รีวิว Dek66 กับ 4 หลักสูตรใหม่น่าเรียนจาก วิศวะฯ มธ. TEPE

รีวิว Dek66 กับ 4 หลักสูตรใหม่น่าเรียนจาก วิศวะฯ มธ. TEPE

ใกล้เข้ามาทุกทีกับฤดูกาลแห่งการยื่นคะแนนในระบบ TCAS66 เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนได้เตรียมตัวกันมาเป็นอย่างดี เพื่อยื่นคะแนนในสาขาที่ชอบคณะที่ใช่ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat School of Engineering) หรือ TSE ที่ได้พัฒนา 4 สาขาใหม่ของวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ หรือ TEPE (Thammasat English Programme of Engineering) ที่มีการจัดการเรียนการสอน 4 ปี ที่ ม.ธรรมศาสตร์ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรนานาชาติในไทย พร้อมรองรับตลาดแรงงานและสาขาอาชีพมาแรงในอนาคต

ศธ. จับมือ การีนา เปิดโครงการ “Gamer to Coder” ตั้งเป้า 3-5 ปี คนไทยต้องพัฒนาแพลตฟอร์มขายต่างชาติ

โดยได้มีการเปิดตัวหลักสูตรใหม่ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ภายใต้แนวคิด “TEPE วิศวะนานาชาติเชิงบูรณาการ มธ.” ที่สุดของการบูรณาการองค์ความรู้และความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) จะช่วยสรุปเป็นหัวข้อต่าง ๆ ให้น้อง ๆ เข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับ วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ (TEPE) ดังนี้

RECAP : ความพิเศษของหลักสูตรใหม่ จาก TEPE ของ TSE

  • TEPE ได้เปิดโลกการเรียนรู้แบบรวมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญมากกว่า 1 สาขารองรับความต้องการของตลาด
  • TEPE มอบแนวคิดด้านการบริหารจัดการธุรกิจใหม่ ที่พร้อมลุยเทรนด์ธุรกิจที่เปลี่ยนไป
  • TEPE พัฒนาแนวทางร่วมกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม พร้อมต่อยอดให้คนรุ่นใหม่
  • TEPE เปิดพื้นที่และเส้นทางอนาคตของตัวเองได้ไม่จำกัด มีทางเลือกมากมายทั้งเรียนแลกเปลี่ยน และการฝึกงาน

4 จุดเริ่มต้นของการเปิดหลักสูตรใหม่จาก TEPE

  • หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าและข้อมูล (Electrical and Data Engineering)

เพราะ ‘ข้อมูล’ อยู่รอบตัวเรา TSE จึงพร้อมแล้วที่จะถ่ายทอดทั้งสองศาสตร์ความรู้นี้แก่น้อง ๆ เพื่อให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่แก้ปัญหาได้ทุกรูปแบบ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี AI รวมถึงระบบการจัดการฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เรื่องส่วนตัว อาทิ การดูแลสุขภาพ ซึ่ง TSE มีความภูมิใจได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้มีการพัฒนา ‘เอไอคัดกรองผู้ป่วยซึมเศร้า’ และ ‘เอไอคัดกรองความเสี่ยงโรคต้อกระจก’ โดย รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ TSE ซึ่งได้บูรณาการทักษะออกมาเป็นนวัตกรรมที่ใช้ได้จริงและมีคุณค่าต่อสังคม ซึ่งในการเรียนหลักสูตรนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะครอบคลุมด้าน Software Hardware รวมไปถึง ระบบ IoT หรือ ระบบ AI การทำCoding ไปจนถึงระบบCloud Computing เพื่อเรียนรู้วิธีการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Machine Learning โดยมีหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีระดับประเทศอย่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ในการให้ความรู้แก่นักศึกษา

  • หลักสูตรวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Civil Engineering and Real Estate Development)

‘เมกะเทรนด์ของ Urbanization’ มาพร้อมกับปัญหาเมืองที่หลากหลาย TSE จึงจับมือกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ. พร้อมปั้นน้อง ๆ ที่มีฝันก้าวสู่เส้นทาง “นักพัฒนาเมือง” หรือ “วิศวกรสายอสังหาฯ” อย่างรวดเร็ว เพราะหลักสูตรนี้จะเติมเต็มความรู้ทั้งด้านโยธาฯ และแนวคิดด้านอสังหาริมทรัพย์ เพราะในโลกการทำงานจริง วิศวกรไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ จึงจำเป็นต้องมีฝั่งทางสถาปัตยกรรมเข้ามามีส่วนร่วม หลักสูตรนี้จึงผสมผสานองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมโยธาที่เกี่ยวกับการก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อม รวมถึงวางแผนการพัฒนาเมืองและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้น้อง ๆ สามารถเลือกเส้นทางอาชีพในกลุ่มวิศวกรโยธา นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นักวางผังเมืองได้

  • หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลและการจัดการอุตสาหกรรม (Mechanical Engineering and Industrial Management)

โลกของอุตสาหกรรมยุคใหม่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว TSE จึงพร้อมมอบองค์ความรู้ที่สามารถให้ผู้เรียนได้ลองประยุกต์ใช้และต่อยอดความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกลและการจัดการอุตสาหกรรมที่ได้เรียนตลอดปีการศึกษา ที่ครอบคลุมความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกลไม่ว่าจะเป็น ระบบIoT ระบบAutomation ระบบควบคุม Controller รวมถึงความรู้ทางด้านการจัดการอุตสาหกรรม สู่การแก้ไขโจทย์ปัญหาที่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้เจอ ทั้งนี้ หากน้อง ๆ สามารถก้าวข้ามโจทย์ต่าง ๆ ไปได้ก็สามารถก้าวสู่เส้นทางอาชีพต่าง ๆ นี้ได้ อาทิ วิศวกรเครื่องกล วิศวกรโรงงาน วิศวกรโครงการ (Project Management System Engineer)

  • หลักสูตรวิศวกรรมเคมีและการจัดการ (Chemical Engineering and Management)

หลักสูตรนี้ นอกจากผู้เรียนจะได้รับความรู้ทางด้านวิศวกรรมเคมีไปอย่างครบถ้วนแล้ว หลักสูตรนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาทางด้าน Product design การจัดการทางวิศวกรรม รวมถึงความรู้ในการเป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีด้วย เพื่อให้พร้อมก้าวสู่การเป็น Start Up ต่อยอดจากแลปไปสู่เชิงพาณิชย์ได้

เปิดกว้าง ในการเลือกเรียนเทอมสุดท้ายด้วยตัวเอง!

นอกจากนี้ หลักสูตรใหม่ของ TEPE ยังได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือก Study Track ในภาคการศึกษาสุดท้ายได้เอง โดยสามารถเลือกได้ถึง 3 Track ด้วยกัน

  • Research Track แผนทำ Project ทางด้านงานวิจัยกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของแต่ละสาขาที่ต่อยอดความสนใจสู่ความรู้ใหม่!
  • Exchange Track สัมผัสประสบการณ์เรียนแลกเปลี่ยนต่างแดนกับมหาวิทยาลัยคู่สัญญาของ TSE
  • Long-Term Internship Track ฝึกงานในสถานประกอบการไทยหรือต่างประเทศ

2 ทางเลือกค่าใช้จ่ายสำหรับหลักสูตร TEPE

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษา 90,000 บาท/เทอม
  • ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 720,000 บาท
Scroll to Top