Transportation

มธ. เผยคนไทย 98% ปลื้มบริการ “เรียกรถผ่านแอป” แนะภาครัฐลงดาบ “แอปเถื่อน” สร้างความมั่นใจนักท่องเที่ยวต่างชาติ

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) โดย ผศ.ดร.สุทธิกร กิ่งเเก้ว ผู้บริหารโครงการวิจัย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของคนไทย รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มีต่อประสบการณ์การใช้บริการรถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน หรือบริการ “เรียกรถผ่านแอป” ซึ่งเป็นบริการที่ถูกกฎหมายแล้วในประเทศไทย ผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 512 คน1 รวมถึงลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ พร้อมนำเสนอแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการเพื่อยกระดับคุณภาพขนส่งสาธารณะ รวมถึงการกำกับดูแลมาตรฐานของบริการดังกล่าวโดยหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนการกำหนดมาตรการในการจัดการ “แอปเถื่อน” หรือแอปพลิเคชันที่ไม่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยผลการสำรวจพบว่า

  • กว่า 86% ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยใช้บริการเรียกรถผ่านแอป โดยส่วนใหญ่หรือ 89.3% ของผู้ที่เคยเรียกรถผ่านเเอปเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันที่ถูกกฎหมาย (แอปที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก อันได้แก่ AirAsia, Bonku, Cabb, Grab, Hello Phuket, และ Robinhood) เท่านั้น
  • 98.3% ของผู้ใช้บริการเรียกรถผ่านแอปรู้สึกพึงพอใจต่อบริการดังกล่าว โดยเฉพาะในด้านความสะดวกสบาย ความปลอดภัย มาตรฐานด้านราคา รวมถึงมาตรฐานการให้บริการ
    • 72.5% ถูกใจในความสะดวกสบายของการใช้บริการ
    • 45.9% ชอบที่มีการแสดงราคาล่วงหน้าผ่านแอป และมีการกำหนดราคาตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก
    • 45.1% รู้สึกอุ่นใจในมาตรฐานและเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของแอปเรียกรถ เช่น มีระบบติดตามการเดินทาง มีระบบคัดกรองและยืนยันคนขับ หรือการทำประกันคุ้มครองผู้โดยสาร
    • 26% พอใจกับมาตรฐานการให้บริการ เช่น มีระบบคอลเซ็นเตอร์เพื่อให้ความช่วยเหลือ หรือมีระบบการให้คะแนนคนขับ
  • แม้ว่าผู้ใช้บริการจะพึงพอใจกับบริการเรียกรถผ่านแอปในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงต้องการให้พัฒนาปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรฐานการให้บริการโดยรวม (27.7%) มาตรฐานด้านความปลอดภัย (21.4%) รวมถึงมาตรฐานของคนขับ (16.7%) เช่น มารยาทการให้บริการ ขณะที่เกือบหนึ่งในสามของผู้ใช้บริการ (31.5%) ต้องการให้ปรับปรุงด้านราคา โดยมองว่าบริการเรียกรถผ่านแอปมีค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ขณะที่บางแอปพลิเคชัน โดยเฉพาะเเอปเถื่อน ไม่มีมาตรฐานในด้านราคา เช่น ราคาที่แสดงก่อนใช้บริการและหลังใช้บริการไม่ตรงกัน หรือมีกรณีที่คนขับแอบเปลี่ยนราคาให้ค่าบริการแพงขึ้น นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ยังมีความกังวลต่อมาตรฐานการให้บริการของแอปเถื่อนเหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันมีหลายแอปพลิเคชันที่ให้บริการอยู่ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก
  • เมื่อสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบริการเรียกรถผ่านแอปที่ไม่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก
    • 45.7% รู้สึกว่าการใช้บริการผ่านแอปเถื่อนมีความเสี่ยงสูง เพราะได้ยินข่าวเกี่ยวกับมิจฉาชีพหรืออาชญากรรมจากการใช้บริการอยู่บ่อยครั้ง
    • 39.8% รู้สึกกังวลที่จะเลือกใช้บริการ เพราะกลัวว่าหากเกิดปัญหาใดๆ อาจไม่ได้รับการคุ้มครองหรือไม่มีผู้รับผิดชอบ
    • 35.7% มองว่าแอปเหล่านี้ให้บริการอย่างไม่ถูกกฎหมาย จึงไม่ควรสนับสนุน
    • ขณะที่มีผู้ใช้บริการบางส่วน (14.5%) ระบุแอปเถื่อนมักมีอัตราค่าบริการถูกกว่าแอปที่ได้รับการรับรอง แต่ก็ส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความปลอดภัย การคัดกรองคนขับ รวมถึงคุณภาพการให้บริการโดยรวม
  • ผู้ใช้บริการยังคาดหวังให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่ตำรวจ กรมการขนส่งทางบก หรือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีมาตรการที่เข้มงวดในการกำกับดูแลและจัดการกับแอปที่ไม่มีมาตรฐานเหล่านี้
    • ผู้ใช้บริการมากกว่าหนึ่งในสาม (35.5%) ต้องการให้ภาครัฐสั่งให้แอปเถื่อนเหล่านี้หยุดให้บริการจนกว่าจะได้รับการรับรอง และมีการลงโทษแพลตฟอร์มผู้ให้บริการแอปเหล่านี้อย่างจริงจัง
    • ขณะที่ 36.9% คาดหวังให้ภาครัฐประชาสัมพันธ์ในวงกว้างเพื่อสื่อสารให้ผู้โดยสาร ทั้งไทยและต่างชาติ รวมถึงคนขับตระหนักถึงความเสี่ยงของการใช้แอปเถื่อน
    • และเกือบครึ่งของผู้ใช้บริการ (46.7%) ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการเพื่อเร่งรัดให้เเอปเถื่อนเหล่านี้เข้าระบบอย่างถูกกฎหมาย และดำเนินการตามมาตรฐานหรือกฎต่างๆ ที่ภาครัฐกำหนด

นอกจากผู้ใช้บริการชาวไทยแล้ว สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) ยังได้สำรวจความคิดเห็นเพิ่มเติมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยและใช้บริการเรียกรถผ่านแอปจำนวนทั้งสิ้น 25 กลุ่มตัวอย่าง โดยจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์นักท่องเที่ยวตามเเหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความคุ้นชินกับการใช้บริการเรียกรถผ่านแอปในประเทศไทยเพราะเป็นบริการที่สะดวกสบาย ช่วยเชื่อมต่อการเดินทางได้โดยไม่สะดุดตั้งแต่สนามบิน และไม่ต้องกังวลกับปัญหาการโก่งราคาหรือมิจฉาชีพ รวมถึงปัญหาด้านการสื่อสาร เพราะแอปส่วนใหญ่มีระบบแปลภาษาที่ช่วยทำให้สื่อสารกับคนขับได้ง่ายขึ้น

การรถไฟฯ เตือนระวังการซื้อ-ขายตั๋วผี

สำหรับแอปเรียกรถที่ชาวต่างชาติมักเลือกใช้บริการ คือ แอปพลิเคชันที่เคยใช้ในประเทศของตนมาก่อน หรือเป็นแอปพลิเคชันที่มีการแนะนำกันปากต่อปากจากนักท่องเที่ยวด้วยกันโดยอาจไม่ทราบว่าแอปเหล่านั้นให้บริการอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยหรือไม่ เมื่อถามถึงประสบการณ์เชิงลบที่เคยสัมผัสจากการใช้บริการดังกล่าวพบว่า นักท่องเที่ยวบางส่วนเคยเจอคนขับที่ไม่มีมารยาท มีประสบการณ์ลืมของบนรถแล้วไม่ได้คืนหรือสามารถติดต่อคนขับได้ รวมถึงราคาของบางแอปพลิเคชันที่สูงขึ้นหลังเดินทางไปแล้ว อย่างไรก็ดี เกือบทั้งหมดของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติระบุว่าต้องการใช้เเอปเรียกรถที่ถูกกฎหมาย เพราะกังวลเรื่องมาตรฐานเเละความปลอดภัย เเต่ก็ยังไม่ทราบว่าเเอปไหนถูกกฎหมายหรือได้รับการรับรองแล้วในประเทศไทย

นอกจากนี้ ผศ.ดร.สุทธิกร กิ่งเเก้ว ยังได้นำเสนอความคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนาบริการเรียกรถผ่านแอปในประเทศไทย โดยกล่าวว่า “ที่ผ่านมา เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าบริการเรียกรถผ่านแอปนั้นนอกจากจะช่วยให้คนไทยมีความสะดวกมากขึ้นในชีวิตประจำวันเเล้ว แต่ยังช่วยให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้ประโยชน์จากการเดินทางท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก ปลอดภัย มีมาตรฐาน มีราคาที่เป็นธรรม โดยนักท่องเที่ยวไม่ต้องติดปัญหาเรื่องการสื่อสารกับคนขับรถเหมือนในอดีต สิ่งที่ผู้ประกอบการหรือแพลตฟอร์มผู้ให้บริการทุกเจ้าควรพัฒนาอย่างต่อเนื่องคือ การปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการโดยรวม ซึ่งหลักๆ มาจากคุณภาพและมารยาทของคนขับ รวมถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นสองประเด็นหลักที่ถูกคาดหวังมากที่สุดจากผู้ใช้บริการ รองมาจากประเด็นด้านราคาซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้มีการควบคุมอยู่แล้ว”

“ปัจจุบันเเอปเรียกรถส่วนใหญ่ได้เข้าสู่ระบบตามกฎหมายเเล้ว เเต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังอาศัยช่องโหว่ตรงนี้ในการทำธุรกิจโดยไม่จดทะเบียนตามกฎหมายให้ถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด ทั้งในส่วนราคาที่เป็นธรรม มาตรฐานคนขับ หรือระบบการดูเเลความปลอดภัยของชีวิตเเละทรัพย์สิน เป็นต้น เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องเข้ามาให้ข้อมูลต่อผู้ใช้บริการ ทั้งในส่วนที่เป็นคนไทยเเละนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมไปถึงคนขับรถที่ให้บริการ เพื่อให้รับรู้ถึงผลเสียของการใช้เเอปที่ผิดกฎหมายไม่ได้มาตรฐาน เเละระบุว่าเเอปใดที่ยังไม่ได้เข้าสู่มาตรฐานของประเทศไทย เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจเเละหลีกเลี่ยงการใช้เเอปเหล่านั้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยรักษามาตรฐานของบริการขนส่งสาธารณะในประเทศไทยให้กับคนไทย เเต่ยังช่วยส่งเสริมและสนับสนุนภาพลักษณ์ที่ดีของภาคท่องเที่ยวไทย เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้รับการดูแลอย่างมีมาตรฐาน และสร้างประสบการณ์ที่ดีจากการใช้บริการเเอปถูกกฎหมาย”

supersab

Recent Posts

LINE MAN เผยเทรนด์ “ชาไทย Specialty” แรงจัด! ยอดสั่งพุ่ง 81% ร้านใหม่ผุด 205%

กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…

3 hours ago

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

4 hours ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

4 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

5 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

5 hours ago

เปิดเทรนด์ “Conscious Travel” สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…

5 hours ago