ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยผู้ประกอบการ SME นำเข้า-ส่งออก อาจเผชิญปัญหาต้นทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน แนะนำเครื่องมือบริหารความเสี่ยงการเงิน ให้จองอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ควบคุมต้นทุนได้ไม่ต้องลุ้นรายวัน
พิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจระหว่างประเทศ ทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งออกให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเดินหน้าได้ไม่สะดุด โดยมีเครื่องมือทางการเงินหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจของผู้ประกอบการ เช่น วงเงินสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ สนับสนุนวงเงินสูงสุด 100% ของความจำเป็นในธุรกิจ โดยให้วงเงินแบบที่ไม่ใช้หลักประกัน สูงสุด 50 ล้านบาท วงเงิน Forward Contract ให้วงเงินสูงสุดไม่เกินวงเงินสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ และมีบริการโอนเงินต่างประเทศผ่านระบบ SCB Business Anywhere ครอบคลุม 18 สกุลเงินหลัก อัตราค่าธรรมเนียมพิเศษ เป็นต้น
–กรุงศรี ดัน Hattha Bank บุกตลาดหุ้นกู้เมืองไทยเปิดขายบาทบอนด์ครั้งแรก
ในส่วนของการบริหารต้นทุนธุรกิจระหว่างประเทศนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อต้นทุนธุรกิจ ปัจจุบันมีลูกค้าของกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำนวนประมาณ 4,700 ราย ที่ดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และต้องทำธุรกรรมการเงินเพื่อซื้อ-ขายอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ตลอด ซึ่งจากสถานการณ์ที่อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างๆ รวมถึงค่าเงินบาทมีความผันผวนอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการควบคุมหรือบริหารต้นทุนธุรกิจซึ่งมีผลโดยตรงกับยอดกำไร-ขาดทุนของการค้าในแต่ละครั้ง
ซึ่งพบว่าผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าของธนาคารอีกประมาณ 60% ที่มีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าและวัตถุดิบกับคู่ค้าต่างประเทศแต่ยังไม่ได้จองอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์นี้ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนธุรกิจผันผวนตามอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ การที่ตัวเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีที่ต้องเป็นแกนหลักสำคัญในการบริหารงานต้องมาคอยสังเกตการณ์อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อหาอัตราที่เหมาะสม ยังทำให้เจ้าของธุรกิจต้องสูญเสียเวลาและโอกาสในการวางแผนด้านอื่นของธุรกิจไป เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการแสวงหาตลาดใหม่ เป็นต้น
ธนาคารไทยพาณิชย์มีความมุ่งหวังที่จะให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถบริหารต้นทุนในการทำธุรกรรมการเงินกับคู่ค้าระหว่างประเทศได้ด้วยการวางแผนการเงินที่ดี รับรู้ต้นทุนได้ตั้งแต่ต้นไม่ต้องรอรับความเสี่ยงว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นหรือลง โดยมีเครื่องมือช่วยป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน คือ การทำสัญญาซื้อ-ขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าไว้ตั้งแต่วันทำสัญญา (Forward) ซึ่งเป็นประโยชน์มากกับธุรกิจที่มีการนำเข้า-ส่งออก แต่มีกำหนดชำระเงินกันในอนาคต (มีกำหนดส่งมอบมากกว่า 2 วันทำการขึ้นไป) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีบริหารหรือควบคุมต้นทุนธุรกิจได้ โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีธุรกรรมการนำเข้า-ส่งออกระหว่างประเทศ และมีวงเงิน Forward Contract กับธนาคารไทยพาณิชย์อยู่แล้ว สามารถทำสัญญาจองซื้อ-ขายอัตราแลกเปลี่ยนไว้ก่อนล่วงหน้า และมาทำธุรกรรมซื้อ-ขายอัตราแลกเปลี่ยนตามที่ตกลงกันไว้ในวันที่กำหนด ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่
1) สัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าแบบกำหนดวันส่งมอบแน่นอน (Outright Forward)
2) สัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าแบบส่งมอบภายในระยะเวลาที่ตกลงไว้ (Pro Rata Forward)
โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือเพื่อบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนของธุรกิจได้ตามความเหมาะสม เช่น หากมีกำหนดการซื้อขายแน่นอนแล้ว สามารถทำสัญญา Forward เพื่อป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ได้เลย หรือหากมีแนวโน้มซื้อขายแต่ยังไม่มีกำหนดแน่นอนก็อาจจะทำการบริหารความเสี่ยงค่าเงินไว้ก่อนบางส่วน เช่น อย่างน้อย 50% เพื่อช่วยให้สามารถคาดการณ์รายได้หรือรายจ่ายได้ล่วงหน้า ลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นความเสี่ยงที่สามารถจัดการได้ นอกจากนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ ยังมีบริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศผ่านออนไลน์ หรือ SCB FX Online ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดการซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศได้ด้วยตนเองผ่านออนไลน์ (คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถือ) พร้อมรับอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจเอสเอ็มอีซึ่งจำเป็นต้องมีการบริหารต้นทุนธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้
ทั้งนี้ ธนาคารจะยังคงติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องนำเข้า-ส่งออกสินค้าและวัตถุดิบไปประเทศต่างๆ เพื่อประเมินผลกระทบและเตรียมเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมเพื่อช่วยผู้ประกอบการให้ดำเนินธุรกิจไปได้อย่างราบรื่น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับ AIS ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญ มุ่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยมิจฉาชีพออนไลน์ให้แก่ประชาชนชาวไทยอย่างเข้มข้น ผ่านการส่งเสริมทักษะดิจิทัลและความรู้เท่าทันภัยทางการเงิน เพื่อยกระดับความปลอดภัยทั้งในการใช้งานบนโลกออนไลน์และการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างยั่งยืน ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลระบบการเงินของประเทศ และผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างเกราะป้องกันภัยทางการเงินดิจิทัลให้แก่ประชาชนในวงกว้าง หัวใจสำคัญของความร่วมมือนี้คือ การดำเนินงานเชิงรุกในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดึงศักยภาพของคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจนี้…
BizTalk x Sunny Horo กับคอลลัมน์ ดวงธุรกิจ Weekly ชวนมาอัพเดต ดวงประจำวันที่ 7 - 13 เมษายน 2568 กัน ใครเกิดตรงกับวันไหน มาดูกันเลย…
Biztalk ประจำวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2568 พาไปนครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ติดตามโอกาสทางการค้าไทย ผ่านโครงการเชื่อมต่อการขนส่งทางรางในเส้นทาง สิงคโปร์-คุนหมิง ที่จะนำพาสินค้าไทยไปยังจีนและส่งต่อไปยังสหภาพยุโรป พร้อมอัพเดทความเคลื่อนไหวโครงการตั๋วร่วมและรถไฟ 20 บาทตลอดสาย ทุกสายกันยายนนี้…
ในบริบทของอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวม การมุ่งเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงเป็นประเด็นสำคัญอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สำหรับภาคธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (CPG) แนวโน้มที่โดดเด่นในปัจจุบันคือการให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนผลกำไรและผลตอบแทนที่มอบให้กับผู้ถือหุ้นเป็นลำดับต้น ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากนักลงทุน ทำให้หลายองค์กรอาจลดทอนความสำคัญของการลงทุนในด้านความยั่งยืนลง ซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดว่าธุรกิจต้องเลือกระหว่าง "ความยั่งยืน" และ "ผลกำไร" เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ทว่า ในความเป็นจริงแล้ว…
LINE ประเทศไทย จัดงาน LINE Developers Meetup #6 สุดยิ่งใหญ่เมื่อเดือนมีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ณ กรุงเทพมหานคร งานรวมพลคนไอทีและนักพัฒนาผู้สนใจเทคโนโลยีจาก LINE ครั้งสำคัญนี้…
Biztalk เสาร์นี้กับ ตั๊ก ฐิติกร ทิพย์มณเฑียร ร่วมประเมินทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเหตุแผ่นดินไหวกับ คุณสัมมา คีตสิน นักเศรษฐศาสตร์อสังหาริมทรัพย์ https://www.youtube.com/watch?v=gL0ooLDVi3o -AI กับการทำงานสื่อ สรุปแล้วเราจะตกงานมั้ย?
This website uses cookies.