ปี 2025 วงการแพทย์กำลังก้าวสู่ยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการยกระดับการรักษาพยาบาล เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และขยายการเข้าถึงบริการสุขภาพ พร้อมกับมุ่งเน้นความยั่งยืนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
1. Generative AI: ผู้ช่วยอัจฉริยะ ลดภาระงานบุคลากรแพทย์
ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ เป็นความท้าทายสำคัญที่ระบบสาธารณสุขทั่วโลกกำลังเผชิญ Generative AI หรือปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ ด้วยความสามารถในการทำงานอัตโนมัติ ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน และช่วยจัดการข้อมูล ทำให้บุคลากรมีเวลา โฟกัสกับการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น
จากรายงาน 2024 Philips Future Health Index พบว่า 92% ของผู้บริหารในวงการเฮลท์แคร์ มองว่าเทคโนโลยีอัตโนมัติ เป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และ 85% มีแผนลงทุนใน Generative AI ภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยคาดว่า Generative AI จะเข้ามามีบทบาทในการจัดระเบียบบันทึกทางคลีนิก ช่วยสื่อสารข้อมูลผู้ป่วยระหว่างทีมแพทย์ และประมวลผลข้อมูลทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้ง่ายต่อการเข้าใจ ยกตัวอย่างเช่น การจัดการรายงานประวัติผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อให้ทีมแพทย์เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็ว
2. AI ยกระดับการวินิจฉัยโรค เพิ่มประสิทธิภาพการรักษา
นอกจากบทบาทในการ ทำงานอัตโนมัติ AI ยังช่วยยกระดับทักษะของบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง AI ช่วยให้การวินิจฉัยโรคที่ซับซ้อน เป็นเรื่องง่ายขึ้น ช่วยให้บุคลากรรุ่นใหม่ สามารถวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเช่น AI ช่วยให้การสแกนหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (cardiac CT) ง่ายขึ้น แพทย์สามารถเข้าถึงเครื่องมือและให้บริการผู้ป่วยโรคหัวใจได้ดีขึ้น อีกทั้ง AI ยังช่วยตรวจจับสัญญาณของการเป็นพิษต่อหัวใจ (cardiotoxicity) ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษาหรือเคมีบำบัด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็ง
3. ศัลยกรรมยุคใหม่ ผ่าตัดเล็ก ฟื้นตัวเร็ว
แนวโน้มการผ่าตัดเล็ก (minimal invasive) กำลังมาแรง โดยเฉพาะในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อลดความเจ็บปวด ลดความเสี่ยง และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเล็กมีความซับซ้อน แพทย์ต้องอาศัยข้อมูลจากเครื่องมือวินิจฉัยที่หลากหลาย
ฟิลิปส์ ได้พัฒนานวัตกรรม Image-guided therapy เพื่อช่วยให้แพทย์วางแผนการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ เช่น การสวนหลอดเลือดแบบไม่ต้องผ่าตัด (mechanical thrombectomy) ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาน้อย ฟิลิปส์จึงร่วมมือกับองค์การโรคหลอดเลือดสมองโลก (World Stroke Organization) เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
4. เชื่อมต่อข้อมูล ยกระดับการดูแลผู้ป่วยวิกฤต
การดูแลผู้ป่วยวิกฤต เวลาเป็นสิ่งสำคัญ แต่แพทย์มักเสียเวลา ในการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง การเชื่อมต่อข้อมูลจากเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน จะช่วยแก้ปัญหานี้ และยกระดับการดูแลผู้ป่วยวิกฤต
ในปี 2025 เราจะเห็นความก้าวหน้าของเครื่องติดตามสัญญาณชีพ ที่เชื่อมต่อกับระบบข้อมูลสารสนเทศ ช่วยให้แพทย์เข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์ และ AI จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประเมินและคาดการณ์อาการผู้ป่วยล่วงหน้า ป้องกันภาวะวิกฤต และช่วยในการตัดสินใจรักษา
5. เทรนด์ “การดูแลรักษาที่บ้าน” เติบโตต่อเนื่อง
เทรนด์การดูแลสุขภาพนอกโรงพยาบาล (Hospital-at-home) กำลังมาแรง ด้วยเทคโนโลยี การติดตามสัญญาณชีพผู้ป่วยระยะไกล (Remote patient monitoring) ที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล เหมือนอยู่ในโรงพยาบาล แม้จะอยู่ที่บ้าน
เทคโนโลยีนี้ ช่วยลดอัตราการกลับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจล้มเหลว และช่วยให้ผู้ป่วย สามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น ในปี 2025 AI และการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive analytics) จะเข้ามามีบทบาท ในการติดตามและประเมินความเสี่ยงของอาการผู้ป่วยจากระยะไกล
6. เทเลเฮลท์ (Telehealth) เชื่อมต่อการรักษา ไร้พรมแดน
การรักษาพยาบาลผ่านทางออนไลน์ (Virtual Care) เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 เทเลเฮลท์ (Telehealth) ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องติดตามสัญญาณชีพทางไกล ร่วมกับการปรึกษาแพทย์ผ่านวิดีโอคอล ช่วยให้ผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล เข้าถึงแพทย์เฉพาะทางได้ โดยไม่ต้องเดินทาง
7. ข้อมูลสารสนเทศและดิจิทัลเฮลท์ ช่วยพ่อแม่ยุคใหม่เลี้ยงลูก
พ่อแม่ยุคใหม่ ใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงลูกมากขึ้น เช่น แอปพลิเคชัน และอุปกรณ์สวมใส่ (wearables) เพื่อติดตามพัฒนาการ และสุขภาพของลูก
ในปี 2025 คาดว่า AI จะเข้ามามีบทบาท ในการวิเคราะห์ข้อมูล และให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของเด็ก รวมถึง การแปลเสียงร้องของทารก เพื่อให้พ่อแม่เข้าใจความต้องการของลูกน้อย
8. AI ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
AI ไม่เพียงช่วยยกระดับการรักษาพยาบาล แต่ยังมีศักยภาพในการ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์
AI ช่วยวิเคราะห์ และปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดขยะ ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างไรก็ตาม การใช้ AI ที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิด ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) ดังนั้น การพัฒนานวัตกรรม ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสิ่งสำคัญ
9. ความร่วมมือในห่วงโซ่อุปทาน ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์
การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในห่วงโซ่อุปทาน เป็นสิ่งที่ องค์กรด้านสาธารณสุข ให้ความสำคัญมากขึ้น
ฟิลิปส์ มุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ เพื่อนำแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนมาใช้ เช่น โปรแกรม Refurbishment ที่เน้นการนำเครื่องมือแพทย์ กลับมาใช้ใหม่ (refurbished) ซึ่งช่วยลดการใช้ทรัพยากร และลดขยะ
10. เทคโนโลยีทางการแพทย์ รับมือการเปลี่ยนแปลงด้านอากาศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในหลายด้าน เช่น โรคที่เกิดจากความร้อน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และมลพิษทางอากาศ
ในปี 2025 เทคโนโลยีทางการแพทย์ จะเข้ามามีบทบาท ในการช่วยให้ระบบสาธารณสุข รับมือกับความท้าทายเหล่านี้ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่รองรับภัยพิบัติทางอากาศ การใช้พลังงานทดแทน และการฝึกอบรมบุคลากร เกี่ยวกับการจัดการโรค ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
–ScolioBuddy นวัตกรรมแอปฯ สัญชาติไทย ตรวจคัดกรองกระดูกสันหลังคด สู่เป้าหมายลดช่องว่างสุขภาพ
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…