หนึ่งในเทรนด์ด้านประชากรที่มาแรงที่สุดคือ การเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aged Society) ซึ่งประเทศไทยเองก็นับว่าได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมา โดยมีประชากรที่เข้าสู่วัยสูงอายุมากกว่า 60 ปี เป็นจำนวนร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ นับเป็นความท้าทายโดยเฉพาะกับครอบครัวในปัจจุบันที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมในการดูแลตัวเองในวัยที่เพิ่มขึ้น ไปพร้อมกับการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวให้มีสุขภาวะทางกายและใจที่ดี
การวางแผนการเงินเพื่อเตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยโรคที่พบมากในคนไทย ได้แก่ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคระบบทางเดินหายใจและโรคอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สะสมความเสี่ยงมาเป็นเวลานาน และยังมีโรคที่หลายคนมองข้ามเช่น โรคจากภาวะเสื่อมทางสมอง ซึ่งพบมากในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปีเป็นต้นไป และต้องใช้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นพิเศษ ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน
ทั้งนี้ อัตราการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ในประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี อยู่ที่ร้อยละ 10-15 และพบสูงขึ้นถึงร้อยละ 20-30 ในประชากรที่อายุมากกว่า 80 ปี โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า และสำหรับโรคพาร์กินสันมักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 1.5 เท่า
–fintips by ttb ชวนปรับเปลี่ยนมุมคิดกับ 5 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการซื้อ “ประกัน”
นายแพทย์เพชร สมบูรณ์กุลวุฒิ ผู้บริหารศูนย์บริการการแพทย์ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่พบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการที่สมองสูญเสียหน้าที่ในการทำงานหลาย ๆ ด้าน โดยเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านความจำ การรู้คิด การตัดสินใจและส่งผลให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ร่วมด้วย และหากโรคดำเนินไปถึงขั้นรุนแรงจะส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต
ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุที่บ้าน สามารถช่วยดูแลเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น ชวนออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่ ควรตรวจสุขภาพประจำปี และติดตามโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เป็นระยะ ๆ รวมถึงการหมั่นบริหารสมอง เช่น อ่านหนังสือ ทำกิจกรรมร่วมกัน และดูแลสุขภาพจิตให้ดี หากมีสัญญาณอาการที่ชวนสงสัย เช่น ความจำแย่ลง สมาธิจดจ่อน้อยลง มีปัญหาเรื่องการใช้ภาษา หรือความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและสามารถดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที”
เพื่อรองรับความต้องการด้านการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ กรุงเทพประกันชีวิต ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่พร้อมดูแลให้คลายความกังวลใจ รองรับค่าใช้จ่ายในการรักษาในยามเจ็บป่วยจากโรคร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็น โฮลไลฟ์เฟิสต์ ซีเนียร์ พลัส อายุที่รับประกันเริ่มตั้งแต่ 50-70 ปี ชำระเบี้ยประกันภัย 5 ปี คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี ให้ความคุ้มครองชีวิตและโรคสำหรับผู้สูงอายุ อาทิ ภาวะถดถอยทางสมองระยะเริ่มต้น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และยังให้ความคุ้มครองกรณีกระดูกแตกหัก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รวมผลประโยชน์ความคุ้มครองสูงสุด 2.1 ล้านบาท
และ สัญญาเพิ่มเติม บีแอลเอ ซูเปอร์แคร์ ที่ให้ความคุ้มครอง 6 กลุ่มโรคร้ายแรง รวม 47 โรค รับประกันภัยตั้งแต่อายุ 1-65 ปี คุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 80 ปี โดยกลุ่มโรคที่คุ้มครองได้แก่ กลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอก กลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจหลอดเลือดและผลสืบเนื่อง กลุ่มโรคเกี่ยวกับอวัยวะและระบบการทำงานที่สำคัญ กลุ่มภาวะติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บร้ายแรง กลุ่มโรคร้ายแรงอื่นๆ และกลุ่มโรคร้ายแรงที่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกก่อนที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ โดยมีจุดเด่นเรื่องความคุ้มครองต่อเนื่อง เมื่อผู้เอาประกันเป็นโรคร้ายแรงและรับผลประโยชน์สูงสุด 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อ 1 กลุ่มโรคร้ายแรงแล้ว ยังคงได้รับความคุ้มครองสำหรับกลุ่มโรคร้ายแรงที่เหลืออยู่ รวมรับความคุ้มครองสูงสุดถึง 600% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย