education

กสทช. อนุมัติให้ม.สงขลานครินทร์ใช้ดาวเทียม Starlink ในการทดสอบ(Sandbox) รับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมเป็นการชั่วคราว เพื่อสนับสนุนภารกิจค้นหาช่วยเหลือทางเรือที่ประสบภัยและภารกิจอื่นในพื้นที่ห่างไกล

ที่ประชุม กสทช. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 ได้อนุมัติให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใช้คลื่นความถี่ย่าน Ku-Band (Uplink: 14-14.5 GHz และ Downlink: 10.7–12.7 GHz) ของดาวเทียมต่างชาติกลุ่มดาวเทียม Starlink ซึ่งเป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit: LEO) ในการทดลองทดสอบรับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม เพื่อสนับสนุนภารกิจค้นหาช่วยเหลือทางเรือที่ประสบภัยและภารกิจอื่นในพื้นที่ห่างไกลที่โครงข่ายภาคพื้นดินไปไม่ถึง เป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 6 เดือน

ในการนี้ พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ กสทช. ให้ข้อมูลในกรณีนี้ว่า เป็นการพิจารณาตามที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร้องขอ ซึ่งเดิมมหาลัยฯ เคยได้รับอนุญาตให้เป็นพื้นที่ทดลองทดสอบ (Sandbox) ในการพัฒนา 5G Usecase มาก่อน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยดี และในครั้งนี้ต้องการทดลองทดสอบนวัตกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในพื้นที่ห่างไกลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ตามเกาะแก่ง หรือ ตามป่าเขา ที่โครงข่ายอินเทอร์เน็ตภาคพื้นดิน หรือ โครงข่ายไร้สาย 4G หรือ 5G ไปไม่ถึง

ซึ่งภาคใต้ของประเทศไทยยังคงมีปัญหาดังกล่าว และครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่อนุญาตให้ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียม Starlink มาทดลองทดสอบการใช้งานอินเทอร์เน็ต (Broadband) ซึ่งแม้ว่าจะใช้คลื่นความถี่ในย่าน Ku Band เหมือนกับดาวเทียมไทยคม 5 และ ไทยคม 8 ที่ใช้งานแพร่ภาพโทรทัศน์ (Broadcast) แต่ก็ไม่ทับซ้อนกัน โดยที่ดาวเทียมไทยคม 5 ใช้ Downlink: 12.272 – 12.604 GHz และ ไทยคม 8 ใช้ Downlink: 11.48 – 11.70 GHz

กสทช. ก็มีข้อสังเกตในการทดลองทดสอบครั้งนี้ถึงผลกระทบที่อาจเกิดคลื่นความถี่รบกวนกันด้วย
จึงเป็นสิ่งที่ดีที่ก่อนจะมีการอนุญาตให้ใช้งานจริงควรทดสอบก่อน โดยมีโครงสร้างสถาปัตยกรรมโครงข่ายกรณีภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตเรือที่ประสบภัย ตามภาพ

“การทดลองทดสอบ (Sandbox) ในการรับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม Starlink ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมวงโคจรต่ำที่เป็นกลุ่มดาวเทียมใช้งาน Broadband เช่นนี้ สำหรับดาวเทียมสัญชาติไทยที่ กสทช.ประมูลและอนุญาตในต้นปีที่ผ่านมาเป็นดาวเทียมวงโคจรประจำที่ (Geo-Stationary Earth Orbit: GEO) และการอนุญาตในครั้งนี้ไม่ได้เป็นการอนุญาตเพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใดดังนั้นหากให้มหาวิทยาลัยฯ ได้ทำการทดลองทดสอบเพื่อได้ศึกษาถึงเทคโนโลยีดังกล่าวที่มีความแตกต่างกันและได้องค์ความรู้ทั้งในด้านการพัฒนาและการประยุกต์ใช้งานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการค้นหาและช่วยเหลือทางเรือที่ประสบภัย จึงน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศ“ พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ฯ กล่าว

BizTalk NEWS

Recent Posts

โซนี่ไทยเปิดตัว BRAVIA 9 และ BRAVIA 8 รุ่นใหม่ล่าสุด มาพร้อม BRAVIA Theatre Bar รุ่นล่าสุด

บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด เปิดตัวทีวีบราเวีย (BRAVIA) รุ่นใหม่ล่าสุด ภายใต้คอนเซ็ปต์ "Cinema is Coming Home" โดยเน้นความสว่างสูงสุดและคุณภาพเสียงที่ดีที่สุด มอบประสบการณ์การรับชมเสมือนอยู่ในโรงภาพยนตร์ นำทีมโดยรุ่นเรือธงอย่าง…

7 hours ago

True ออกหุ้นกู้ ดอกเบี้ย [2.85 – 4.30]% ต่อปี ความน่าเชื่อถือระดับ “A+” คาดเปิดให้จองซื้อ 27 – 29 สิงหาคม 67

True เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป จำนวน 5 ชุด อายุหุ้นกู้ตั้งแต่ 1 ปี 3 เดือน ถึง 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง [2.85…

7 hours ago

Xiaomi ประกาศวางจำหน่ายแท็บเล็ต Xiaomi Pad 6S Pro และ Redmi Pad Pro พร้อมด้วยสมาร์ทโฟน Redmi 13 ในไทย

Xiaomi ประกาศวางจำหน่ายแท็บเล็ต 2 รุ่น ประกอบด้วย Xiaomi Pad 6S Pro แท็บเล็ตที่ถูกดีไซน์มาเพื่อการอ่านและการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และ Redmi Pad Pro แท็บเล็ตเพื่อความบันเทิงบนหน้าจอขนาดใหญ่…

7 hours ago

ละมุน เบบี้ ปลื้ม 6 เดือนแรกเป้าตามคาด คว้าเป้ยและน้องโปรดเป็นพรีเซนเตอร์

ละมุน เบบี้ เผยรายได้ 6 เดือนแรกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 30% คาดปิดรายได้ปีนี้ตามคาดที่ 250 ล้านบาท พร้อมเปิดตัวเป็นพรีเซนเตอร์ เป้ย ปานวาดและน้องโปรด มั่นใจช่วยเสริมทัพกระแสการดูแลสุขภาพในกลุ่มเด็กโต เป็นการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ให้ละมุนอีกด้วย เนตรนพิศ…

8 hours ago

Samsung อัปโปรเพิ่มรับเลยส่วนลด 5,000 บาท สั่งจองล่วงหน้า Galaxy Z Fold6 l Z Flip6 พร้อมรับสิทธิพิเศษ 3 ต่อ

ชาวพับห้ามพลาด! Samsung มอบส่วนลดเพิ่ม 5,000 บาท สำหรับลงทะเบียนสั่งจองล่วงหน้า Galaxy Z Fold6 l Z Flip6 เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนจอพับก่อนใคร พร้อมรับสิทธิพิเศษอีกเพียบ! Galaxy…

8 hours ago

กฟผ.จับมือ AIT และ CSU ร่วมศึกษาพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์ชนิด Edge Sealed Modules

นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยศาสตราจารย์นิติน ตรีปาธี (Prof. Nitin Tripathi) รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และศาสตราจารย์เคนเน็ธ เรียร์ดอน…

8 hours ago