มีคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้นอีกถึงร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 2568 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ กำลังเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายเศรษฐกิจดิจิทัลให้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 2573 อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลวิจัยในปีที่ผ่านมาของอินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น (ไอดีซี) (IDC) ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีความคล่องตัวทางดิจิทัลอยู่ในลำดับรั้งท้ายเพื่อลดช่องว่างดังกล่าว ซีแอค (SEAC) และสถาบัน เซ็นเตอร์ ฟอร์ ครีเอทีฟ ลีดเดอร์ชิพ หรือ ซีซีแอล (Center for Creative Leadership (CCL)) จึงได้ร่วมมือกัน เพื่อเร่งพัฒนาความคล่องตัวทางดิจิทัลให้กับผู้นำองค์กรไทย
SEAC และ CCL เปิดตัว โครงการวิจัย “ความพร้อมเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในประเทศไทย – Digital Leadership Readiness in Thailand” โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำความเข้าใจมุมมองของผู้บริหารที่มีต่อความพร้อมในการนำองค์กรสู่ความเป็นดิจิทัล องค์กรธุรกิจที่เข้าร่วมในการวิจัยนี้จะมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลเชิงลึกของบริษัท ซึ่งรวมถึงการวินิจฉัยสภาพองค์กรและเกณฑ์มาตรฐานความพร้อมในการเป็นผู้นำทางดิจิทัล และข้อเสนอแนะต่างๆ จาก SEAC และ CCL
–insKru พบสภาวะแวดล้อมทางสังคมในโรงเรียน ไม่เอื้อพัฒนาครู กระทบตรงที่นักเรียน
SEAC และ CCL จะนำข้อมูลเชิงลึกด้านการวิจัย มาร่วมกันสร้างหลักสูตรการพัฒนาความคล่องตัวทางดิจิทัล ให้แก่ องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย โดยจะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวให้ทราบเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต และจะมีการเชิญองค์กรที่เข้าร่วมในการวิจัย เข้าร่วมโครงการนำร่องของหลักสูตรดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษ
ผู้นำองค์กรไทยจะได้รับประโยชน์จากหลักสูตรการพัฒนาความคล่องตัวทางดิจิทัลนี้ ซึ่งพัฒนามาจากการผนึกจุดแข็งของทั้งสององค์กร ทั้งในเรื่องความแม่นยำละเอียดถี่ถ้วนในการทำวิจัยด้านความเป็นผู้นำ รวมถึงความเป็นเลิศทางเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นผู้นำที่ได้รับรางวัลการันตี และแนวปฏิบัติใหม่ๆ ของ CCL ผนวกกับความเชี่ยวชาญของ SEAC ที่มีความเข้าใจตลาดในประเทศไทยอย่างแท้จริง
SEAC ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาบุคคลและองค์กร ที่จุดประกายให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนองค์กรธุรกิจในประเทศไทย ให้ประสบความสำเร็จในการปรับตัวเข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เพื่อสร้างนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพพร้อมกับพัฒนารูปแบบการทำงานหรือเวิร์กโฟลว์ส (Workflows) ในโลกการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid) ให้ดียิ่งขึ้น SEAC หวังว่า ผู้นำองค์กรธุรกิจในไทยจะไม่หยุดเรียนรู้ และหมั่นเสริมขีดศักยภาพของตน ด้วยการฝึกฝนทักษะและความรู้ความชำนาญการที่เท่าทันกับยุคสมัย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา SEAC ได้มีส่วนสนับสนุนให้องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนของไทยหลายแห่งเติบโต และประสบความสำเร็จในการสร้างศักยภาพทางดิจิทัล ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร SEAC มีหลักสูตรประกาศนียบัตรมากกว่า 30 หลักสูตร ที่พัฒนาร่วมกับพันธมิตรด้านการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลชั้นนำระดับโลก และหลักสูตรอื่นๆ อีกมากมายที่พัฒนาความเป็นผู้นำและทักษะวิชาชีวิต (Soft Skills)
Diana Khaitova หัวหน้าฝ่ายพัฒนาลูกค้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของ Center for Creative Leadership หรือ CCL กล่าวว่า “ในช่วงสองปีที่ผ่านมา โควิด-19 ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เกิดความคล่องตัวทางดิจิทัลมากขึ้นในองค์กรและในหมู่พนักงาน งานวิจัยล่าสุดของ CCL ว่าด้วยเรื่อง “ระบบการทำงานยุค 3.0 ความเป็นผู้นำแบบคิดใหม่ ทำใหม่ ในโลกการทำงานแบบผสมผสาน – WORK 3.0: Reimagining Leadership in a Hybrid World” แสดงให้เห็นว่า องค์กรจะยังคงใช้ระบบจัดการงานแบบใหม่ต่อไป ผู้บริหารรวมทั้งองค์กรจำเป็นต้องปรับตัวรับมือกับรูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน รวมถึงความคาดหวังต่างๆ ตัวช่วยและอุปสรรคนานาชนิด ทาง CCL มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะนำความเชี่ยวชาญระดับโลกด้านการพัฒนาความเป็นผู้นำ และการเป็นพันธมิตรกับ SEAC มาสนับสนุนผู้บริหารไทยในการเตรียมพร้อมรับมือกับระบบการทำงานยุค 3.0 (WORK 3.0) และยุคต่อไปข้างหน้าได้อย่างประสบความสำเร็จ”
อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง SEAC กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “ลูกค้าบอกกับเราว่า เรื่องท้าทายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและเร่งด่วนที่สุดในตอนนี้ คือการสร้างศักยภาพทางดิจิทัล เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมงานกับพันธมิตรระดับโลกอย่าง CCL เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจในประเทศไทยรู้ว่า ความสามารถในการสร้างความเป็นดิจิทัลผ่านความเป็นผู้นำของตนอยู่ในระดับใด และมอบโซลูชั่นที่ร่วมพัฒนากับ CCL ที่ลูกค้าจะนำไปใช้งานได้จริง เราภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามที่จะยกระดับศักยภาพของผู้นำองค์กรไทย ผ่านหลักสูตรความคล่องตัวทางดิจิทัลที่ร่วมกันพัฒนาขึ้น SEAC มุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการผลักดันโครงการนี้ให้ประสบความสำเร็จ และเป็นส่วนหนึ่งของก้าวสำคัญที่จะผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลภายในปี พ.ศ. 2573”