หัวเว่ย มุ่งต่อยอดสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลไทย

หัวเว่ย มุ่งต่อยอดสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลไทย

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลทั่วทุกมุมโลกอย่างแท้จริง และในขณะที่บริษัทและองค์กรต่างๆ กำลังเร่งแสวงหาแรงงานที่มีทักษะเพื่อรับมือกับความท้าทายอันเป็นผลมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล เรายิ่งเห็นได้ชัดกว่าเดิมว่าการขาดบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นปัญหาสำคัญ

จากรายงาน Global Connectivity Index (GCI) ล่าสุดของหัวเว่ย ที่ได้จัดกลุ่มประเทศต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่มตามการลงทุนด้านไอซีที การเติบโตของไอซีที และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจดิจิทัล โดยจัดเป็นประเภทเป็นกลุ่มผู้ริเริ่ม ผู้ที่กำลังประยุกต์ใช้ หรือผู้นำในตลาด รายงานดังกล่าวเปิดเผยว่า ประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกมีความแตกต่างกันอย่างมากในทุกพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาโดยรวมที่ไม่สมดุลกันในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตอีกว่าเมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายจากการระบาดของโควิด-19 ประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่สมบูรณ์มากกว่าจะได้รับผลกระทบจะในขอบเขตที่จำกัดกว่าและสามารถฟื้นตัวได้ดีกว่า

การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจดิจิทัลทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านไอซีที และเมื่อเราก้าวย่างเข้าสู่โลกที่อัจฉริยะ ความไม่เท่าเทียมกันด้านดิจิทัลก็ยังคงมีอยู่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้สูงอายุจำนวนมากไม่สามารถจองคิวผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อจะไปฉีดวัคซีนได้ เนื่องจากพวกเขาไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลดังกล่าว และนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลก็ไม่สามารถเข้าถึงโปรแกรมการศึกษาแบบออนไลน์ได้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานหลายอย่างยังไม่อำนวย ในแง่ของธุรกิจ

รายงานวิจัยจาก Korn Ferry ระบุว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานดิจิทัลถึง 47 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2573 คิดเป็นค่าเสียโอกาสราว 4.238 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี นอกจากนี้ จากผลสำรวจซีอีโอทั่วโลก (Global CEO Survey) ประจำปีครั้งที่ 20 ของ PwC พบว่า ซีอีโอมากกว่า 50% ของในเอเชียแปซิฟิกมีปัญหาเกี่ยวกับการว่าจ้างผู้ที่มีความสามารถด้านดิจิทัลที่มีทักษะเหมาะสมกับตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม เอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นภูมิภาคที่แสดงศักยภาพในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างยอดเยี่ยม และเมื่อมีการใช้เครือข่าย 5G อย่างกว้างขวาง ระบบการเชื่อมต่อ คลาวด์ ปัญญาประดิษฐ์ การประมวลผล และการประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ก็ได้ร่วมกันสร้างโอกาสอันน่าตื่นเต้นนี้สำหรับภาคไอซีทีในภูมิภาคนี้

Selfie เปิด Selfie Studio ใจกลางทองหล่อ ขยายพื้นที่บริการสแกนฟัน 3 มิติ ครอบคลุมลูกค้าจัดฟันแบบใส

ในทศวรรษถัดไป เทคโนโลยีเกิดใหม่หลายอย่างพร้อมที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจดิจิทัลครั้งยิ่งใหญ่ การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในวิธีการทำงานของผู้คน และแนวทางการทำงานในปัจจุบันอาจล้าสมัยหรือจำเป็นจะต้องพัฒนาทักษะใหม่ๆ ในบริบทนี้ รัฐบาลจำเป็นจะต้องมีบทบาทในการเป็นผู้นำและทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้คนในท้องถิ่นให้มีความสามารถ

เพื่อแก้ไขช่องว่างด้านทักษะด้านดิจิทัลในประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทุ่มเททรัพยากรและร่วมมือกับพันธมิตรในระบบนิเวศต่างๆ เพื่อพัฒนาโครงการผู้มีความสามารถด้านไอซีทีรุ่นใหม่ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้

โครงการ “Seeds for the Future” เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2551 เป็นครั้งแรก ที่จังหวัดกรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยเป็นโครงการแรกจากหลายโครงการที่ออกแบบมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ที่มีความสามารถด้านไอซีที และส่งเสริมให้พวกเขาสามารถรับมือกับความท้าทายทางสังคมด้วยโซลูชันดิจิทัล โครงการนี้ได้รวบรวมเอาเยาวชนที่มีความสามารถด้านไอซีทีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำเข้าร่วมค่ายวิชาการและโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบทุนการศึกษาประจำปีและสร้างการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ประกาศลงทุน 150 ล้านดอลลาร์ในโครงการนี้ และในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 หัวเว่ยได้จัดโครงการ Seeds for the Future ระดับภูมิภาคครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดจาก 140 ประเทศในภูมิภาคนี้ และเข้าถึงนักศึกษากว่า 12,000 คนจากมหาวิทยาลัย 500 แห่งอีกด้วย

นอกจากนี้ งาน Huawei Connect ซึ่งเป็นงานเรือธงประจำปีของหัวเว่ย ยังได้จัดขึ้นนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ณ จังหวัดกรุงเทพฯ ประเทศไทย ในช่วงการจัดงาน มูลนิธิอาเซียนและหัวเว่ยได้เชิญตัวแทนจากภาครัฐบาล สถาบันการศึกษา และอุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมหารือเกี่ยวกับการปลุกปั้นกลุ่มผู้มีความสามารถด้านไอซีที ที่พร้อมก้าวสู่อนาคตแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่งาน Asia Pacific Digital Talent Summit

ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ พิเชฐ โพธิ์ภักดี ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประเทศไทย ได้แบ่งปันข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับความคิดริเริ่มของประเทศไทยในด้านการบ่มเพาะผู้มีความสามารถว่า “ในประเทศไทย แพลตฟอร์มและทรัพยากรการเรียนรู้ทางไกล เช่น Digital Learning Television (DLTV) ได้รับการพัฒนาเพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าทุกคนจะมีโอกาเข้าถึงการเรียนรู้อย่างแน่นอน อนาคตของการศึกษาขึ้นอยู่กับการที่เรามีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาให้การศึกษาไทยมีความครอบคลุมมากขึ้น เท่าเทียมมากขึ้น และทำให้มีบุคลากรคุณภาพดีขึ้น”

ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็มีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา การโจมตีทางไซเบอร์มีมากขึ้นในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น พลังงาน ระบบบริการสุขภาพ และการคมนาคมขนส่ง ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีทั่วโลก ผลการศึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ยังพบว่า อุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยโลกไซเบอร์ทั่วโลกขาดแคลนแรงงานถึง 2.72 ล้านคน และ 85% ของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยโลกไซเบอร์เชื่อว่าการขาดแคลนแรงงานกำลังส่งผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการรักษาระบบข้อมูลและเครือข่ายที่ซับซ้อนไว้ให้ปลอดภัยได้

ในปีนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (NCSA) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กับหัวเว่ย เพื่อเสริมทักษะด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้บุคลากรไอทีของไทย ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ E-Lab กิจกรรมการแข่งขัน และการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ ของหัวเว่ย นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติจัดการแข่งขัน “Thailand Cyber Top Talent 2022” ซึ่งเป็นการแข่งขันที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่บุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลในประเทศไทย รวมถึงในกลุ่มเยาวชน ข้าราชการ และพนักงานในองค์กรต่างๆ

หัวเว่ยยังได้เปิดตัว ASEAN Academy ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ออกแบบมาเพื่อลดความแตกต่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานด้านบุคลากรไอซีที โดยได้ร่วมมือกับรัฐบาล หน่วยงานกำกับดูแล องค์กรในภาคอุตสาหกรรม และผู้เชี่ยวชาญระดับสูง เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมไอซีที โดยหัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่า 200 แห่งในอาเซียน เพื่อพัฒนาระบบหลักสูตรสำหรับตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การฝึกปฏิบัติ และการสร้างการรับรองมาตรฐานสำหรับมหาวิทยาลัย ส่งผลให้เกิดห่วงโซ่อุปทานของผู้มีความสามารถด้านไอซีทีอย่างแข็งแกร่งกว่า 4,000 คนใน 12 ประเทศ ครอบคลุมทั้งกระบวนการการเรียนรู้ การรับรองมาตรฐาน และการจ้างงานทั้งหมดผ่านการกระชับความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ

ปัจจุบัน หัวเว่ยกำลังมองถึงอนาคตที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากยิ่งขึ้น มีความอัจฉริยะยิ่งขึ่น และยั่งยืนยิ่งขึ้น การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นแรงผลักดันสำคัญสำหรับอนาคต แต่บุคลากรดิจิทัลถือเป็นกุญแจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืนที่แท้จริง การสร้างอีโคซิสเต็มในด้านบุคลากรดิจิทัลเพื่อรองรับยุคใหม่ จำเป็นต้องใช้ความพยายามและความร่วมมือจากทั้งภาครัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความพยายามเหล่านี้ผ่านการยกระดับทักษะแรงงานไทยและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสำคัญในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาบุคลากร

Scroll to Top