญปีใหม่ 2568 ผ่านไปรษณีย์ไทย อัดโปรโมชั่น EMS ราคาพิเศษ เริ่มต้นเพียง 30 บาท หวังลดต้นทุนค่าขนส่ง กระตุ้นเศรษฐกิจช่วงเทศกาล กรุงเทพฯ –…
โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ประกาศก้าวสำคัญบนเส้นทางสู่ความยั่งยืน ด้วยการเสนอขายตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainability-Linked Bond เป็นครั้งแรก มูลค่ารวม 1,000 ล้านบาท ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบการดำเนินงานด้าน ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม…
LINE NEXT Inc. บริษัทร่วมทุนของ LINE ที่มุ่งพัฒนาและขยายระบบนิเวศ Web3 ประกาศความร่วมมือกับสถาบัน Kaia DLT Foundation (Kaia) ในการเปิดตัว “Mini Dapps”…
แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ระดับโลกเผยข้อมูลผู้เรียนไทยกว่า 1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 330% ในปี 2567 ตอกย้ำความสำคัญของทักษะ GenAI และทักษะเฉพาะทาง เพื่อความสำเร็จในโลกการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วย AI Coursera เปิดเผยรายงานแนวโน้มการเรียนรู้ของผู้ใช้ชาวไทยในปี 2567…
BizTalk x Sunny Horo กับคอลลัมน์ ดวงธุรกิจ Weekly ชวนมาอัพเดต ดวงประจำวันที่ 16 – 22 ธันวาคม 2567 กัน ใครเกิดตรงกับวันไหน มาดูกันเลย…
Biztalk วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 67 ชวนมองอนาคตเศรษฐกิจไทย "ปีงู" ใน "ปี 68" ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน ที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเคลื่อนไหว "เชื่องช้า" เหมือน "งูแมวเซา"…