รู้จัก ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ กับแนวคิดเตรียมพร้อม-โอกาส-อนาคต

รู้จัก ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ กับแนวคิดเตรียมพร้อม-โอกาส-อนาคต

ชีวิตคนเรามีหลายครั้งที่โอกาสมาถึงเรา แต่เราก็คว้าโอกาสนั้นไม่ได้ เพราะว่าเราไม่พร้อม ในเมื่อเราไม่รู้ว่าโอกาสดีๆจะเข้ามาในชีวิตเราเมื่อไหร่ สิ่งที่เราควรจะทำคือการเตรียมความพร้อมที่จะรับโอกาสนั้นเมื่อถึงเวลา เพื่อก้าวสู่อนาคตที่เจริญก้าวหน้าต่อไป การเตรียมความพร้อมที่ดีที่สุดคือ”การศึกษาหาความรู้” นี่คือแนวความคิดของผู้ชายคนนี้ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ (ดร.ปอน) เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แต่ก่อนที่จะไปถอดเทปคุยกับแนวคิดนี้ เรามาทำความรู้จักตัวตนของดร.ปอน กันก่อน

ประวัติ ดร.ปอน ดนุช ตันเทอดทิตย์

  • ดร.ปอน ชื่อจริง ดนุช ตันเทอดทิตย์
  • เกิดวันที่ 18 สิงหาคม 2507 (ปัจจุบันอายุ 59 ปี)
  • ภูมิลำเนา จังหวัดอุดรธานี
  • จบการศึกษา
  • ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์บัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโท California State University , Bakersfield สาขา การตลาด
  • ปริญญาเอก ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ผมโชคดีที่ครอบครัวให้โอกาสผมได้ทำในสิ่งที่ผมอยากทำ

ใจความสำคัญแรกๆ ที่เริ่มต้นบทสนทนากับดร.ปอนในฐานะหัวหน้าพรรครวมพลัง ซึ่ง ดร.ดนุช หรือ ดร.ปอน เล่าให้ฟังว่า ตนเองโตมากับบ้านที่เป็นครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน มีพี่น้องทั้งหมด 12 คน ตนเองเป็นคนสุดท้อง คุณพ่อถึงแก่กรรมตั้งแต่เขาอายุได้เพียง 2 ขวบ คุณแม่และพี่ๆต้องดูแลกันเองมาโดยตลอด โดยตนเองเริ่มเข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ ป .5 ภายในรั้วกรุงเทพคริสเตียนหลังจากนั้นก็เข้าศึกษาต่อที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพราะตั้งแต่เด็กเป็นคนสนใจเรื่องของดวงดาวจึงมีความฝันอยากเป็นนักดาราศาสตร์ แต่แล้วจุดหักเหในชีวิตก็เปลี่ยนแปลง เพราะตนเองเรียนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เพียง2ปี ก็ต้องมีเหตุให้มีความจำเป็นต้องสอบเอนทรานซ์อีกครั้ง และเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีอีกรอบในรั้วธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์ สาขาการตลาด

Bitkub จับมือ สจล. พัฒนาหลักสูตรการอบรมเทคโนโลยียุคดิจิทัล

“ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นจุดเริ่มต้นที่ผมได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมนักศึกษาที่องค์การนักศึกษา ได้ร่วมกับเพื่อนๆทำกิจกรรมเพื่อสังคม ทำให้ผมได้มีมุมมองทางสังคมที่กว้างขวางขึ้น ผมได้มีโอกาสครั้งสำคัญในการไปทำงานร่วมกับ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล โดยเริ่มเขียนบทความลงในนิตยสารผู้จัดการรายเดือน ก่อนที่จะไปเรียนต่อทางด้าน MBA ที่ California State University, Bakersfield”

และหลังจากเรียนจบคุณแม่ไม่สบาย ต้องไปดูแลคุณแม่ที่อุดร จึงได้โอกาสทำกิจการส่วนตัวด้วย การเปิดโรงเรียนสอนภาษา ในปี 2539 โรงเรียนเอกชนชื่อว่า โรงเรียนพัฒนาปัญญา ในปี 2550 โรงเรียนอนุบาลพร้อมพัฒน์ ในปี2554 และโรงเรียนทวิพัฒน์ ในปี 2558 เรียกว่าผมคลุกคลีกับวงการการศึกษา มากพอสมควร เพราะผมมองว่า การศึกษาคือพื้นฐานในการสร้างคน สร้างแรงงาน ที่มีคุณภาพ ที่สำคัญคือ การพัฒนาไม่ใช่แต่ความรู้แต่ต้องมีปัญญาซึ่งก็คือความรู้ถูกรู้ผิด รู้ว่าอะไรควรทำและอะไรไม่ควรทำ

พูดคุยมาสักพักเราได้รู้จัก ดร. ปอน และแนวคิดพอสมควรดังนั้นจึงอยากรู้ว่าช่วงเวลาว่างจากการทำงานของดร.ปอนนั้นสนใจหรือชื่นชอบอะไรเป็นพิเศษ

ชีวิตคือการเรียนรู้ ดูและฟัง

ประโยคดีๆ ที่น่าสนใจจากดร.ปอน ที่เล่าว่าก่อนจะมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีและเลขานุการรัฐมนตรี ตนเองบริหารโรงเรียนอยู่ 3 แห่ง ที่ทำโรงเรียน เพราะเชื่อว่าการศึกษาคือการสร้างความพร้อมให้คน ด้วยการศึกษา พัฒนาตนเองด้วยสติปัญญา รู้ถูก – รู้ผิด เมื่อโอกาสมาถึง เราก็จะพร้อมที่จะรับเอาโอกาสนั้นไว้ เพื่อก้าวสู่อนาคตที่ดีต่อไป

“ในช่วงเวลาที่มาดำรงตำแหน่ง ในกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ตารางการทำงาน จะไม่มีวันหยุดเสาร์อาทิตย์ แต่เมื่อเราได้ ทำงานในสิ่งที่เราชอบ เราก็ไม่ได้รู้สึกว่า เป็นการทำงานที่ต้องบังคับตัวเอง ผมเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ เรียนรู้จากการทำงาน โดยเฉพาะการดูและการฟัง ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่ไปในพื้นที่ต่างๆผมได้ทำงานกับคนเก่งๆในกระทรวงและในพื้นที่ต่างๆ ผมได้เรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน”

“หรือ ถ้าสามารถจัดการตารางการทำงานได้ ผมก็จะหาเวลา 3 วันถึง 10 วันในการเข้าคอร์สนั่งสมาธิวิปัสสนา และไปวัด โบราณสถาน ไปกราบไหว้แสดงความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เยี่ยมชมศิลปะ ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ของสถานที่ต่างๆที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย ทำให้ ความรักต่อประเทศชาติที่มี มีมากยิ่งขึ้น ภูมิใจที่ได้เป็นคนไทย เคารพยกย่องต่อบรรพบุรุษของเรา”

เมื่อเกษียณจะทำอะไร

“ถ้าจะถามผมในวัยเกษียณ ณ เวลานี้ผมไม่ได้คิดว่าผมจะอยู่ในวัยเกษียณ แม้ว่าผมจะอายุ 59 ปีแล้ว ผมยังคงสามารถทำงานได้ ไปในที่ต่างๆได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่น้องประชาชน อย่างน้อยผมจะร่วมพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับตำบล ที่ผมคิดว่าการพัฒนาตำบลคือคำตอบของประเทศ ถ้าเราสามารถสร้างคุณค่าจากอัตลักษณ์ จากบริบทของแต่ละตำบล ทำให้มีมูลค่า ก็จะทำให้ นำไปสู่การพัฒนา ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และไปสู่ระดับประเทศในที่สุด”

ผมมีความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยที่ดีขึ้นมาตลอดจะดีขึ้นต่อไป ผมศรัทธาในความดีงาม และจะตั้งใจ คิดดี-ทำดีต่อไป

Scroll to Top