นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินงานโครงการสำคัญตามนโยบาย ครั้งที่ 1/2568 ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปดำเนินการพิจารณาและศึกษาแนวทาง การย้ายสถานีขนส่งหมอชิต 2 สถานีขนส่งเอกมัย และสถานีขนส่งสายใต้ภายใต้การรับผิดชอบของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ พร้อมทั้งศึกษาผลกระทบการดำเนินการ งบประมาณในการก่อสร้าง และการบริหารการจราจรภายใน – โดยรอบสถานีให้มีความคล่องตัวด้วย
ทั้งนี้ การย้ายสถานีขนส่งฯ นั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ และนักท่องเที่ยว สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถไฟไทย รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีน้ำเงิน ที่สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีอื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถโดยสารในอัตรา 20 บาทตลอดสาย (ปัจจุบันให้บริการในรถไฟฟ้าสายสีแดงและสีม่วง) และจะครอบคลุมทุกสี ทุกสายภายในเดือนกันยายน 2568 ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคมในการเชื่อมโยงการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ
สำหรับรูปแบบแนวคิดที่จะดำเนินการ จะศึกษาโดยใช้โมเดลจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในประเทศไทย อาทิ สถานีฮากาตะ ซึ่งเป็นสถานีโดยสารอาคารสูง ภายในอาคารมีศูนย์อาหาร และแหล่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้บริการอย่างครบถ้วน ซึ่งในแต่ละชั้นจะแบ่งรถโดยสารแต่ละสายเส้นทาง ตามภูมิภาค และจังหวัดอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าเป้าหมายในการย้ายสถานีขนส่ง บขส. ในครั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ยกระดับการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
ด้านนายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า จากข้อสั่งการดังกล่าว สนข. ได้กำหนดแนวคิดรูปแบบการพัฒนาเบื้องต้น คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 – 4 เดือน และในระหว่างนี้ สนข. จะเสนอขอตั้งงบประมาณ เพื่อจ้างที่ปรึกษามาทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ พร้อมออกแบบเบื้องต้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาศึกษาอย่างน้อย 12 เดือน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การพัฒนาสถานีขนส่งแห่งใหม่ในรูปแบบอาคารสูง จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการเดินทาง และไม่ทำให้เกิดปัญหาจราจรในพื้นที่
ทั้งนี้ การย้ายสถานีขนส่ง (บขส.) มาในพื้นที่บริเวณใกล้กับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ มีแนวคิดในการรวมสถานีขนส่งทุกแห่งให้มาอยู่ที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสถานีขนส่งสายใต้ สถานีขนส่งเอกมัย และสถานีขนส่งหมอชิต 2 โดยจะออกแบบเป็นสถานีขนส่งในรูปแบบอาคารสูง และกำหนดตำแหน่งที่ตั้งใกล้กับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วน โดยการพัฒนาอาคารสูงจะแบ่งชั้นการให้บริการอย่างชัดเจน เช่น ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินไปทางภาคใต้ และภาคตะวันตก ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคเหนือ ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคตะวันออก และพื้นที่โดยรอบกรุงเทพมหานคร (กทม.)
นอกจากนี้ ตัวอาคารผู้โดยสารจะมีการพิจารณาออกแบบเป็นชั้นใต้ดินสำหรับให้รถเมล์ ขสมก. รวมถึงสำหรับรถแท็กซี่ เพื่อให้เข้ามารับส่งผู้โดยสาร ขณะที่ในส่วนของชั้นที่สูงขึ้นไป จะออกแบบเพื่อทำเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ อาทิ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายของฝาก เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถมีที่พักคอยก่อนจะถึงเวลารถออก และรายได้จากการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการ และซ่อมบำรุงรักษาตัวอาคารผู้โดยสารได้อีกด้วย
Biztalk Gadget จะมา รีวิว TECNO CAMON 40Pro สมาร์ทโฟนราคาต่ำกว่า 7,000 บาท ที่มาพร้อมดีไซน์บาง เบา กันน้ำกันฝุ่นระดับ IP68/69 กล้อง…
โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ (King’s Bangkok) เดินหน้าสานต่อพันธกิจสำคัญในการมอบโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมแก่เยาวชนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ประกาศมอบทุน ‘King’s Bangkok Academic Excellence Scholarship’ เป็นปีที่ 3 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนผู้ที่มีศักยภาพให้ได้รับการศึกษาในระดับนานาชาติอย่างเต็มที่ ทุนการศึกษานี้เปิดกว้างสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Year…
ไปรษณีย์ไทย รุกตลาดท่องเที่ยว เปิดตัวบริการใหม่ "Travel Lite by Thailand Post" อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวให้เดินทางตัวเปล่า หมดกังวลเรื่องสัมภาระ สามารถฝากเก็บและรับ-ส่งกระเป๋าเดินทางและสัมภาระต่างๆ ได้ง่ายดาย ในราคาเริ่มต้นเพียง 100 บาท…
ตลาดการเงินทั่วโลกตกอยู่ในภาวะผันผวนอย่างหนัก หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากนานาประเทศแบบไม่ทันตั้งตัว ส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกเทขายหุ้นด้วยความกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมา เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นใน "วันปลดแอก" (2 เมษายน 2568) เมื่อผู้นำสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ โดยกำหนดอัตราภาษีขั้นต่ำ 10% สำหรับสินค้าจากทุกประเทศที่ส่งเข้ามายังสหรัฐฯ…
ไปรษณีย์ไทย จับมือกับ บริษัท เทคซอส ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) อย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมกันพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีและข้อมูล สู่บริการใหม่ "Data-as-a-Service" หวังสร้างโอกาสทางธุรกิจและยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้บริการในแวดวงโลจิสติกส์ พิธีลงนามจัดขึ้น ณ อาคารภาณุรังษีไปรษณียาคาร สำนักงานใหญ่…
กสทช. เร่งเครื่องโอเปอเรเตอร์ เปิดใช้งานระบบ Cell Broadcast เต็มสูบ รองรับทั้ง Android และ iOS หวังแจ้งเตือนภัยพิบัติประชาชนได้ทันท่วงที แม้ระบบกลางของ ปภ. ยังไม่พร้อม ไตรรัตน์…
This website uses cookies.