ออมรอน เฮลธแคร์ เผยคนไทยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจปีละไม่ต่ำกว่า 30,000 คน รุกเปิดตัว OMRON Complete เครื่องวัดความดันโลหิตและวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ติดตามสุขภาพใกล้ชิด

ออมรอน เฮลธแคร์ เผยคนไทยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจปีละไม่ต่ำกว่า 30,000 คน รุกเปิดตัว OMRON Complete เครื่องวัดความดันโลหิตและวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ติดตามสุขภาพใกล้ชิด

ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) เปิดตัว OMRON Complete เครื่องวัดความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ช่วยให้คนไทยสามารถตรวจวัดหัวใจได้เองที่บ้าน หลังพบสถิติมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย ปี 2566 สูงถึง 349,126 ราย ด้านข้อมูลจาก WHO ระบุว่าหากทุกประเทศทั่วโลกสามารถยกระดับการเข้าถึงประสิทธิภาพในการรักษาได้ จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกได้มากถึง 76 ล้านคน

ยูซุเกะ กาโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) ประชากรทั่วโลก ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 4 ใน 5 รายทั่วโลก ถือเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก โดยพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ทั่วโลกมีภาวะความดันโลหิตสูง ระหว่างปี 1990 ถึง 2019 จำนวนผู้ที่มีภาวะนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คิดเป็นจำนวน 1.3 พันล้านคน โดยโรคนี้เป็นสาเหตุปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ไตวาย และนำไปสู่การเสียชีวิต เช่น โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และหากสามารถยกระดับการเข้าถึงและประสิทธิภาพในการรักษาได้ จะสามารถป้องกันการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกได้มากถึง 76 ล้านคน

สำหรับ OMRON Complete เป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดทั้งความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในเครื่องเดียว การผสานเทคโนโลยีนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามสุขภาพหัวใจได้อย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถตรวจพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือ AFib (Atrial Fibrillation) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งภาวะดังกล่าวมักจะตรวจพบได้ยากและไม่แสดงอาการเนื่องจากไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา

โดยผู้ป่วยที่มีอาการสามารถตรวจวัดค่าความดันโลหิตและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ ซึ่งการตรวจวัดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) เป็นประจำ มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือด (โรคสโตรก) และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

5 ปัจจัยเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง

ดร.สุรพันธ์ สิทธิสุข เลขาธิการสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและหลอดเลือด กล่าวว่า จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย ปี 2566 พบผู้ป่วยราว 349,126 ราย และมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 36,214 ราย โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้สูงขึ้น

นอกจากนี้สภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งความเร่งรีบและการแข่งขันสูง ยังส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ ปัจจุบันพบผู้ที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงถึง 5 เท่าจากภาวะปกติ และทำให้เกิดความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลวสูงได้มากถึง 2-3 เท่าอีกด้วย ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้และรณรงค์ในการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ

โดยพฤติกรรมเสี่ยง 5 ประการที่เป็นสาเหตุหลักในการพัฒนาโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่

  • การมีน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วน
  • การบริโภคอาหารเค็มเกินไป
  • การไม่ออกกำลังกายและไม่เคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน
  • ความเครียดจากการทำงานและปัจจัยทางเศรษฐกิจ
  • การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่

ประกอบกับการเดินทางไปโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลรัฐมีระยะรอคอยนานและแออัด ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการมีเครื่องมือแพทย์ที่ได้คุณภาพและมาตรฐานถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้คนไทยสามารถดูแลความดันโลหิตและหัวใจได้อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดและป้องกันโรคหลอดหัวใจและโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้อง เช่น เบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง โรคหัวใจ

เปิดตัวหนังสั้นสร้างความตระหนักโรคสโตรก

ปฐมา บุญรัตน์  ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางบริษัทฯ ได้จัดทำภาพยนตร์สั้นแนวสารคดี “The Sound of AFib”: เสียงดนตรีที่ทำให้คนตระหนักถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) เป็นสิ่งที่ถูกวินิจฉัยผิดและเข้าใจผิดบ่อยครั้ง OMRON จึงได้ทำการสำรวจเสียงหัวใจที่มีการเต้นผิดจังหวะ ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์สั้น “The Sound of AFib” ที่แสดงให้เห็นว่าเสียงที่เกิดขึ้นสามารถแสดงให้เห็นถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ได้อย่างไร ซึ่งนับเป็นภาพยนตร์สั้นแนวสารคดีที่มีแนวคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจุดประกายประเด็นเกี่ยวกับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib)  และได้ผสมผสานทำนองจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ มาร่วมถ่ายทอดผ่านนักแต่งเพลง โดยใช้โน้ตดนตรีเข้ามาสร้างสรรค์และถ่ายทอดให้เห็นว่าภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib)  กำลังมีปฏิกิริยาอย่างไรกับจังหวะการเต้นของหัวใจในผู้ป่วย ผลลัพธ์ได้ที่คือ เราได้ข้อมูลที่มีคุณค่าอย่างมากในการทำความเข้าใจว่าภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) สามารถทำอะไรกับจังหวะการเต้นของหัวใจของคุณได้บ้าง สิ่งนี้คือวิธีการตรวจสอบและฟังเสียงหัวใจของคุณที่ช่วยแจ้งเตือนคุณให้ทราบถึงภาวะความเสี่ยงสูงของโรคหลอดเลือดสมอง

จากปัจจัยของอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุทั่วโลก ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก ทำให้ความเสี่ยงของโรคสโตรก เพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้การวิจัยแสดงให้เห็นว่า 40% ของผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) จะไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยเหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ในชีวิตประจำวัน และอาจจะไม่ทราบถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจที่กำลังเผชิญอยู่ในทุกวัน

เด็กเหนื่อยง่าย-โตช้า เสี่ยง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แพทย์วิมุตเตือน อันตรายที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ ก่อนกระทบชีวิตลูกในระยะยาว

Scroll to Top