CEO กลุ่มบริษัทบางจาก ร่วมเสวนา 1st Global Sustainability & Productivity Network Dialogue

CEO กลุ่มบริษัทบางจาก ร่วมเสวนา 1st Global Sustainability & Productivity Network Dialogue

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับเชิญร่วมเสวนาในหัวข้อ “Collaborative Approaches to Achieving SDGs: Case Studies and Lessons from Bilateral and Multilateral Cooperation” แบ่งปันประสบการณ์การดำเนินงานของบางจากฯ ในฐานะภาคเอกชนในงานเสวนา 1st Global Sustainability & Productivity Network Dialogue จัดโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติร่วมกับ Diplomatic Council & GEN THAILAND ณ อาคาร UNESCAP โดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ H.E. Paolo Dionisi เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย Mr. Michael Helleman ทูตพาณิชย์อาวุโสและอัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย และ ดร. เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)

GPSC แจงกำไร Q2/66 อยู่ที่ 309 ลบ. คาดครึ่งปีหลังแนวโน้มต้นทุนพลังงานลดลง ประกอบกับเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

ชัยวัฒน์ ได้กล่าวถึงการผสาน UNSDGs และ ESG เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจของบางจากฯ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด โดยบางจากฯ เป็นหนึ่งในองค์กรร่วมก่อตั้ง UN Global Compact Thailand เมื่อปี พ.ศ. 2559 นอกจากนี้ บางจากฯ ยังให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม และเป็นโรงกลั่นน้ำมันเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ Thailand Quality Award ประจำปี 2565

นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงแผนงาน BCP316 NET เพื่อบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งครอบคลุมการปรับปรุงประสิทธิภาพต่างๆ ในกระบวนการผลิต การลงทุนในนวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การดูดซับคาร์บอนด้วยธรรมชาติ การเพิ่มสัดส่วนธุรกิจสีเขียว การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) จากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว ซึ่งตอบโจทย์ทั้งในแง่โอกาสทางธุรกิจและการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการสร้างระบบนิเวศสำหรับสังคมคาร์บอนต่ำผ่าน Carbon Markets Club

ชัยวัฒน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกขึ้นอยู่กับพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมาเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดในทันทีจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แม้ว่าได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว พลังงานสะอาดในช่วงที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดโดยภาคธุรกิจไม่เพียงพอ บทบาทของภาครัฐมีความสำคัญที่จะเข้ามาสร้างแรงจูงใจ หรือกำหนดมาตรการเพื่อช่วยเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านของพลังงาน เช่นการสร้างมาตรฐานในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต

งานเสวนานี้จัดขึ้นเพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ร่วมหารือค้นหาทางออกในการต่อสู้กับวิกฤตโลกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ด้วยแนวทางการสร้างความยั่งยืน ปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มผลผลิต สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิผลสูงสุดและบรรลุผลสำเร็จ จากแบ่งปันความรู้ แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด โดยมีผู้ร่วมงานเสวนาจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกอัครราชทูตจากนานาประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มผลผลิต นักวิจัย นักวิชาการ และภาคประชาสังคม

Scroll to Top