ส.วิศวกรรมเคมีฯ จับมือบริษัทชั้นนำ ลุยภารกิจลดคาร์บอน รับยุทธศาสตร์ BCG

ส.วิศวกรรมเคมีฯ จับมือบริษัทชั้นนำ ลุยภารกิจลดคาร์บอน รับยุทธศาสตร์ BCG

สมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย หรือทีเช่ (TIChE) เดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมเคมีไทย มุ่งสู่ความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืน และ พัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยทางด้านเทคโนโลยี อาทิ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เทคโนโลยีดิจิตอล เทคโนโลยีความปลอดภัย เทคโนโลยีพลังงาน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ พร้อมเดินหน้าเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับภาคส่วนต่างๆ การเพิ่มฐานและเครือข่ายของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ การเปิดพื้นที่ในการนำเสนอเทคโนโลยีที่ทันสมัย นำไปใช้ได้จริง การกระจายองค์ความรู้ ให้กับภาคส่วนเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา และการสร้างเครือข่ายทางด้านวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์ในทุกระดับ

นอกจากนี้ยังเตรียมผนึกกำลัง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) – GC และ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) – SCGC จัดงานมหกรรมนิทรรศการงานประชุมวิชาการด้านวิศวกรรมเคมีและเทคโนโลยีเคมีครั้งยิ่งใหญ่ ประจำปี 2565 หรือ “1st Thailand National Chemical Engineering & Chemical Technology: TNChE 2022” ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายในการนำเสนอเทคโนโลยีระดับโลก เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ และรวบรวมเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 7 – 10 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก TIChE

เจาะลึกธุรกิจยางพารา: ทำไมที่นอนยางพาราไทย กลายเป็นสินค้ายอดนิยมในตลาดจีน
ไทยพาณิชย์ โพรเทค – สมิติเวช รุกตลาดสุขภาพสตรี ออกโปรแกรมตรวจสุขภาพพร้อมรับประกันคุ้มครองมะเร็ง

สุรเชษฐ์ ชโลธร นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย หรือทีเช่ (TIChE) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเคมีเป็นภาคส่วนที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งมีผลกระทบในมิติต่าง ๆ ต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน ทั้งนี้ ทิศทางการแข่งขันและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีในปัจจุบันนอกจากการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และต้นทุนที่แข่งขันได้ ด้วยทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดแล้ว ยังต้องพัฒนาให้สอดรับกับวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในประเด็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อย่างเป็นระบบ รวมถึงการลงทุนในด้านเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรื่องเหล่านี้ยังสอดคล้องกับเป้าหมายของนานาประเทศที่กำลังขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง

“ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมเคมียังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากการลงทุนของภาคเอกชน ความสนใจของนักลงทุนที่เข้าลงทุนในหุ้น รวมทั้งอุปสงค์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงมีความเติบโตอย่างมากต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นวาระที่ค่อนข้างเร่งด่วนขณะนี้คือการยกระดับให้อุตสาหกรรมดังกล่าวเติบโตได้แบบยั่งยืน และแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ โดยที่ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม และจากเป้าหมายดังกล่าวสมาคมฯ จึงได้วางทิศทางร่วมพัฒนากับภาคส่วนต่าง ๆ ไว้ดังนี้”

-สร้างเครือข่ายนักเทคโนโลยีและผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ในด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมเคมี ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย BCG ของชาติ ตลอดจนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีไปสู่ NET ZERO ซึ่งมีอยู่ในกฎหมายกว่า 120 ประเทศ และรับกับที่ทั่วโลกตกลงร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายในการรับมือกับการเปลี่ยนภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้มูลค่าทางอุตสาหกรรมดังกล่าวเติบโตควบคู่ไปกับคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม

-การเปิดพื้นที่ในการนำเสนอเทคโนโลยีทันสมัยและนำไปใช้ได้จริง โดยเฉพาะที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของธุรกิจ เพื่อให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องสามารถนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจของประเทศ

-การกระจายองค์ความรู้ และ เทคโนโลยี ให้กับภาคส่วนเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึง องค์ความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคนิคจากภาคธุรกิจที่เชี่ยวชาญ และองค์ความรู้จากนานาประเทศ เพื่อให้แต่ละภาคส่วนสามารถนำไปใช้ได้ในการวางกลยุทธ์ กำหนดแผนงานที่บูรณาการสอดคล้องกัน

-การสร้างเครือข่ายในด้านวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์ในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ทางด้านวิศวกรรมเคมี และ เคมีประยุกต์ พัฒนาขีดความสามารถทางด้านวิชาชีพของประเทศไทยให้มีความเป็นผู้นำ เพิ่มโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ และส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ปัญหาของประเทศ

สุรเชษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้วยกระแสเมกะเทรนด์โลกในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเคมีของประเทศไทย ล่าสุดจึงได้จัดตั้งนิทรรศการงานประชุมด้านวิศวกรรมเคมีและเทคโนโลยีเคมี TNChE 2022 ภายใต้ความร่วมมือกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ที่เชี่ยวชาญธุรกิจด้านปิโตรเคมี และเป็นหนึ่งในผู้นำนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ครบวงจร เพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพให้บรรดาวิศวกรเคมีและผู้ที่สนใจได้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกในเรื่องนวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องทางเคมีภัณฑ์

อีกทั้งยังเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทางวิศวกรรมเคมีได้พบปะ และต่อยอดการสร้างเครือข่ายกับนักเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญในวงการ รวมถึงผู้ประกอบการระดับนานาชาติที่จะนำเทคโนโลยี และ นวัตกรรม มาจัดแสดงภายในงาน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปผ่านเว็บไซต์ www.tiche.org

สำหรับนิทรรศการงานประชุม “Thailand National Chemical Engineering & Chemical Technology” หรือ TNChE 2022 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7 – 10 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี ซึ่งถือเป็นการหลอมรวมการสร้างเครือข่ายวิศวกรเคมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

โดยภายในงานจะมีการจัดสัมมนาในหัวข้อมิติการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมเคมี เทคโนโลยีดิจิตอล เทคโนโลยีความปลอดภัย เทคโนโลยีพลังงาน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เป็นประธานกิตติมศักดิ์ในการจัดการนิทรรศการงานประชุมในครั้งยิ่งใหญ่นี้ และรับฟังการบรรยายจาก คุณฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหารกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย, ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงศาสตราจารย์และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศทั้ง สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคอุตสาหกรรมของไทยอีกมากมาย โดยสามารถรับชมผ่านทางแฟลตฟอร์มออนไลน์ ได้อีกด้วย

พร้อมกันนี้ในงานยังมีการจัดแสดงบูธแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรม สินค้าไฮเทค จากมากกว่า 40 บริษัทชั้นนำ รวมถึงหลักสูตรพัฒนาทักษะทางวิศวกรรมเคมีพิเศษ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิชาชีพและความรู้เฉพาะทางที่หาไม่ได้ในตำรา ในห้องเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 4 คอร์สให้เลือกสรร โดยผู้เข้าอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร เพื่อนำไปใช้ในการปรับระดับวิชาชีพวิศวกรรม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://tiche.org/tnche2022_2/traning/

Related Posts

Scroll to Top