Healthcare

ออมรอน เฮลธแคร์ เผยคนไทยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจปีละไม่ต่ำกว่า 30,000 คน รุกเปิดตัว OMRON Complete เครื่องวัดความดันโลหิตและวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ติดตามสุขภาพใกล้ชิด

ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) เปิดตัว OMRON Complete เครื่องวัดความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ช่วยให้คนไทยสามารถตรวจวัดหัวใจได้เองที่บ้าน หลังพบสถิติมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย ปี 2566 สูงถึง 349,126 ราย ด้านข้อมูลจาก WHO ระบุว่าหากทุกประเทศทั่วโลกสามารถยกระดับการเข้าถึงประสิทธิภาพในการรักษาได้ จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกได้มากถึง 76 ล้านคน

ยูซุเกะ กาโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) ประชากรทั่วโลก ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 4 ใน 5 รายทั่วโลก ถือเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก โดยพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ทั่วโลกมีภาวะความดันโลหิตสูง ระหว่างปี 1990 ถึง 2019 จำนวนผู้ที่มีภาวะนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คิดเป็นจำนวน 1.3 พันล้านคน โดยโรคนี้เป็นสาเหตุปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ไตวาย และนำไปสู่การเสียชีวิต เช่น โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และหากสามารถยกระดับการเข้าถึงและประสิทธิภาพในการรักษาได้ จะสามารถป้องกันการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกได้มากถึง 76 ล้านคน

สำหรับ OMRON Complete เป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดทั้งความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในเครื่องเดียว การผสานเทคโนโลยีนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามสุขภาพหัวใจได้อย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถตรวจพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือ AFib (Atrial Fibrillation) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งภาวะดังกล่าวมักจะตรวจพบได้ยากและไม่แสดงอาการเนื่องจากไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา

โดยผู้ป่วยที่มีอาการสามารถตรวจวัดค่าความดันโลหิตและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ ซึ่งการตรวจวัดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) เป็นประจำ มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือด (โรคสโตรก) และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

5 ปัจจัยเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง

ดร.สุรพันธ์ สิทธิสุข เลขาธิการสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและหลอดเลือด กล่าวว่า จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย ปี 2566 พบผู้ป่วยราว 349,126 ราย และมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 36,214 ราย โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้สูงขึ้น

นอกจากนี้สภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งความเร่งรีบและการแข่งขันสูง ยังส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ ปัจจุบันพบผู้ที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงถึง 5 เท่าจากภาวะปกติ และทำให้เกิดความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลวสูงได้มากถึง 2-3 เท่าอีกด้วย ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้และรณรงค์ในการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ

โดยพฤติกรรมเสี่ยง 5 ประการที่เป็นสาเหตุหลักในการพัฒนาโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่

  • การมีน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วน
  • การบริโภคอาหารเค็มเกินไป
  • การไม่ออกกำลังกายและไม่เคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน
  • ความเครียดจากการทำงานและปัจจัยทางเศรษฐกิจ
  • การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่

ประกอบกับการเดินทางไปโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลรัฐมีระยะรอคอยนานและแออัด ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการมีเครื่องมือแพทย์ที่ได้คุณภาพและมาตรฐานถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้คนไทยสามารถดูแลความดันโลหิตและหัวใจได้อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดและป้องกันโรคหลอดหัวใจและโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้อง เช่น เบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง โรคหัวใจ

เปิดตัวหนังสั้นสร้างความตระหนักโรคสโตรก

ปฐมา บุญรัตน์  ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางบริษัทฯ ได้จัดทำภาพยนตร์สั้นแนวสารคดี “The Sound of AFib”: เสียงดนตรีที่ทำให้คนตระหนักถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) เป็นสิ่งที่ถูกวินิจฉัยผิดและเข้าใจผิดบ่อยครั้ง OMRON จึงได้ทำการสำรวจเสียงหัวใจที่มีการเต้นผิดจังหวะ ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์สั้น “The Sound of AFib” ที่แสดงให้เห็นว่าเสียงที่เกิดขึ้นสามารถแสดงให้เห็นถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ได้อย่างไร ซึ่งนับเป็นภาพยนตร์สั้นแนวสารคดีที่มีแนวคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจุดประกายประเด็นเกี่ยวกับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib)  และได้ผสมผสานทำนองจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ มาร่วมถ่ายทอดผ่านนักแต่งเพลง โดยใช้โน้ตดนตรีเข้ามาสร้างสรรค์และถ่ายทอดให้เห็นว่าภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib)  กำลังมีปฏิกิริยาอย่างไรกับจังหวะการเต้นของหัวใจในผู้ป่วย ผลลัพธ์ได้ที่คือ เราได้ข้อมูลที่มีคุณค่าอย่างมากในการทำความเข้าใจว่าภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) สามารถทำอะไรกับจังหวะการเต้นของหัวใจของคุณได้บ้าง สิ่งนี้คือวิธีการตรวจสอบและฟังเสียงหัวใจของคุณที่ช่วยแจ้งเตือนคุณให้ทราบถึงภาวะความเสี่ยงสูงของโรคหลอดเลือดสมอง

จากปัจจัยของอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุทั่วโลก ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก ทำให้ความเสี่ยงของโรคสโตรก เพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้การวิจัยแสดงให้เห็นว่า 40% ของผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) จะไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยเหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ในชีวิตประจำวัน และอาจจะไม่ทราบถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจที่กำลังเผชิญอยู่ในทุกวัน

เด็กเหนื่อยง่าย-โตช้า เสี่ยง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แพทย์วิมุตเตือน อันตรายที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ ก่อนกระทบชีวิตลูกในระยะยาว

supersab

Recent Posts

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

13 minutes ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

33 minutes ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

39 minutes ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

43 minutes ago

เปิดเทรนด์ “Conscious Travel” สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…

53 minutes ago

ไชน่า ยูนิคอม ผนึกกำลัง หัวเว่ย เร่งเครื่อง 5G-Advanced ทั่วเอเชีย

ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…

1 hour ago