ใกล้ถึงฤดูกาลยื่นภาษีประจำปีอีกครั้ง เหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายคงเริ่มเตรียมตัวกันแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มนุษย์เงินเดือนมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงาน อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับขั้นตอนและวิธีการลดหย่อนภาษี บทความนี้ได้รวบรวม 4 เช็กลิสต์สำคัญที่ควรรู้ เพื่อช่วยให้การวางแผนภาษีเป็นเรื่องง่าย พร้อมแนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยแบ่งเบาภาระภาษีและเพิ่มโอกาสในการสร้างความมั่งคั่ง
4 เช็กลิสต์ลดหย่อนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือน
การวางแผนภาษีที่ดี นอกจากจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของมนุษย์เงินเดือนแล้ว ยังเป็นการสร้างวินัยทางการเงิน ฝึกการจัดสรรเงิน และสร้างความมั่นคงในระยะยาว ซึ่งเช็กลิสต์ 4 ข้อนี้ จะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สามารถใช้ได้อย่างครบถ้วน
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
สิทธิประโยชน์พื้นฐานที่ทุกคนได้รับ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนตัว คู่สมรส บุตร ค่าคลอดบุตร และการดูแลบุพการี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว: 60,000 บาท
- คู่สมรส: 60,000 บาท (กรณีคู่สมรสไม่มีรายได้)
- บุตร: 30,000 บาท/คน
- ค่าคลอดบุตร: ตามจริง ไม่เกิน 60,000 บาท
- บิดา-มารดา: 30,000 บาท/คน (อายุ 60 ปีขึ้นไป)
- คนพิการหรือทุพพลภาพ: 60,000 บาท/คน
2. ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
การลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินและกองทุนต่างๆ นอกจากจะช่วยออมเงิน สร้างวินัยทางการเงิน และเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว ยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
- ประกันสังคม: 9,000 บาท
- ประกันสุขภาพบิดา-มารดา: 15,000 บาท (อายุ 60 ปีขึ้นไป)
- ประกันสุขภาพ: 25,000 บาท
- ประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์: 100,000 บาท
- กองทุนเพื่อการเกษียณอายุ: 500,000 บาท (รวม กบข., RMF, SSF, และอื่นๆ) โดยสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF):
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF):
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.):
- กองทุน Thai ESG: 300,000 บาท
3. ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค
การบริจาค นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือสังคมแล้ว ยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- บริจาคเงินทั่วไป: ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- บริจาคเงินเพื่อสังคม: ลดหย่อน 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- บริจาคเงินให้พรรคการเมือง: 10,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
ภาครัฐมีมาตรการลดหย่อนภาษี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว ที่อยู่อาศัย และการใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- โครงการ Easy e-Receipt 2567: 50,000 บาท
- โครงการเที่ยวเมืองรอง 2567: 15,000 บาท
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย: 100,000 บาท
- ค่าสร้างบ้านใหม่ 2567-2568: 100,000 บาท
วางแผนภาษีอย่างชาญฉลาดด้วยผลิตภัณฑ์ประกันจากแอกซ่า
แอกซ่าประกันภัย พร้อมช่วยให้การวางแผนลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องง่าย ด้วยผลิตภัณฑ์ประกันที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม ตอบโจทย์ทุกความต้องการ และช่วยบริหารความเสี่ยงในชีวิต
ประกันสุขภาพแอกซ่า
- ประกันสุขภาพ สมาร์ทแคร์ เอสเซนเชียล: คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่าย
- ประกันโรคติดเชื้อและอุบัติเหตุ ฮัลโหล เฮลธ์: ครอบคลุม 21 โรคติดเชื้อยอดฮิต เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคที่มียุงเป็นพาหะ โรคมือ เท้า ปาก และอื่นๆ รวมถึงอุบัติเหตุต่างๆ
- ประกันสุขภาพ สวิตซ์แคร์: คุ้มครองค่ารักษาโรคมะเร็งและการรักษาฉุกเฉินนอกอาณาเขตคุ้มครอง
- ประกันโรคร้ายจากยุงและโรคเขตร้อน: จ่ายเงินก้อนสูงสุด 30,000 บาท เมื่อเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
- ประกันมะเร็ง: คุ้มครองโรคมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ จ่ายเงินก้อนทันทีเมื่อตรวจพบ
ประกันอุบัติเหตุแอกซ่า
- แอกซ่า พีเอ เซฟดี: ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล คุ้มครอง อ.บ.2
- แอกซ่า สบายใจ มาย ไลฟ์ / มาย พลัส: ประกันอุบัติเหตุสำหรับวัยทำงานและผู้สูงอายุ
- แอกซ่า สบายใจ มาย เอ็กซ์คลูซีฟ เมด: ประกันอุบัติเหตุสำหรับวัยทำงาน
ลดหย่อนภาษี พร้อมรับความคุ้มครอง
การทำประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ นอกจากจะช่วยลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และสร้างความอุ่นใจให้กับคุณและคนที่คุณรัก
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสุขภาพได้ที่ https://www.axa.co.th/th/personal-health-insurance และประกันอุบัติเหตุได้ที่ https://www.axa.co.th/th/personal-accident-protection
#ลดหย่อนภาษี #มนุษย์เงินเดือน #วางแผนภาษี #ประกันสุขภาพ #ประกันอุบัติเหตุ #แอกซ่าประกันภัย