Healthcare

ภาคประชาชนผนึกกำลังสาธารณสุข เร่งยกระดับความสำคัญโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในประเทศไทย

มูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมกับสมาคมกุมารประสาทวิทยา (ประเทศไทย) สมาคมเวชพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ทางการแพทย์ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร และบริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด ผนึกกำลังจัดงาน “รวมใจ ร่วมมือ ระดมความคิด พิชิตโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง” ครั้งที่ 2 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสเดือนแห่งการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรค Spinal Muscular Atrophy (SMA) ในเดือนสิงหาคม และเดือนแห่งการรณรงค์ด้านการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดในเดือนกันยายน เพื่อสานต่อการเป็นกระบอกเสียงและเน้นย้ำความสำคัญของการสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนการตระหนักรู้เกี่ยวกับโรค SMA รวมถึงหนทางเพื่อป้องกันแก่ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ผ่านงานเสวนาและกิจกรรมพิเศษต่างๆ ตลอดงาน

ภายในงานมีการเสวนาและจัดกิจกรรมซึ่งสะท้อนการรวมพลังแลกเปลี่ยนมุมมอง และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาสำคัญ อันได้แก่ มูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎรสมาคมกุมารประสาทวิทยา (ประเทศไทย) สมาคมเวชพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ทางการแพทย์ คณะทำงานพัฒนาระบบการดูแลรักษาโรคหายากภายใต้คณะอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตลอดจนตัวแทนจากผู้ปฏิบัติงานนโยบายสาธารณสุข และกองทุนสุขภาพภาครัฐ รวมทั้งการรับฟังประสบการณ์โดยตรงจากผู้ป่วยโรค SMA และผู้ดูแลผู้ป่วย ตลอดจนการได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา ประธานกรรมการมูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง มาร่วมเป็นประธานพิธีเปิดงาน เพื่อตอกย้ำจุดยืนและเร่งผลักดันการจัดการโรค SMA ในประเทศไทย

“โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอีกโรคที่เราไม่ควรละเลย ถึงแม้จะจัดอยู่ในกลุ่มโรคหายาก แต่ก็มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่มีความเสี่ยงเป็นโรคทางพันธุกรรมนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่อยากสื่อสารให้คนไทยทั้งประเทศได้เกิดความตระหนักรู้ เพราะเราอยากให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพที่ดี ทั้งนี้ไม่เพียงแค่ความเข้าใจในโรคเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายมิติที่เราควรให้ความสำคัญ เช่นการตรวจคัดกรองโรค การรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้อง และการคำนึงถึงการดูแลครอบครัวผู้ป่วยหรือคนดูแลใกล้ชิดด้วย ซึ่งประชาชนทุกคนก็สามารถมีส่วนร่วมและสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกในสังคมได้ ผ่านการร่วมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรค SMA เพื่อยกระดับความสำคัญ รวมถึงแนวทางการเตรียมพร้อมตั้งแต่ระยะป้องกันและการเข้าถึงการรักษาโรคนี้ได้อย่างเหมาะสม” ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา กล่าว

ประเด็นสำคัญที่ได้รับการเน้นย้ำในการสนทนาครั้งนี้ ครอบคลุมถึงความร่วมมือในระบบการจัดการผู้ป่วยโรค SMA ตั้งแต่การให้ความสำคัญกับการป้องกันการเกิดโรค เริ่มจากการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในผู้ที่วางแผนมีบุตร การตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ และความสำคัญของการตรวจวินิจฉัยทารกแรกเกิด รวมถึงการรักษาโรคอย่างทันท่วงทีเมื่อตรวจพบ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันจะช่วยให้ผู้ป่วยโรค SMA สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ใกล้เคียงบุคคลทั่วไปในอนาคต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์กุณฑล วิชาจารย์ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชพันธุศาสตร์ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองพาหะของโรคตั้งแต่ก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ การวินิจฉัยก่อนมีอาการ และการรักษาว่า  “โรค SMA เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในกลุ่มโรคหายากที่พบแสดงอาการได้ตั้งแต่ในวัยทารกจนถึงเด็กโตหรือผู้ใหญ่ โดยมีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ส่งผลให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ของร่างกาย มีอุบัติการณ์เฉลี่ยประมาณ 1 ต่อ 10,000 คน ในประชากรทั่วโลก และพบพาหะในประชากรได้ประมาณ 1 ใน 50 คน ดังนั้น หากทั้งพ่อและแม่มียีนพาหะของโรค โอกาสที่ลูกจะเป็นโรค SMA จะมีอัตรา 1:4  ในทุกๆ การตั้งครรภ์ ด้วยเหตุนี้ การตรวจคัดกรองพาหะของโรคในคู่สมรสจึงมีความสำคัญในการป้องกันโรค และเป็นสิ่งที่ควรได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง นอกจากนี้การตรวจคัดกรองโรค SMA ในทารกแรกเกิด ซึ่งจะเจาะเลือดส่งตรวจภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังคลอดก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในแง่ของการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ก่อนมีอาการปรากฏ ซึ่งจะช่วยให้มีผลการรักษาที่ดี ส่งผลดีต่อพัฒนาการ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว นอกจากนี้การป้องกันและรักษาโรค SMA ควรมีการทำอย่างบูรณาการ มีความเท่าเทียมในการเข้าถึงการรักษาและป้องกัน รวมไปถึงสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องโรคอย่างแพร่หลายและครอบคลุมทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยและญาติ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไป” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์กุณฑล  กล่าว

ทางด้าน นายแพทย์ ทศพร เสรีรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถึงภาพรวมด้านการผลักดันการจัดการดูแลรักษาโรค SMA พร้อมเป้าหมายอันสำคัญที่ว่า “SMA เป็นโรค ‘หายาก’ ที่ ‘หายยาก’ และผู้ป่วยโรค SMA ชาวไทยยังมีโอกาสที่จะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ทุกภาคส่วนจึงมีความมุ่งมั่นที่อยากเร่งสร้างความตระหนักรู้ในสังคมคนไทย ตลอดจนร่วมกันผลักดันผู้กำหนดนโยบายให้ผู้ป่วยได้รับความเสมอภาคทางการรักษาที่ครอบคลุมและทั่วถึง และสนับสนุนให้ผู้ที่วางแผนในการมีบุตรทุกท่านได้รับการตรวจคัดกรองพาหะ และให้มีการวินิจฉัยทารกตั้งแต่แรกเกิด เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยมีเป้าหมายที่อยากให้คนไทยทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขเท่าเทียมกัน”

นอกจากนี้ อดิศร บูรณวงศ์ หนึ่งในผู้ปกครองของผู้ป่วย SMA ได้แบ่งปันมุมมองและประสบการณ์เกี่ยวกับการรวมตัวของกลุ่มผู้ป่วย SMA ว่าการรวมกลุ่มทำให้ผู้ป่วยรู้จักกันมากขึ้น มีกำลังใจ และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน โดยในปีนี้การรวมกลุ่มมีความเข้มแข็งขึ้น และมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ถ่ายทอดเสียงของผู้ป่วย และสร้างความเปลี่ยนแปลง ‘ฝัน หวัง ไปต่อ’ คือแนวทางของกลุ่มผู้ป่วยที่มีความฝันร่วมกัน นั่นคือการเข้าถึงการรักษาที่ทั่วถึง ความฝันอีกอย่างคือการให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทุกด้าน และสามารถพึ่งพาตัวเองได้เมื่อผู้ดูแลไม่อยู่แล้ว คุณอดิศรกล่าวว่า “การมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรค SMA ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากทั้งการจัดสรรเวลาและการเสียสละงานเพื่อดูแลผู้ป่วย แต่ด้วยความช่วยเหลือจากกลุ่มผู้ป่วยและหน่วยงานที่สนับสนุน เราได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดและสานความฝันร่วมกัน โดยผมเชื่อว่าหากเราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ เราก็จะช่วยเหลือผู้อื่นกลุ่มผู้ป่วยโรคหายากอื่นๆ ได้ด้วย ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองการวางแผนมีลูกและการตรวจทารกแรกเกิดนั้นมีความสำคัญอย่างมากเช่นกัน เพราะการตรวจหาพาหะหรือตรวจหาโรคตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เราได้รับการรักษาทันเวลา ป้องกันไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายที่อาจตามมา อีกทั้งคู่สมรสที่วางแผนจะมีบุตรก็ยังสามารถมีหนทางป้องกันการเกิดโรคต่อลูกได้ อย่างไรก็ตาม โปรแกรมตรวจคัดกรอง SMA ในโรงพยาบาลนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เราจึงอยากผลักดันให้โปรแกรมนี้เป็นมาตรฐานที่เข้าถึงได้สำหรับทุกครอบครัว เพื่อให้จำนวนผู้ป่วย SMA ในไทยลดลงและมีระบบการจัดการโรคที่ยั่งยืน”

จากการเสวนาระดมความคิดในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่าการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในประเทศไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคในหมู่คนทั่วไป พร้อมทั้งการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อลดภาระความลำบากของผู้ป่วยและส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียมก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ

นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรค SMA ที่จัดทำโดยภาคีเครือข่ายสนับสนุนการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ เวทีบอกเล่าประสบการณ์และแรงบันดาลใจจากผู้ป่วย, ซุ้มจำลองการเคลื่อนไหวเสมือนผู้ป่วยโรค SMA, ซุ้มกิจกรรมสนทนาสบายใจกับน้องสมาย SMA-AI, และซุ้มให้คำปรึกษาการตรวจคัดกรองพาหะในผู้ที่วางแผนมีบุตร รวมถึงการจัดนิทรรศแผนงานขับเคลื่อนกิจกรรมจากกลุ่มผู้ป่วย SMA ภายใต้ APPIS Innovator Program ที่สนับสนุนโดยบริษัท โนวาร์ตีส เพื่อสานจุดประสงค์ของกลุ่มผู้ป่วย SMA ‘ฝัน หวัง ไปต่อ’  และการจัดแสดงภาพศิลปะที่ถ่ายทอดความรักและกำลังใจจากผู้ปกครองและผู้ดูแลสู่ผู้ป่วยอีกด้วย

และแม้ SMA จะเป็นโรคทางพันธุกรรม แต่เราทุกคนสามารถร่วมกันลดจำนวนผู้ป่วยลงได้ ผ่านการตระหนักรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองโรค ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของเราทุกคนในสังคมที่จะร่วมกันขับเคลื่อนและเป็นกำลังสำคัญในการลดจำนวนผู้ป่วยในประเทศไทยเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพถ้วนหน้าในอนาคต

ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ร่วมลง MOU โครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านเครือข่ายสังคมดิจิทัล ขับเคลื่อนแพลตฟอร์มดิจิทัล ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

supersab

Recent Posts

รีวิว TECNO CAMON 40Pro ราคา 6,999 บาท ได้สเปคสุดโหด

Biztalk Gadget จะมา รีวิว TECNO CAMON 40Pro สมาร์ทโฟนราคาต่ำกว่า 7,000 บาท ที่มาพร้อมดีไซน์บาง เบา กันน้ำกันฝุ่นระดับ IP68/69 กล้อง…

7 minutes ago

King’s Bangkok มอบทุนเรียนฟรีต่อเนื่องปีที่ 3 หนุนเยาวชนไทยสู่เวทีโลก

โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ (King’s Bangkok) เดินหน้าสานต่อพันธกิจสำคัญในการมอบโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมแก่เยาวชนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ประกาศมอบทุน ‘King’s Bangkok Academic Excellence Scholarship’ เป็นปีที่ 3 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนผู้ที่มีศักยภาพให้ได้รับการศึกษาในระดับนานาชาติอย่างเต็มที่ ทุนการศึกษานี้เปิดกว้างสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Year…

2 hours ago

“Travel Lite by Thailand Post” บริการฝากส่งสัมภาระ ตอบโจทย์นักเดินทางยุคใหม่จากไปรษณีย์ไทย

ไปรษณีย์ไทย รุกตลาดท่องเที่ยว เปิดตัวบริการใหม่ "Travel Lite by Thailand Post" อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวให้เดินทางตัวเปล่า หมดกังวลเรื่องสัมภาระ สามารถฝากเก็บและรับ-ส่งกระเป๋าเดินทางและสัมภาระต่างๆ ได้ง่ายดาย ในราคาเริ่มต้นเพียง 100 บาท…

19 hours ago

ตลาดโลกปั่นป่วน! สหรัฐฯ จุดชนวน “สงครามภาษี” นักลงทุนผวา ยูโอบีแนะกลยุทธ์รับมือ

ตลาดการเงินทั่วโลกตกอยู่ในภาวะผันผวนอย่างหนัก หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากนานาประเทศแบบไม่ทันตั้งตัว ส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกเทขายหุ้นด้วยความกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมา เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นใน "วันปลดแอก" (2 เมษายน 2568) เมื่อผู้นำสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ โดยกำหนดอัตราภาษีขั้นต่ำ 10% สำหรับสินค้าจากทุกประเทศที่ส่งเข้ามายังสหรัฐฯ…

19 hours ago

ไปรษณีย์ไทย ผนึก เทคซอส เปิดบริการ Data-as-a-Service ขับเคลื่อนธุรกิจยุคดิจิทัล

ไปรษณีย์ไทย จับมือกับ บริษัท เทคซอส ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) อย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมกันพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีและข้อมูล สู่บริการใหม่ "Data-as-a-Service" หวังสร้างโอกาสทางธุรกิจและยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้บริการในแวดวงโลจิสติกส์ พิธีลงนามจัดขึ้น ณ อาคารภาณุรังษีไปรษณียาคาร สำนักงานใหญ่…

19 hours ago

กสทช. จับมือ 3 ค่ายมือถือ เร่งเครื่องเปิดใช้งาน Cell Broadcast เตือนภัยฉุกเฉินเต็มสูบ ทั้ง Android และ iOS แม้ระบบกลางของ ปภ. ยังไม่พร้อม

กสทช. เร่งเครื่องโอเปอเรเตอร์ เปิดใช้งานระบบ Cell Broadcast เต็มสูบ รองรับทั้ง Android และ iOS หวังแจ้งเตือนภัยพิบัติประชาชนได้ทันท่วงที แม้ระบบกลางของ ปภ. ยังไม่พร้อม ไตรรัตน์…

19 hours ago

This website uses cookies.