สร้างถึงไหนแล้ว รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา

สร้างถึงไหนแล้ว รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - นครราชสีมา

ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ถึงสถานีปลายทางนครราชสีมา

แบ่งการก่อสร้างงานโยธา เป็น 14 สัญญา ความคืบหน้าล่าสุด ณ เดือนตุลาคม 2565 มีดังนี้

ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 10 สัญญา ได้แก่

  • ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ผลงาน 95.42 %
  • งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. ผลงาน 4.38 %
  • ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. ผลงาน 14.50 %
  • ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. ผลงาน 41.08 %
  • ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. ผลงาน 2.40 %
  • ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. ผลงาน 0.09 %
  • ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. ผลงาน 4.47 %
  • ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ผลงาน 0.017%
  • ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. ผลงาน 0.15 %
  • ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. ผลงาน 29.69 %

*ยังไม่ลงนาม 3 สัญญา ได้แก่

  • ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม.
  • ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม.
  • และ ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม.

นอกจากการก่อสร้างงานโยธาแล้ว ในส่วนของสัญญางานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากรได้ลงนามสัญญา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินงานตามสัญญา

บขส. เร่งตรวจสอบกรณีรถทัวร์รับผู้โดยสารเกินที่นั่ง

โดย ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย โดย นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เร่งรัดและติดตามการก่อสร้าง รวมถึงแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนงานที่วางไว้ คือ ภายในปี 2570

เมื่อโครงการนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการ จะใช้เวลาเดินทางจากสถานีต้นทาง คือ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ถึงสถานีปลายทาง นครราชสีมา เพียง 90 นาที

Credit ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

Scroll to Top