Huawei เดินหน้าสนับสนุนประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน จับมือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ม.ไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (BUPT) บ่มเพาะนักพัฒนาระบบคลาวด์ ผ่านเวที “Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition” กระตุ้นนวัตกรรม พร้อมดันนโยบาย Cloud-First และ AI ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (BUPT) เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) โดยมุ่งเน้นที่การสร้างนักพัฒนาระบบคลาวด์รุ่นใหม่ ตอกย้ำวิสัยทัศน์ในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียน
ความร่วมมือดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ในงาน “Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2568 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน ประกอบด้วยผู้นำในอุตสาหกรรม นักพัฒนา และนักวิชาการจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อร่วมกันสร้างแรงบันดาลใจด้านนวัตกรรม และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม
จุดประกายอนาคต: “Spark Infinity: Innovate Today, Transform Tomorrow”
งาน “Asia Pacific Cloud AI Forum” จัดขึ้นภายใต้ธีม “Spark Infinity: Innovate Today, Transform Tomorrow” โดยเน้นนำเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งการบรรยายพิเศษจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ การจัดแสดงโซลูชันล้ำสมัย และการเสวนาเชิงลึก
ไฮไลท์สำคัญของงานคือ การแข่งขัน “Huawei Developer Competition” ซึ่งมีทีมเข้าร่วมประชันฝีมือเกือบ 200 ทีม คิดเป็นจำนวนผู้เข้าแข่งขันกว่า 600 คน โดยผู้เข้าแข่งขันได้ใช้ระบบนิเวศที่ครอบคลุมของหัวเว่ย เช่น API Explorer, CodeArts, ModelArts และ DataArts Studio ในการพัฒนาโซลูชันเพื่อแก้ไขปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง โดยโจทย์การแข่งขันมุ่งเน้นที่ความคิดสร้างสรรค์ ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค และนวัตกรรมในหลากหลายด้าน เช่น โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI เทคโนโลยีที่ยั่งยืน การเร่งการนำ AI มาใช้บนระบบคลาวด์ และการพัฒนาเครือข่ายนักพัฒนาระบบที่แข็งแกร่ง
สนับสนุนนโยบาย Cloud-First และ AI ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “Asia Pacific Cloud AI Forum เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้าน AI และนวัตกรรมดิจิทัล หัวเว่ยสนับสนุนนโยบาย ‘การใช้คลาวด์เป็นหลัก’ (Cloud-First Policy) และ ‘ปัญญาประดิษฐ์’ (AI) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ”
หัวเว่ยมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบาย Cloud-First และ AI ของรัฐบาล โดยนำเสนอเทคโนโลยีคลาวด์ที่ล้ำสมัย แพลตฟอร์ม AI และโครงการฝึกอบรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศดิจิทัลของประเทศไทย โดยนโยบาย Cloud-First มุ่งส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐใช้บริการคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และยกระดับการให้บริการประชาชน ขณะที่แผนยุทธศาสตร์ AI Thailand (2565-2570) มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศที่บูรณาการ AI ในทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
มุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรดิจิทัล สร้าง “สถาปนิกแห่งยุคอัจฉริยะ”
“หัวเว่ยเชื่อมั่นว่า นักพัฒนา คือ สถาปนิกแห่งยุคอัจฉริยะ ความคิด โค้ด และแรงผลักดันของพวกเขา คือ จุดเริ่มต้นของนวัตกรรม” ดร.ชวพล กล่าว “ในฐานะองค์กรที่มุ่งมั่นสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้พัฒนาบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทยเกือบ 100,000 คน รวมถึงนักพัฒนา AI บนระบบคลาวด์ขั้นสูงเกือบ 12,000 คน โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่า 50 แห่งผ่านโครงการ ICT Academy เช่น การแข่งขัน โครงการฝึกอบรม การฝึกงาน และการให้คำปรึกษาทางเทคนิค เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร และสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับการเติบโตและนวัตกรรมในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังหัวเว่ย พัฒนานักศึกษาสู่ยุคดิจิทัล
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวเว่ยในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลที่ประเทศไทยต้องการ เพื่อก้าวไปข้างหน้าในยุคอัจฉริยะ การทำงานร่วมกับผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่างหัวเว่ย ช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศได้ดียิ่งขึ้น”
BUPT แบ่งปันประสบการณ์ เตรียมความพร้อมบุคลากรสู่ยุคอัจฉริยะ
มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (BUPT) หนึ่งในสถาบันร่วมก่อตั้ง “Huawei Academy” ได้แบ่งปันประสบการณ์ปฏิบัติงานจริงจาก 3 มิติสำคัญ ได้แก่ การบูรณาการอุตสาหกรรมและการศึกษา การศึกษาอัจฉริยะ และการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล “ในฐานะศูนย์ฝึกอบรมสำคัญสำหรับบุคลากรด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและแหล่งนวัตกรรมเทคโนโลยีไอซีที BUPT มุ่งมั่นในการสำรวจโมเดลความร่วมมือใหม่ๆ กับภาคเอกชน และได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ในการสร้างแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น UNTES Future Learning Center ซึ่งมุ่งเน้นการเตรียมพร้อมบุคลากรสำหรับยุคอัจฉริยะ” หวัง เหยา ผู้อำนวยการสำนักงานระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง กล่าว
นวัตกรรมจาก HUAWEI CLOUD ตอบโจทย์ปัญหาสังคม
ในงาน “Asia Pacific Cloud AI Forum” ทีมผู้ชนะการแข่งขัน “Huawei Developer Competition” ได้นำเสนอ กรณีศึกษาที่น่าสนใจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแพลตฟอร์ม HUAWEI CLOUD ในการพัฒนา นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง เช่น ระบบเสริมการบำบัดการพูดทางไกลโดยใช้เทคโนโลยี AI เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางภาษา และระบบการจัดการอาคารอัจฉริยะแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการบริหารจัดการอาคาร
Job Fair เปิดโอกาส เชื่อมโยง นักพัฒนารุ่นใหม่สู่ตลาดแรงงาน
นอกจากนี้ หัวเว่ยและพันธมิตรทางธุรกิจจากประเทศไทยกว่า 10 ราย ได้จัดงาน Job Fair เพื่อเป็นแพลตฟอร์มให้องค์กรชั้นนำได้พบปะและคัดเลือกนักพัฒนาและนักศึกษาที่มีความสามารถ ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสในการทำงาน และเสริมสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมให้มีความคล่องตัวและยั่งยืน
รางวัลและโอกาส สำหรับนักพัฒนาผู้ชนะ
ทีมที่ชนะการแข่งขัน “Huawei Developer Competition” จะได้รับรางวัลรวมมูลค่า 34,000 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมรับการฝึกอบรมทางเทคนิคที่มุ่งเน้นด้าน HUAWEI CLOUD และโอกาสในการร่วมมือกับหัวเว่ยในโครงการต่างๆ ในอนาคต ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการพัฒนาบุคลากร ด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้
–ม.รังสิต มอบทุนการศึกษาในโอกาสครบรอบ 40 ปี “Future Change Agent”