สทร. CRIC และ CARS เร่งติดตามการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง จากจีนสู่ไทย หวังเดินหน้าได้ตามเป้าหมาย

สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ สทร. นำโดย รศ. ดร.โชติชัย เจริญงาม ประธานกรรมการ สทร. เป็นประธานฝ่ายไทยในการติดตามความก้าวหน้าในประเด็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน พร้อม ดร.เพียงออ เลาหะวิไลย กรรมการ สทร. ดร.เกศวรงค์ หงส์ลดารมภ์ กรรมการ สทร. ดร.กานต์รวี ทองพูล รองผู้อำนวยการและรักษาการแทนผู้อำนวยการ สทร. และ นายธีรวัตร โพธิกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมเทคโนโลยีระบบราง ตามสัญญา 2.3 ร่วมกับ China Railway International Co.,Ltd. (CRIC) และ China Academy of Railway Science Corporation Limited (CARS) และหน่วยงานพันธมิตรด้านโครงสร้างพื้นฐานมาตรฐานและวิเคราะห์ทดสอบ นำโดย ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) รศ. ดร.วิชัย ศิวะโกศิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร.ศุภกร ติระพัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและโอกาสในการผลิตชิ้นส่วนระบบราง ณ PTEC สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

โดย รศ.ดร.โชติชัย กล่าวในรายละเอียดว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ สทร. มีบทบาทในการเป็นหน่วยยุทธศาสตร์ (Strategic unit) ของเทคโนโลยีระบบราง ของประเทศ ภายใต้กระทรวงคมนาคม ซึ่งปัจจุบันแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง สทร. และหน่วยงานพันธมิตร เช่น PTEC และมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและโอกาสในการผลิตชิ้นส่วนระบบราง โดยการหารือในรายละเอียดวันนี้กับฝ่ายจีน เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติงานที่ชัดเจน และเกิดแนวทางขยายความสามารถอย่างมีประสิทธิผลในการทดสอบ การตรวจสอบ และรับรองผลิตภัณฑ์สำหรับระบบขนส่งทางรางในอนาคต โดยกำหนดความต้องการหลักในการขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีคลอบคลุม 3 ประเด็นหลักดังนี้
1.การฝึกอบรมด้านมาตรฐานและการทดสอบรายผลิตภัณฑ์ / การตัดสินผลการทดสอบ สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้ในระบบขนส่งทางราง / รถไฟความเร็วสูง 


  1. การขอรับการ Pre audit สำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบของฝ่ายไทยจากผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจีน เพื่อนำมาปรับความสามารถในการทดสอบของฝ่ายไทยรองรับมาตรฐานที่ใช้กับรถไฟความเร็วสูง
  2. การวางแนวทางในการจัดทำมาตรฐานชิ้นส่วนรถไฟจากจีน เพื่อใช้ในการยอมรับชิ้นส่วนรถไฟที่ผลิตในประเทศไทย และสามารถนำมาใช้ทดแทนในรถไฟจีนเพื่อการซ่อมบำรุงในอนาคต ซึ่ง Target Products ในระยะแรกจะเน้นไปที่ชิ้นส่วนที่อุตสาหกรรมไทยทำได้ เช่น กลุ่ม Lighting , Fan, Door ,ระบบ Air Condition  ฯลฯ นอกเหนือจากนี้ สทร. ยังจะได้มีการเร่งผลักดันให้เกิดการทำ Business Matching ระหว่าง อุตสาหกรรมไทยกับอุตสาหกรรมจีน เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมไทยสามารถผลิตชิ้นส่วน ป้อนเข้าสู่การใช้งานรถไฟในอนาคตต่อไปด้วย

Related Posts

Scroll to Top