สำหรับธนาคารพาณิชย์นั้น สถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังไม่เต็มที่และไม่ทั่วถึง ผนวกกับยังมีลูกหนี้ที่เคยขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน และยังอยู่ระหว่างการปรับตัวในช่วงของการเปลี่ยนผ่านนี้อีกจำนวนมากนั้น คงทำให้เผชิญแรงกดดันต่อการเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ออกไป ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินผลกระทบเบื้องต้นต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin: NIM) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ดังนี้
• สมการการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย มีผลกระทบโดยตรงต่อแนวโน้มส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระบบธนาคารไทย โดยเฉพาะในปี 2566 ทั้งนี้ ในภาวะปกติ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินให้กู้ยืมพร้อมๆกัน จะส่งผลบวกต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อประมาณ 55-70% ของสินเชื่อรวมทั้งหมดจะอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ขึ้นกับโครงสร้างพอร์ตสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง) จึงทำให้ได้รับประโยชน์ทันทีในไตรมาสที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐาน
อย่างเช่น MOR, MLR และ MRR ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำในปัจจุบัน มีสัดส่วนประมาณ 25% ของเงินฝากทั้งหมด โดยธนาคารพาณิชย์จะทยอยรับรู้ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหลังเงินฝากประจำล็อตเดิมครบกำหนด นั่นคือ อีก 3, 6, 12 เดือนข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูงดังเช่นปัจจุบัน ทำให้คาดว่าจะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำก่อน หรือภายหลังจากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่นาน ขณะที่การปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานข้างต้น มีโอกาสเลื่อนออกไป เพื่อช่วยเหลือลูกค้า แม้ว่าในทางปฏิบัติ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างฐานลูกค้า สภาพคล่อง และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่แตกต่างกันก็ตาม
• ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานเลื่อนออกไป 3-6 เดือน ผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะปรากฏชัดเจนในปี 2566 เนื่องจากต้องทยอยรับรู้ต้นทุนเงินฝากประจำที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงไตรมาส 3-4 ของปี 2565 ทั้งนี้ หากเทียบกับกรณีที่กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินกู้ปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายในภาวะปกติแล้ว จะพบว่า การเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานออกไป 3-6 เดือน จะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในปี 2565 ประมาณ 0.04-0.06% และกระทบปี 2566 ประมาณ 0.08-0.18% ตามลำดับ
ขณะที่ หากระบบธนาคารพาณิชย์มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ แม้จะด้วยการปรับขึ้นในขนาดไม่มากนัก (สมมติให้ปรับขึ้น 0.125% ในช่วงที่เหลือของปี 2565) แต่ผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นมาที่ประมาณ 0.05-0.07% ในปี 2565 และ 0.15-0.25% ในปี 2566 ทำให้สุดท้ายแล้ว แนวโน้มส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในกรณีนี้ แทบจะไม่แตกต่างไปจากที่เห็นในปี 2564 ที่ 2.54% และต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิดที่ 2.78% อย่างมีนัยสำคัญ
ประมาณการผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ในกรณีต่างๆ
ปี 2564 ปี 2565f ปี 2566f
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในกรณีปกติ
ที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้สอดคล้องกับการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.54% 2.64% 2.80%
กรณีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ล่าช้าออกไป 3 เดือน (ผลกระทบต่อ NIM เทียบกับกรณีปกติ) -0.04% -0.08%
กรณีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ล่าช้าออกไป 6 เดือน (ผลกระทบต่อ NIM เทียบกับกรณีปกติ) -0.06% -0.18%
สมมติฐานสำคัญ:
• ความกังวลเพิ่มเติมจะอยู่ที่คุณภาพสินทรัพย์ เนื่องจากการเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในปี 2565 จะไปเพิ่มแรงกดดันการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2566 ซึ่งเป็นจังหวะที่อัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) จะต้องถูกปรับขึ้นอีก 0.23% กลับสู่ระดับปกติที่ 0.46% ทำให้อาจเห็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศดูเสมือนว่าจะปรับขึ้นแรงกว่าที่ควรจะเป็น และอาจกระทบต่อธุรกิจและครัวเรือนที่ยังไม่ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวหรือเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน การยืนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ท่ามกลางภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินอื่นๆ ปรับขึ้นแล้ว อาจสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ทั้งที่มีความเสี่ยงปกติและความเสี่ยงสูงเข้ามากู้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติม ซึ่งหากมีส่วนผสมจากลูกหนี้กลุ่มหลังมากขึ้น ก็อาจส่งผลต่อคุณภาพพอร์ตสินเชื่อในภาพรวมได้
นอกจากนี้ ในเดือนเมษายน 2566 จะเป็นจังหวะที่ธุรกิจที่เข้าโครงการสินเชื่อฟื้นฟูจะเริ่มทยอยถูกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จากเดิมที่จ่ายดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปีในช่วง 2 ปีแรกของสัญญา (แม้จะไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐาน เพราะเป็นลูกค้าที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของโครงการสินเชื่อฟื้นฟู) ขณะที่ มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเช่น โครงการพักทรัพย์พักหนี้ก็จะสิ้นสุดกำหนดการรับเรื่องขอเข้าร่วมโครงการเช่นกัน
โดยสรุป ด้วยเงื่อนไขเศรษฐกิจที่การฟื้นตัวยังมีความเปราะบาง เช่นเดียวกับสถานะทางการเงินของลูกหนี้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ภายใต้แรงกดดันมากขึ้นในการช่วยเหลือลูกค้าผ่านการเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปนั้น คงทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยได้รับผลกระทบอย่างยากจะหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะในปี 2566 ขณะที่แรงกดดันต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นในปีหน้า จากทั้งส่วนที่เลื่อนการขึ้นออกไป และผลกระทบจากการปรับเพิ่มอัตราเงินนำส่งกองทุนฟื้นฟูฯ อาจทำให้เห็นภาพการปรับขึ้นของต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งทำให้ยังต้องติดตามผลกระทบต่อคุณภาพหนี้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันภาครัฐอาจต้องเตรียมมาตรการดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มเติมหากพบสัญญาณลบชัดเจนขึ้นด้วย
AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…
ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…
ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…
ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…
ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โครงการ Super AI Engineer Season 5 ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเป็นการรวมพลังครั้งสำคัญจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้าน AI ของไทยให้มีทักษะและความสามารถที่ทัดเทียมนานาชาติ…