กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ประกาศผลประกอบการครึ่งปีแรกที่ดีที่สุด ด้วยกำไรก่อนหักภาษี 1.04 หมื่นล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับหกเดือนแรกของปี 2567-2568 ทุบสถิติกำไรก่อนหักภาษีจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ปีงบการเงินนี้นับเป็นครั้งแรกที่กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเริ่มใช้ในปี 2566 หลังหักภาษี 9% กำไรสุทธิของกลุ่มบริษัทอยู่ที่ 9.3 พันล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรที่แข็งแกร่ง โดยมี EBITDA ที่ 2.04 หมื่นล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงเล็กน้อยจาก 2.06 หมื่นล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีที่แล้ว
รายได้ของกลุ่มบริษัทเอมิเรตส์อยู่ที่ 7.08 หมื่นล้านมีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (1.93 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567-2568 เพิ่มขึ้น 5% จาก 6.73 หมื่นล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (1.83 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีที่แล้ว สะท้อนถึงความต้องการของลูกค้าอันแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มธุรกิจและทุกภูมิภาค
กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ปิดครึ่งปีแรกของปี 2567-2568 ด้วยสถานะเงินสด 4.37 หมื่นล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (1.19 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ลดลงจาก 4.71 หมื่นล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (1.28 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2567 โดยกลุ่มบริษัทได้ใช้เงินสดสำรองที่แข็งแกร่งของตนในการรองรับความต้องการทางธุรกิจ รวมถึงการชำระค่าคำสั่งซื้อเครื่องบินขนส่งใหม่และการชำระหนี้ นอกจากนี้ยังจ่ายเงินปันผลจำนวน 2 พันล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ให้แก่ผู้เป็นเจ้าของตามที่ได้ประกาศไว้ ณ สิ้นปีการเงิน 2566-2567
ชีคอาเหม็ด บิน ซาอิด อาล มักตูม ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินและกลุ่มสายการบินเอมิเรตส์ กล่าวว่า “กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ได้ทำลายสถิติผลประกอบการของปีที่ผ่านมาและสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมในครึ่งปีแรกของปี 2567-2568 ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพของโมเดลธุรกิจที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการเติบโตของดูไบในฐานะเมืองที่ผู้คนเลือกมาอยู่อาศัย ทำงาน ท่องเที่ยว เชื่อมต่อการเดินทาง และดำเนินธุรกิจ”
“ความสามารถในการทำกำไรของกลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ทำให้เราสามารถลงทุนในสิ่งที่จำเป็นต่อความสำเร็จอันต่อเนื่องของเรา เรากำลังลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ สำหรับลูกค้า นำเทคโนโลยีขั้นสูงและโครงการนวัตกรรมต่าง ๆ มาช่วยขับเคลื่อนการเติบโต รวมถึงดูแลพนักงานของเราที่ทำงานอย่างหนักทุกวันเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและความพึงพอใจของลูกค้า”
“เราหวังว่าความต้องการของลูกค้าจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องไปตลอดปี 2567-2568 และเรามุ่งมั่นที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างรายได้เมื่อมีเครื่องบินใหม่เข้าร่วมฝูงบินของสายการบินเอมิเรตส์ และเมื่อ dnata มีสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ ๆ พร้อมให้บริการ แนวโน้มถือว่าเป็นบวก แต่เราจะไม่หยุดอยู่แค่นี้ เราจะคงความคล่องตัวในการใช้ทรัพยากรและศักยภาพของเราในตลาดแห่งความผันผวนนี้” ชีคอาเหม็ด กล่าวเสริม
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและกิจกรรมทางธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ฐานพนักงานของกลุ่มบริษัทเอมิเรตส์เพิ่มขึ้น 3% จากวันที่ 31 มีนาคม 2567 เป็นจำนวนทั้งหมด 114,610 คน ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 โดยทั้งเอมิเรตส์และ dnata ผลักดันการสรรหาบุคลากรเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความต้องการในอนาคต
เอมิเรตส์ยังคงขยายเครือข่ายการบินอย่างต่อเนื่องและเพิ่มทางเลือกในการเชื่อมต่อผ่านศูนย์กลางในดูไบ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567-2568 เอมิเรตส์ได้เพิ่มเที่ยวบินไปยัง 8 เมือง ได้แก่ อัมสเตอร์ดัม เซบู คลาร์ก ลูอันดา ลียง มาดริด มะนิลา และสิงคโปร์
ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เอมิเรตส์ได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินรายวันไปยังพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผ่านสิงคโปร์ ต่อมาในเดือนมิถุนายน เอมิเรตส์ได้เปิดเส้นทางบินรายวันไปยังโบโกตา ผ่านไมอามี เป็นการขยายการให้บริการในทวีปอเมริกาใต้ไปยังประเทศโคลอมเบีย และในเดือนกันยายน เอมิเรตส์ได้เปิดเส้นทางใหม่ไปยังมาดากัสการ์ โดยผ่านเซเชลส์ ทำให้เครือข่ายการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าของสายการบินครอบคลุมถึง 148 สนามบิน ใน 80 ประเทศ ณ วันที่ 30 กันยายน
เอมิเรตส์ขยายตัวเลือกในการเชื่อมต่อให้กับผู้โดยสาร โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567-2568 เอมิเรตส์ได้ลงนามข้อตกลงใหม่กับพันธมิตรด้านการให้บริการเที่ยวบินร่วม เที่ยวบินระหว่างสายการบิน และการขนส่งอย่างต่อเนื่องหลายรูปแบบรวม 7 ราย ได้แก่ สายการบินแอร์ พีส (AirPeace) สายการบินอาเวียงกา (Avianca) บริษัทการขนส่งทางอากาศ BLADE สายการบินอิตา แอร์เวย์ (ITA Airways) สายการบินไอซ์แลนด์แอร์ (Iceland Air) รถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส (SNCF Railway) และ วีว่าแอโรบัส (Viva Aerobus)
ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน เอมิเรตส์ได้ปรับโฉมเครื่องบินใหม่ 8 ลำ (เครื่องบิน A380 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 5 ลำ) ภายใต้โครงการการปรับปรุงด้วยงบประมาณมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การปรับโฉมในครั้งนี้ทำให้เอมิเรตส์สามารถเปิดตัวห้องโดยสารรุ่นใหม่ได้เร็วขึ้น ซึ่งรวมถึงในเครื่องบินโบอิ้ง 777 4-class ที่มีที่นั่งแบบเอนนอนจัดวางในรูปแบบ 1-2-1 พร้อมมินิบาร์ส่วนตัวในชั้นธุรกิจ และชั้นประหยัดพรีเมี่ยมที่ได้รับความนิยม
เครื่องบินโบอิ้ง 777 ลำแรกที่ผ่านการปรับปรุงใหม่ของสายการบินเอมิเรตส์เริ่มให้บริการเส้นทางสู่กรุงเจนีวาในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ตามด้วยโตเกียว ฮาเนดะ และบรัสเซลส์ สำหรับช่วงหกเดือนข้างหน้า เอมิเรตส์วางแผนเพิ่มเส้นทางบินสำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 777 ที่ได้รับการปรับโฉมใหม่อีก 10 เส้นทาง ได้แก่ ริยาด ซูริค คูเวต ดัมมัม ชิคาโก บอสตัน ดัลลัส ฟอร์ตเวิร์ธ ซีแอตเทิล นวร์ก-เอเธนส์ และไมอามี-โบโกตา
ภายในสิ้นปีนี้ ผู้โดยสารจะสามารถสัมผัสประสบการณ์ใหม่บนเครื่องบินของเอมิเรตส์ ทั้งเครื่องบิน A380 และเครื่องบินโบอิ้ง 777 รวมถึงชั้นประหยัดพรีเมี่ยมในเส้นทางกว่า 30 เส้นทาง
สำหรับภาคพื้นดิน เอมิเรตส์ได้ลงทุน 44 ล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อเปิดเลานจ์แห่งใหม่อันมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเอมิเรตส์สำหรับลูกค้าระดับพรีเมี่ยมที่สนามบินลอนดอน สแตนสเต็ด และเจดดาห์ รวมถึงปรับปรุงเลานจ์ที่สนามบินปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ที่กำลังดำเนินการเพื่อมุ่งพัฒนาเครือข่ายเลานจ์ของเอมิเรตส์ และในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เอมิเรตส์ได้เปิด Travel Store แห่งใหม่ในฮ่องกง ซึ่งถือเป็นสาขาแรกนอกสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และยังมีแผนเปิดร้านค้าที่เน้นการสร้างประสบการณ์เพิ่มเติมภายในเครือข่ายของตนตามแผนกลยุทธ์การค้าปลีก
เอมิเรตส์ยังคงเดินหน้าโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน (SAF) ในพื้นที่ที่สามารถนำมาใช้ได้และมีความเหมาะสม โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567-2568 เอมิเรตส์ได้เริ่มใช้ SAF เป็นครั้งแรกในสิงคโปร์และที่สนามบินนานาชาติลอนดอน ฮีทโทรว์
เอมิเรตส์ได้เข้าร่วมกับโครงการ Aviation Initiative for Renewable Energy (aireg) ในประเทศเยอรมนี และลงนามเป็นพันธมิตรในอุตสาหกรรมกับโครงการ Aviation Impact Accelerator (AIA) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวิธีการลดการปล่อยมลพิษ การเป็นพันธมิตรกับ AIA ยังนับเป็นการเบิกจ่ายครั้งแรกจากกองทุนมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่เอมิเรตส์จัดสรรไว้เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมความยั่งยืนสำหรับการบิน
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567-2568 เอมิเรตส์ได้เร่งการลงทุนเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ของแบรนด์ในระดับโลก โดยได้ลงนามข้อตกลงใหม่เพื่อเป็นสายการบินพันธมิตรอย่างเป็นทางการของการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน นอกจากนี้ เอมิเรตส์ยังขยายความร่วมมือระยะยาวกับสภาคริกเก็ตนานาชาติ (ICC) ต่อไปอีก 8 ปี และสโมสรฟุตบอล เอสแอล เบนฟิกา ในประเทศโปรตุเกสอีก 5 ปี
ในด้านกำลังการผลิตโดยรวมในช่วงหกเดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 5% อยู่ที่ 29.9 พันล้านตันกิโลเมตร (ATKM) เนื่องจากการขยายเที่ยวบิน ความจุที่วัดจากต้นทุนที่นั่งต่อกิโลเมตร (ASKM) เพิ่มขึ้น 4% ในขณะที่ปริมาณผู้โดยสารที่วัดได้ต่อกิโลเมตร (RPKM) เพิ่มขึ้น 2% โดยมีที่นั่งผู้โดยสารเฉลี่ย 80.0% เทียบกับ 81.5% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสายการบินเอมิเรตส์ให้บริการผู้โดยสารกว่า 26.9 ล้านคนระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 30 กันยายน 2567 เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
เอมิเรตส์ สกายคาร์โก มีการขนส่งสินค้ากว่า 1,198,000 ตันในช่วงหกเดือนแรกของปี เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในจีนและการส่งสินค้าที่มุ่งหน้าไปยังดูไบ
โดย เอมิเรตส์ สกายคาร์โก ได้ขยายขีดความสามารถในการขนส่งเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ผ่านการรับมอบเครื่องบินโบอิ้ง 777 สำหรับขนส่งสินค้าใหม่ 1 ลำ และการเช่าเครื่องบินโบอิ้ง 747F เพิ่มอีก 2 ลำ นอกจากนี้ ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2567-2568 เอมิเรตส์ยังได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 สำหรับขนส่งสินค้าเพิ่มอีก 10 ลำเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้าต่อการบริการเฉพาะทางและเครือข่ายการขนส่งสินค้าที่ครอบคลุมทั้งการขนส่งผ่านเครื่องบินขนส่งและการขนส่งใต้ท้องเครื่องบินโดยสารของ เอมิเรตส์ สกายคาร์โก ทำให้ผลตอบแทนจากการขนส่งสินค้าของสายการบินเพิ่มขึ้น 11%
กำไรก่อนหักภาษีของสายการบินเอมิเรตส์ในครึ่งปีแรกของปี 2567-2568 ทำสถิติใหม่ที่ 9.7 พันล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นจาก 9.5 พันล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรหลังหักภาษีอยู่ที่ 8.7 พันล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ในส่วนของรายรับของสายการบินเอมิเรตส์ รวมถึงรายได้จากการดำเนินงานอื่น ๆ อยู่ที่ 6.22 หมื่นล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (1.69 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับ 5.95 หมื่นล้านมีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (1.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ของสายการบินเป็นผลมาจากความต้องการที่แข็งแกร่งทั้งในด้านการเดินทางและขนส่งสินค้าจากหลายตลาด รวมถึงความสามารถของสายการบินในการนำเสนอคุณค่าและบริการที่ยอดเยี่ยมแก่ลูกค้า
ต้นทุนการดำเนินงานโดยตรงของเอมิเรตส์ (รวมถึงเชื้อเพลิง) เพิ่มขึ้น 6% ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เชื้อเพลิงยังคงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของต้นทุนการดำเนินงานของสายการบิน อยู่ที่ 32% เทียบกับ 34% ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ผลกำไร EBITDA ของเอมิเรตส์อยู่ที่ 1.91 หมื่นล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงเล็กน้อยคิดเป็น 2% จาก 1.95 หมื่นล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งมาจากความต้องการของลูกค้าและการขยายการดำเนินงานในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา
–TSB ทุ่ม 50 ล้าน จับมือพันธมิตรเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้โดยสารที่ถือบัตร HOP Card
91% ของธุรกิจขนาดเล็กกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเศรษฐกิจ ผลสำรวจจาก Goldman Sachs ระบุว่า ธุรกิจขนาดเล็กกว่า 91% กำลังประสบปัญหาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ และกว่าครึ่งยืนยันว่าสถานการณ์เลวร้ายลงตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่ปี 2025 กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คำถามคือ ธุรกิจของคุณพร้อมรับมือกับความท้าทายและคว้าโอกาสในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือยัง?…
BizTalk x Sunny Horo กับคอลลัมน์ ดวงธุรกิจ Weekly ชวนมาอัพเดต ดวงประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567 กัน ใครเกิดตรงกับวันไหน…
Biztalk วันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย. 2567 คุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไอที โดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยข้อมูล คุณวันพิชิต ชินตระกูลชัย Chief Technology Officer (CTO) บริษัท แร็กน่าร์…
จากองค์กรที่อยู่คู่คนไทยมายาวนานถึง 141 ปี ไปรษณีย์ไทย กำลังก้าวสู่ "ไลฟ์สไตล์แบรนด์" ที่มีความทันสมัย และพร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของผู้คน ใครว่าไปรษณีย์ไทยมีดีแค่ส่งจดหมายและพัสดุ? วันนี้ไปรษณีย์ไทยกำลังก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมๆ สู่การเป็น "ไลฟ์สไตล์แบรนด์" ที่พร้อมเติมเต็มทุกมิติชีวิตของคนไทย ด้วยกลยุทธ์การพัฒนาบริการดิจิทัลควบคู่ไปกับการต่อยอดธุรกิจดั้งเดิม พร้อมสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ๆ…
10 สตาร์ทอัพเซมิคอนดักเตอร์ แห่งปี 2024 ก้าวข้ามขีดจำกัดของวงการ AI ด้วยเทคโนโลยีชิปสุดล้ำ ในขณะที่ Nvidia ครองตลาดชิป AI ด้วยมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์ในแต่ละไตรมาส บริษัทและนักลงทุนจำนวนมากเชื่อว่ายังมีโอกาสสำหรับผู้เล่นรายอื่นในตลาดโครงสร้างพื้นฐาน AI ทั้งในส่วนของชิปที่ใช้ในอุปกรณ์…
พรีวิว Oppo Find X8 ซีรีส์ สมาร์ทโฟนที่มาพร้อมชิปเซ็ตตัวใหม่ล่าสุด MediaTek Dimensity 9400 ที่ให้ประสิทธิภาพแรงขึ้นกว่าเดิม ทั้ง CPU เร็วขึ้น 35% และ…