Finance

การเตรียมการรับมือของหน่วยงานคุ้มครองเงินฝาก กับภูมิทัศน์ทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป

เมื่อโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์เงินฝากถูกออกแบบให้มีลูกเล่นปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ทำให้ทุกวันนี้มีทางเลือกในการออมเงินและลงทุนมากกว่าในอดีต แต่ตัวเลือกที่มีความเสี่ยงน้อยและเป็นที่ยอดนิยมที่สุดก็ยังคงเป็นการฝากเงินกับธนาคาร การดูแลเงินฝากของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจึงเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันการเงิน และเพื่อเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างวิกฤตทางการเงิน จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนผู้ฝากเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินของประเทศ สำหรับประเทศไทยเองมีสถาบันที่ทำหน้าที่ดูแลคุ้มครองบัญชีเงินฝากของทุกคนคือ “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA” ผู้อยู่เบื้องหลังในการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับผู้ฝากทุกคน

คลัง อวดผลมหกรรมแก้หนี้ “มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” วันแรกผู้เข้าร่วมงานทะลุ 4,000 ราย

ทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA เปิดเผยว่าในการสัมมนาประจำปีสถาบันประกันเงินฝากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้สมาคมสถาบันประกันเงินฝากระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20 (The 20th IADI APRC International Conference) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นั้น ช่วยให้มองเห็นว่าการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยแต่เป็นเรื่องที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ เนื่องจากสถาบันการเงินเป็นแหล่งออมเงินที่มีบทบาทต่อประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการเตรียมความพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ในภาวะที่โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ดังแนวทางจาก 5 ประเทศตัวอย่างในรายละเอียดต่อไปนี้

ไต้หวัน – สถาบันการเงินไร้สาขา เทรนด์ใหม่การเงินยุคดิจิทัล

สถาบันการเงินในไต้หวันได้พัฒนารูปแบบการให้บริการไปสู่ “สถาบันการเงินไร้สาขา” หรือ Internet-only Banks ที่มีรูปแบบการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลตลอดกระบวนการ ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ไร้ข้อจำกัดด้านการเข้าถึงของผู้ใช้บริการ ในขณะเดียวกันการกำกับดูแลสถาบันการเงินไร้สาขาก็ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การกำกับดูแลเช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมทุกประการ แต่เพิ่มความเข้มข้นในส่วนของมาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Cyber Security Measures) โดยเฉพาะการกำกับดูแลให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ (Real Time Monitoring) การติดตามเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ทันต่อพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลง และมีระบบงานที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยเสริม เพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่าสถาบันการเงินจะสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นไม่หยุดชะงัก มีความมั่นคงปลอดภัย และสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็วก่อนเกิดวิกฤต

มาเลเซีย – สถาบันประกันเงินฝาก สู่องค์กรดิจิทัลรับความเปลี่ยนแปลง

สถาบันประกันเงินฝากมาเลเซีย (PIDM) ปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงด้วยการผลักดันองค์กรให้เปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) ภายใต้แผนกลยุทธ์ 5 ปี โดยมีเป้าประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1.การปรับเปลี่ยนองค์กรภายในให้มีความยืดหยุ่น เกิดผลิตภาพ สร้างความร่วมมือ และสร้างวัฒนธรรมการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล 2.การสร้างความร่วมมือกับสถาบันการเงินสมาชิกในการปรับเปลี่ยนสู่การเป็นดิจิทัล และ 3.การสร้างพัฒนาการด้านการติดต่อสื่อสารกับผู้ฝากและหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและพัฒนากระบวนการจ่ายคืนผู้ฝากอย่างไร้รอยต่อ อาทิ การนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงิน (ResTech) และการพัฒนาช่องทางการจ่ายคืนผู้ฝากโดยใช้ระบบการชำระเงินแบบทันที (Real-time)

ฟิลิปปินส์ – เพิ่มประสิทธิภาพระบบประกันเงินฝากด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์

สถาบันประกันเงินฝากฟิลิปปินส์ (PDIC) ได้ปรับปรุงกระบวนการจ่ายคืนผู้ฝากและการชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตในฟิลิปปินส์จากภาวะการระบาดของโควิด-19 โดยได้ปรับช่องทางการจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากจากเดิมเป็นการจ่ายคืนผ่านทางเช็ค และการจ่ายเงินสด ณ ที่ทำการ เป็นการจ่ายคืนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) โดยโอนเงินไปยังบัญชีเงินฝากของผู้ฝากที่เปิดกับสถาบันการเงินอื่น และขอความร่วมมือจากผู้ออกเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money Issuer) ในการโอนเงินเข้าบัญชี นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงกระบวนการจำหน่ายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตโดยพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินทรัพย์ออนไลน์ หรือ e-Bidding Portal เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประมูลซื้อขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินสามารถร่วมประมูลได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ถือเป็นการนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงกระบวนการและพัฒนาระบบประกันเงินฝากของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สหรัฐอเมริกา – คุมเข้มสินทรัพย์ดิจิทัล ป้องกันความเสี่ยงต่อระบบการเงิน

ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาครัฐของแต่ละประเทศเร่งติดตามความเสี่ยงและมองหามาตรการในการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ สถาบันประกันเงินฝากสหรัฐอเมริกา (FDIC) ได้ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลหรือสินทรัพย์คริปโต (Crypto Assets) เนื่องจากเล็งเห็นถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน โดยพบว่าความเสี่ยงหลักๆ เกิดจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.ความมั่นคงของสถาบันการเงินและระบบสถาบันการเงิน (Safety and Soundness) 2.เสถียรภาพของระบบการเงิน และ 3.การคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ สถาบันประกันเงินฝากสหรัฐอเมริกา (FDIC) มีแนวทางในการกำกับดูแลสถาบันการเงินสมาชิกที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล หากสถาบันการเงินมีความประสงค์ที่จะลงทุนในสินทรัพย์คริปโต ต้องดำเนินการแจ้งต่อ FDIC ล่วงหน้า และส่งมอบรายละเอียดต่างๆ ที่ FDIC ต้องการอย่างถูกต้องและครบถ้วน

ญี่ปุ่น – รับมือกับวิวัฒนาการทางการเงิน ด้วยพัฒนาการด้านกฎหมาย

สถาบันประกันเงินฝากญี่ปุ่น (DICJ) ได้แลกเปลี่ยนถึงพัฒนาการทางด้านกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล (Crypto Assets) และเงินดิจิทัล (Digital Money) ในญี่ปุ่น โดยสินทรัพย์ดิจิทัลครอบคลุมผู้ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Crypto-asset exchange Service Providers) การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหมาะสม ถูกกำกับภายใต้กฎหมายบริการชำระเงิน (Payment Services Act) กำหนดให้ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวข้องแก่ลูกค้า มีวิธีการบริหารจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าที่น่าเชื่อถือ และแบ่งสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าแยกออกจากส่วนของผู้ให้บริการ รวมถึงการกำกับดูแลผู้รับฝากสินทรัพย์ (Custodian) และยังมีกฎหมายตราสารทางการเงินและตลาดตราสารทางการเงิน (Financial Instruments and Exchange Act) ที่เน้นการป้องกันการกำหนดราคาที่ไม่เป็นธรรมในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และยังมีสาระสำคัญที่ครอบคลุมการออก Token ให้แก่นักลงทุนอีกด้วย

สำหรับ สคฝ. ได้ดำเนินยุทธศาสตร์ Digital DPA มาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อให้มีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลเช่นเดียวกันกับสถาบันประกันเงินฝากในประเทศอื่นๆ โดยการวางโครงข่ายระบบดิจิทัล เทคโนโลยี เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ทำงานสอดประสานกันได้ การพัฒนาระบบปฏิบัติการ เพื่อรองรับการจ่ายเงินให้ผุ้ฝากโดยอัตโนมัติเมื่อสถาบันการเงินถูกปิดกิจการได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำไม่ว่าจะเป็นระบบ DRS, DROS, DA, CRM และ LMS ซึ่งผู้ฝากยังสามารถตรวจสอบสถานะการรับเงินได้ด้วยตนเอง และ สคฝ. ยังเน้นเรื่องความปลอดภัยมั่นคงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งมีการจำลองสถานการณ์ทดสอบระบบ (Simulation) ในกระบวนการจ่ายคืน รวมถึงการทดสอบระบบร่วมกับหน่วยงานในตาข่ายความมั่นคงทางการเงิน อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนจะไม่สะดุดเมื่อเกิดภาวะวิกฤตขึ้น

supersab

Recent Posts

บขส. – ขบ. ตรวจติดตามรถโดยสารที่ใช้ก๊าซ CNG – LPG ย้ำต้องนำรถโดยสารเข้าตรวจสภาพภายในวันที่ 2 ธ.ค.นี้

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และนายอรรถวิท รักจำรูญ กรรมการฯ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ลงพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ…

45 minutes ago

BSRC เปิดบ้านโชว์ศักยภาพโรงกลั่น A New Horizon เผยความสำเร็จตลอดปี 2567

บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC เปิดบ้านต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากหลากหลายสำนักที่เดินทางมาเยี่ยมชมโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Press Visit “BSRC:…

46 minutes ago

ปังไม่หยุด! เอพี ไทยแลนด์ คว้า RISING STAR AWARD 2024 “แบรนด์อสังหาฯ ที่โดดเด่นอย่างก้าวกระโดด”

บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ภายใต้คำมั่นสัญญา “ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้” โดย นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ รับรางวัล…

49 minutes ago

วิเคราะห์สถานการณ์ตลาดรถยนต์ไทย 3 ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากยอดขายต่ำสุดในรอบ 15 ปี

Krungthai COMPASS มีมุมมองต่อยอดขายรถยนต์ไทยในปี 2567-68 อาจอยู่ในระดับต่ำที่ปีละ 0.6-0.61 ล้านคัน ลดลงจากค่าเฉลี่ยในอดีต (ปี 2564-66) เกือบ 25% โดยมีแรงกดดันหลักจาก 1) กำลังซื้อของผู้บริโภคที่แผ่วลง…

51 minutes ago

Huawei Cloud ครองแชมป์ ผู้ให้บริการ Container อันดับ 1 ด้วยกลยุทธ์ Cloud Native 2.0

Huawei Cloud ผงาดขึ้นแท่นผู้นำระดับโลกในบริการคอนเทนเนอร์ คว้าอันดับ 1 ในรายงาน Omdia Universe: Cloud Container Management & Services, 2024-25 ตอกย้ำความเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยี…

1 hour ago

เจาะลึกกลยุทธ์ Lifestyle Brand สร้างแบรนด์ให้ปัง ดึงลูกค้าให้ตรึงใจ

ในยุคที่ผู้บริโภคใส่ใจในแบรนด์ที่สะท้อนรสนิยมและความสนใจของตัวเองมากขึ้น "Lifestyle Brand" หรือ "แบรนด์ไลฟ์สไตล์" จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยสร้างความผูกพันอันแข็งแกร่งกับลูกค้า โดยนำเสนอมากกว่าแค่สินค้าหรือบริการ แต่เป็นการนำเสนอ "วิถีชีวิต" ที่ลูกค้าใฝ่ฝัน จากรายงาน Business of Fashion (BoF)…

3 hours ago