ฉมา ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัว “Fruity-C” ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออร์แกนิคชนิดเม็ดเคี้ยวจากพืชสมุนไพรที่มีวิตามินซีธรรมชาติสูง สู่การปั้นสุดยอดนวัตกรรมพืชสมุนไพรออร์แกนิคไทย ต่อยอดสร้างมูลค่าสมุนไพรไทยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยี ชูเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์มีวิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนตี้ออกซิแดนท์ พกพาสะดวกทานได้ทุกที่ ทุกเวลา ตอบโจทย์ตลาดคนรักสุขภาพมาแรง นิยมบริโภคสมุนไพร และธรรมชาติบำบัด ดูแลรักษาสุขภาพ
ปรินดา ตั้งพิรุฬห์ธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฉมา แอ็สเซ็ท จำกัด เปิดเผยว่า เทรนด์สุขภาพ (Wellness) ได้รับความนิยมอย่างมากและจะได้รับความนิยมต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้บริโภคเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพ โดยผู้คนตระหนักถึงสุขภาพที่แข็งแรง ช่วยให้มีภูมิคุ้มกันที่ดีห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียั่งยืนรอบด้าน โดยเฉพาะเทรนด์การบริโภคสมุนไพร และธรรมชาติบำบัด เนื่องจากคนหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับการกิน ซึ่งมีผลต่อสุขภาพที่ดีจากภายในสู่ภายนอก เลือกรับประทานของที่ดีต่อร่างกาย อาทิ ผักและผลไม้ สมุนไพรออร์แกนิค เสริมภูมิคุ้มกัน ดูแลสุขภาพและร่างกาย จากแนวโน้มความต้องการดังกล่าว ฉมา ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสมุนไพรไทยออร์แกนิค จึงได้ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทีมผู้เชี่ยวชาญจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดเม็ดเคี้ยวจากพืชสมุนไพรที่มีวิตามินซีจากธรรมชาติไม่มีสารปรุงแต่ง ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้มีตัวเลือกบริโภควิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ สารฟีนอลิกและสารแอนโทไซยานินจากพืชสมุนไพรออร์แกนิค นับเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน นำจุดแข็งของสมุนไพรไทยมาต่อยอดและสร้างมูลค่าให้กับสุมนไพรไทยสู่ตลาดในประเทศและตลาดสากล
–ดีพร้อม ร่วมกับ สสส. ต่อยอดโครงการ SHAP เฟส 3 มุ่งสร้างองค์กรแห่งความสุข
“จากแนวคิดที่สำคัญดังกล่าว ผนวกกับจุดแข็งในด้านความพร้อมเรื่องสมุนไพร ซึ่งเป็นแหล่งผลไม้ที่มีวิตามินซีตามธรรมชาติสูง ทั้งหม่อน กระเจี๊ยบ มะนาวและมีฟาร์มเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มตั้งแต่การเพาะปลูก จนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวอย่างครบวงจร จึงได้ริเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินซีจากธรรมชาติ จากพืชออร์แกนิคในรูปแบบเม็ดเคี้ยว โดยใช้ส่วนเนื้ออบแห้ง เป็นส่วนผสมหลักและควบคุมคุณภาพด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และมาตรฐานการผลิตที่ดี โดยร่วมทำการวิจัยกับศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงการขยายต่อยอดจากการวิจัยไปสู่ระดับการผลิตในเชิงพาณิชย์ที่สถานปฏิบัติการนำร่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์และสร้างนวัตกรรมจากพืชสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Fruity-C รูปแบบเคี้ยวที่มีสารสำคัญ สะดวก เคี้ยวสนุกได้ทุกที่ ทุกเวลา” ปรินดา กล่าว
ด้าน รศ.ภก.ดร. พรชัย โรจน์สิทธิศักดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หนึ่งในภารกิจที่สำคัญคือ การช่วยสนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการที่ต้องการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรในประเทศ ซึ่งโจทย์ของบริษัทฯ สามารใช้เครื่องมือเครื่องจักรและเทคโนโลยีของทางคณะฯ ในการพัฒนาสูตรตำรับ และขยายขนาดการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรมได้ ภายใต้การรับรองมาตรฐานที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice: GMP) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว โดยโครงการนี้ เป็นโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 มีเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อทดลองขยายขนาดการผลิต ในระดับกึ่งอุตสาหกรรมเพื่อทดสอบพารามิเตอร์ต่าง ๆ ก่อนเข้าสู่ระดับอุตสาหกรรมต่อไป