Energy

BPP ประกาศตั้งคณะกรรมการ ESG เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP จัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance: ESG) ชูกลยุทธ์ Triple E “Ecosystem, Excellence และ ESG” ตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 พร้อมสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และสร้างคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

ปตท. x เบิร์ด-ธงไชย อิ้งค์-วรันธร ฉลอง 45 ปี มอบเพลงพิเศษ “เธอคือพลังของฉัน” แทนคำขอบคุณ พร้อมจุดพลังความสุขให้คนไทย

ดร.กิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการ ESG ในครั้งนี้ว่า ปัจจุบันหลายอุตสาหกรรมตื่นตัวด้าน ESG กันมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญคือสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายองค์กรหันมาลดการปล่อยคาร์บอนโดยเฉพาะจากภาคการผลิต สำหรับ บ้านปู เพาเวอร์ นั้นมีความเชื่อว่าการทำธุรกิจพลังงานในอนาคต ความมั่นคงด้านพลังงาน (Energy Security) เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าวิกฤติโควิด หรือความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์

บ้านปู เพาเวอร์ ใช้กลยุทธ์ Triple E คือ

  • Ecosystem มุ่งสร้าง Greener & Smarter ผ่านการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่เป็นพลังงานหมุนเวียน
  • Excellence ต้องผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพ ต้นทุนต่ำ และตรงกับความต้องการของลูกค้า
  • ESG การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับหลักความยั่งยืน ทั้งด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบริหารจัดการด้านความโปร่งใส

และจากหลักการดังกล่าว บ้านปู เพาเวอร์ จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการ ESG ขึ้นมา โดยได้ ศาสตราจารย์ ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ เข้ามาเป็นประธาน

โดย ศาสตราจารย์ ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ กรรมการอิสระ ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมา บ้านปู เพาเวอร์ สื่อสารกับชุมชนเยอะมาก ไม่ว่าจะไปลงทุนที่ใดก็จะผลิตพลังงานที่มีคุณภาพกับชุมชนนั้นๆ ซึ่งการดำเนินงานจะต้องต่อเนื่อง และไดนามิก เพราะบริษัททำธุรกิจอยู่ใน 8 ประเทศ และแต่ละประเทศมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนั้น องค์กรจะต้องประเมินตัวเองตลอดเวลา ซึ่งคณะกรรมการในส่วนนี้จะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืน

“การทำงานในครั้งนี้มีความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะต้องตอบโจทย์ความคาดหวังของนักลงทุน ขณะเดียวกันต้องรับมือกับการผันแปรของปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็น สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป สภาพเศรษฐกิจ การโจมตีทางไซเบอร์ โรคระบาด หรือความเปลี่ยนแปลงทางสังคม นอกจากนี้ยังต้องทำงานให้สอดคล้องกับความตื่นตัวของ ESG ด้วย ซึ่งถึงแม้วันนี้เราจะผ่านเกณฑ์ด้านคาร์บอนเครดิต แต่เรายังต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ” ศาสตราจารย์ ดร.พัชณิตา กล่าวเสริม

ด้าน ศนิชา ภิญโญชีพ หัวหน้าหน่วยงานการพัฒนาที่ยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง เลขานุการ คณะกรรมการ ESG บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า สำหรับเป้าหมายด้าน ESG ของ BPP ตอนนี้ บริษัทตั้งเป้าอยู่ 6 เป้าหมาย คือ

  • เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน >> สร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงการบริการพลังงานสมัยใหม่ที่เชื่อถือได้ ในราคาที่สามารถหาซื้อได้
  • เป้าหมายที่ 8 การสร้างงานที่มีคุณค่าและเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ >> ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย
  • เป้าหมายที่ 9 นวัตกรรมเพื่อพลังงานสะอาด
  • เป้าหมายที่ 12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน >> บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เป้าหมายที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุข ยุติธรรม สถาบันที่เข้มแข็ง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน >> ลดการทุจริตทุกรูปแบบ

โดยภาพรวมผลการดำเนินงานด้าน ESG แบ่งออกได้เป็นดังนี้

E การเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

  • BPP เร่งเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ทั้งการขยายพอร์ตธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และการใช้เทคโนโลยีในการผลิตขั้นสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency, Low Emissions: HELE) สำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน รวมไปถึงการขยายกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน ที่สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด นำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำและโลกที่ยั่งยืนขึ้น
  • กลุ่มธุรกิจผลิตพลังงาน มีการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี HELE ในโรงไฟฟ้าต่าง ๆ อาทิ
    • โรงไฟฟ้านาโกโซ (Nakoso IGCC) ในจังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้เทคโนโลยี Integrated Gasification Combined Cycle หรือ IGCC ที่ใช้เทคโนโลยีผสมผสานในการแปลงสถานะถ่านหินให้กลายเป็นก๊าซเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า ทำให้ลดปริมาณการใช้ถ่านหินลง
    • โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เทคโนโลยี Combined Cycled Gas Turbines หรือ CCGT ที่ผสมผสานกระบวนการทำงานของ Gas Turbine (กังหันก๊าซ) กับ Steam Turbine (กังหันไอน้ำ) เข้าไว้ด้วยกัน พร้อมกับมีระบบการจัดการน้ำทิ้งจนเกือบเป็นศูนย์ นับเป็นโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะกับสภาพการแข่งขันในตลาด Electric Reliability Council of Texas (ERCOT) ที่มีการซื้อขายไฟฟ้าแบบเสรี
    • โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (CHP) ทั้ง 3 แห่งที่จีน ซึ่งได้ออกแบบกระบวนการผลิตไฟฟ้าให้ไม่มีน้ำเสียไหลออกจากระบบเพื่อลดการใช้ทรัพยากรน้ำในพื้นที่ และการนำน้ำมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพอากาศก่อนปล่อยออกจากปล่อง โดยคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกมาดีกว่าค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ได้รับการยอมรับและได้รับเงินสนับสนุนพิเศษจากรัฐบาลจีน จากการเป็นโรงไฟฟ้าที่สามารถควบคุมคุณภาพอากาศได้อย่างดีเยี่ยม
    • โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี (BLCP) ประเทศไทย มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด JERA Co., Inc.  Mitsubishi Corporation และ Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำแอมโมเนียมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผสมในงานปฏิบัติการที่โรงไฟฟ้าฯ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน BPP ขยายกลุ่มธุรกิจนี้ผ่านการลงทุนของ บ้านปู เน็กซ์ (Banpu NEXT) โดยการให้บริการโซลูชันพลังงานฉลาดเพื่อความยั่งยืนแบบครบวงจร (Total Smart Energy Solutions) ที่ตอบโจทย์ความต้องการและทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และการจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
  • กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานดำเนินธุรกิจใน 5 กลุ่มคือ 1) ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาและทุ่นลอยน้ำ (Solar rooftop and floating) 2) ธุรกิจแบตเตอรี่ (Energy storage systems) 3) ธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า (Energy trading) 4) ธุรกิจอี-โมบิลิตี้ (E-mobility) 5) ธุรกิจพัฒนาเมืองอัจฉริยะและจัดการพลังงาน (Smart cities and energy management) มีความคืบหน้าล่าสุด อาทิ
    • การเพิ่มสัดส่วนการเข้าถือหุ้นในบริษัท ดูราเพาเวอร์ โฮลดิ้งส์ จํากัด (Durapower) จากร้อยละ 47.68 เป็น ร้อยละ 65.10 ด้วยเงินลงทุน 70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตของธุรกิจแบตเตอรี่ให้แข็งแกร่งมากขึ้น
    • การขยายธุรกิจระบบกักเก็บพลังงานในโครงการฟาร์มแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ กำลังการผลิต 58 เมกะวัตต์ ที่เมืองโตโนะ (Tono) จังหวัดอิวาเตะ (Iwate) ในประเทศญี่ปุ่น คาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2568
    • การลงทุนภายใต้ธุรกิจ e-Mobility ในโอยิกะ (Oyika) ผู้ให้บริการโซลูชันสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ซึ่งมีบริการครอบคลุมหลากหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“เราให้ความสำคัญกับด้านความปลอดภัยไซเบอร์อย่างมาก เรามีผู้บริหารที่เข้ามาประเมินด้านนี้โดยเฉพาะ มีการสุ่มส่งอีเมลฟิชชิ่งเพื่อทดสอบพนักงาน หรืออย่างในสหรัฐ เราจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลโดยเฉพาะ เพราะการทำงานนั้นเป็นออโตเมชันในทุกขั้นตอน” ดร.กิรณ กล่าวเสริม

S มองให้รอบ ให้กว้าง ดูว่าควรจะทำอะไร และลงมือทำงานจริง

  • การดำเนินธุรกิจใน 8 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทำให้ BPP เข้าใจประเด็นความละเอียดอ่อนที่หลากหลาย จนมีมาตรฐานการดำเนินงานด้านสังคมและชุมชนในระดับโลก (Global Standard) สามารถ มองกว้าง มองรอบ และไม่มองแค่ขั้นต่ำ แต่นำประสบการณ์และองค์ความรู้นั้นมาปรับใช้เลยในขั้นเสริมสร้าง” โดย tailor-made ให้เข้ากับการดำเนินงานด้านสังคมในแต่ละประเทศและชุมชนท้องถิ่น (Local community) ทั้งการดูแลพนักงานขององค์กรและการอยู่ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น BPP บูรณาการองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลก เข้ากับความต้องการหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น จนเกิดเป็นแผนงานเฉพาะสำหรับพื้นที่นั้น ๆ ทำให้สังคมพัฒนาไปพร้อมกับธุรกิจของบริษัทฯ
  • การดำเนินงานด้านสังคมเพื่อตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
    • ภายในองค์กร ความมุ่งหมายคือให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการทำงาน เพื่อให้บุคลากรมีการเติบโตและพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ จึงมีการอบรมและพัฒนาพนักงาน (Training and Development Policy) ในหลากหลายรูปแบบ

เนื่องจากบุคลากรของ BPP มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและต่างวัฒนธรรมตาม 8 ประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ  BPP จึงมีวัฒนธรรมองค์กรบ้านปู ฮาร์ท (Banpu Heart) ที่แข็งแกร่งซึ่งเชื่อมโยงและหลอมรวมพนักงานเข้าด้วยกัน และให้มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันคือการส่งมอบพลังงานที่ยั่งยืนให้โลกใบนี้ 

  • ภายนอกองค์กร ความมุ่งหมายคือ การพัฒนามาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนโดยรอบให้ดีขึ้น บริษัทฯ จึงยึดมั่นในการเป็นพลเมืองดีในทุกพื้นที่ที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ การส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และการสนับสนุนการจ้างงานเพื่อทำงานในโรงไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนโยบายตรวจสุขภาพให้แก่คนในชุมชนตั้งแต่ก่อนเริ่มก่อตั้งโรงไฟฟ้าและทำอย่างต่อเนื่อง มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถเกิดการติดตามผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

G ใช้คณะกรรมการอิสระทั้งหมด 5 จาก 10 ท่าน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน

  • ในการบริหารจัดการภายในในภาพรวมของทั้งองค์กร กรรมการอิสระจำนวน 5 ท่าน จากคณะกรรมการบริษัทรวมทั้งหมด 10 ท่านของ BPP จะทำหน้าที่สนับสนุนนโยบายต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น หรือคัดค้านเมื่อเกิดการตัดสินใจที่ไม่เป็นธรรม
  • การจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลแบบดิจิทัล (Digitalization) เพิ่มความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
  • BPP เข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption: CAC)
  • การสื่อสารนโยบายการกำกับดูแลกิจการไปยังพนักงานในองค์กรทุกระดับด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การจัดการอบรมหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การจัดกิจกรรม Scale up your CG การให้พนักงานวัดระดับความรู้ด้าน CG ผ่านระบบ CG E-Learning & E-Testing และการจัดกิจกรรม CG Day

“เราอยากให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความมั่นใจ ว่าเราจะนำหลัก ESG เข้ามารวมอยู่ในการทำธุรกิจ พัฒนาคนของเราให้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม และสิ่งสำคัญคือ การสร้างสมดุลด้านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มค่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความมีเสถียรภาพ เพราะพลังงานยังคงเป็นพื้นฐานหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการมีคณะกรรมการ ESG จะช่วยให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้” ดร.กิรณ กล่าวสรุป

supersab

Recent Posts

Canon เปิดราคา V-Series ในรุ่น EOS R50 V และ PowerShot V1

แคนนอน (Canon) เปิดตัวกล้องซีรีส์ V ใหม่ล่าสุด 2 รุ่น ได้แก่ EOS R50 V และ PowerShot V1 ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของครีเอเตอร์รุ่นใหม่ที่กำลังมองหากล้องขนาดกะทัดรัด…

2 hours ago

Thailand Aims for Global Healthcare Hub Status: Roche & Medical Technology Council Unite to Elevate Lab Standards

Thailand is taking a significant step towards becoming a leading medical and wellness hub in…

2 hours ago

แล็บไทยพลิกโฉม! โรชผนึกสภาเทคนิคฯ ยกระดับมาตรฐาน สู่ศูนย์กลางการแพทย์โลก

ทะยานสู่ Medical Hub! โรช ไดแอกโนสติกส์ จับมือสภาเทคนิคการแพทย์ เสริมแกร่งห้องแล็บไทย ตั้งเป้า 150 แห่งเข้าร่วมโครงการ Lab Benchmarking 2025 พร้อมดันมาตรฐานสากล เพิ่มห้องแล็บรับรอง…

2 hours ago

ดีอี-ไปรษณีย์ไทย ผนึกกำลัง! ส่งด่วน EMS ผลไม้ทั่วไทย เริ่มต้น 60 บาท หนุนเกษตรกร กระจายผลผลิต 6.7 ล้านตัน

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกับ ไปรษณีย์ไทย เปิดตัวบริการ "EMS ส่งด่วนผลไม้" ในอัตราค่าบริการสุดพิเศษ เริ่มต้นเพียง 3 กิโลกรัม 60 บาททั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนเกษตรกรไทยในการกระจายผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้สดใหม่…

3 hours ago

“Market Place เทพรักษ์” เปิดแล้ว ดึงแบรนด์ดังกว่า 360 ร้านค้า สร้างศูนย์กลางไลฟ์สไตล์ครบวงจร ตอบโจทย์คนเมืองยุคใหม่

"Market Place เทพรักษ์" เปิดตัวแล้ว! โมเดลใหม่ Community Mall ผสาน Urban Fresh Market ชู Neighbourhood-Centric ยึดใจกลางพหลฯ-วัชรพล ดึงแบรนด์ดังกว่า…

3 hours ago

กฟผ. – มูลนิธินายช่างไทย ใจอาสา เตรียมนำทีมวิศวกรและช่างอาสา กฟผ. ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงสร้างอาคารโรงเรียน สพฐ.

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะประธานมูลนิธินายช่างไทย ใจอาสา เผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ศูนย์กลางประเทศเมียนมา ส่งผลให้อาคารบ้านเรือนในหลายพื้นที่ของไทยได้รับความเสียหาย ประชาชนได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก รวมทั้งโรงเรียนภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กฟผ. จึงร่วมกับมูลนิธินายช่างไทย ใจอาสา…

7 hours ago

This website uses cookies.