จากการศึกษาข้อมูลล่าสุดที่จัดทำโดย OMRON Healthcare Singapore เปิดเผยว่า การหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านเป็นประจำจะสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยพบว่าผู้ที่หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตของตนที่บ้านมีแนวโน้มที่จะตรวจพบและจัดการดูแลอาการความดันโลหิตสูงของตน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดสมอง
การศึกษานี้อ้างอิงจากฐานผู้ใช้งานเครื่องวัดความดันที่บ้านที่ใช้งานอยู่ประจำราว 340 คน และการอ่านค่าความดันโลหิตมากกว่า 43,000 รายการในประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564 ถึงตุลาคม พ.ศ.2565 ฐานข้อมูลนี้ประกอบด้วยผู้ใช้ที่ใช้งานเครื่องวัดความดันของ OMRON ที่มีความสามารถเชื่อมต่อแบบดิจิทัลด้วยบลูทูธ และติดตามความดันโลหิตด้วยแอพ OMRON connect รวมถึงโปรแกรม Health Gift ของ OMRON ที่ติดตั้งอยู่ภายในแอพนี้
จากการติดตามตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าที่อ่านได้ในช่วงก่อนและหลังการลงทะเบียน (3 เดือนก่อนลงทะเบียน,หลังการลงทะเบียนในเดือนที่ 1, 3, 6 และ 12) เผยให้เห็นว่าค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure – SBP) โดยเฉลี่ยลดลง 10 มิลลิเมตรปรอทในกลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่มีความดันโลหิตซิสโตลิกพื้นฐานตั้งแต่ 135 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ภายใน 12 เดือน การศึกษายังแสดงให้เห็นว่า 80% ของผู้ใช้กลุ่มนี้มีการปรับปรุงค่าความดันโลหิตที่ดีขึ้น โดยพบว่า 55% มีความดันโลหิตซิสโตลิกลดลงสู่ระดับปกติภายในเดือนที่ 12 หลังจากการติดตามตรวจวัด
จากรายงานการศึกษาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการลดค่าความดันโลหิตและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองระบุว่าทุก ๆ 5 มิลลิเมตรปรอทที่ลดลงของความดันโลหิตซิสโตลิก (SBP) จะลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดของโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจวายและการเสียชีวิตลง 18% (ด้วยช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% [CI] 12 -24%) ในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 55 ปี, ลดลง 9% (5-12%) ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 55-74 ปี,ลดลงได้ 9% (4-13%) ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 75-84 ปี และลดลง 1% (-13 ; +12) ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป
ดังนั้นจากการผลการศึกษาข้อมูลนี้จึงเน้นย้ำให้เห็นว่าการตรวจวัดและติดตามค่าความดันโลหิตที่บ้านด้วยความช่วยเหลือของแอพอยู่เสมอจะทำให้เราสามารถระบุค่าความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงไปจนผิดปกติได้ หากการเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับการแก้ไขและจัดการด้วยความช่วยเหลือจากแพทย์ ก่อนที่จะมีอาการรุนแรงจะเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหลอดเลือดสมอง
“ผมเชื่อว่าการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านมีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและการจัดการโรคร่วมอื่นๆ ที่ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และภาวะสมองเสื่อม การตรวจวัดอย่างสม่ำเสมอซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากอุปกรณ์ดิจิทัลที่แม่นยำช่วยให้สามารถตรวจพบปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการควบคุมดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการตัดสินใจอย่างรอบครอบภายใต้คำแนะนำของแพทย์ การมั่นตรวจวัดค่าความดันโลหิตเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรทำเป็นประจำทุกวันในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว” วาเลอรี ไฟกิน (Valery Feigin) ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาและระบาดวิทยาและผู้อำนวยการ NISAN กล่าว
ออมรอน เฮลธ์แคร์ (OMRON Healthcare) หนึ่งในผู้นำด้านการตรวจสุขภาพที่บ้าน เป็นผลิตภัณฑ์แนวหน้าในการส่งเสริมความสำคัญของการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน บริษัทได้พัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดความดันโลหิตแบบดิจิทัลซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ สามารถเชื่อมต่อได้ และมีราคาย่อมเยาสำหรับผู้คนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใช้เพื่อตรวจสอบความดันโลหิตที่บ้าน ในปีนี้บริษัทได้ฉลองครบรอบ 50 ปีของการเปิดตัวเครื่องวัดความดันโลหิต และจะยังคงทำงานตามวิสัยทัศน์ของบริษัทในการทำให้ “โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจลดลงจนเหลือศูนย์ (จำนวนผู้มีอาการป่วยเป็นศูนย์)” ทั่วโลก
“การตรวจวัดความดันโลหิตแบบดิจิทัลที่บ้านเป็นตัวเปลี่ยนเกมในการต่อสู้กับโรคหลอดเลือดสมอง โดยเริ่มจากการจัดการความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลมากที่สุดต่อโรคหลอดเลือดสมอง” กล่าวโดย ฟรานส์ เวลเกอร์ส (Frans Velkers), กรรมการผู้จัดการของ OMRON Healthcare Singapore และเสริมว่า “อุปกรณ์ของเรามีการเชื่อมต่อ ความแม่นยำ และใช้งานง่าย ทำให้ผู้คนตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำได้ง่าย และยังแจ้งให้แพทย์และผู้ดูแลทราบได้อย่างง่ายดายด้วยความช่วยเหลือของแอพ OMRON Connect ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ทำให้สามารถจัดการสถานการณ์ด้านสุขภาพได้ดีขึ้น นำไปสู่อาการด้านสุขภาพที่เลวร้ายน้อยลง และด้วยเหตุนี้จึงช่วยให้เราสามารถขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของเราที่มุ่งมั่น “Going for Zero” เพื่อลดอาการที่เลวร้ายทางสุขภาพของผู้คนให้เหลือแป็นศูนย์”
OMRON ยังมีการให้รางวัลแก่ผู้ใช้ผ่านโปรแกรม OMRON Health Gift ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้ผู้ใช้สร้างและรักษาอุปนิสัยที่ดีต่อสุขภาพในการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำอีกด้วย
มีผลการศึกษาหลายฉบับเน้นย้ำว่าความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และภาวะสมองเสื่อม การลดความดันโลหิตช่วยลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม ความดันสูงยังคงเป็นภาระปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย โดยมีรายงานการรับรู้ที่ต่ำและการปฏิบัติที่น้อยเกินไปในหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย มีการประมาณว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3.7 ล้านคนในแต่ละปีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และโอเชียเนีย เมื่อพิจารณาถึงลักษณะที่ไม่แสดงอาการของโรคความดันโลหิตสูงและภาระโรคที่ชัดเจน การวัดความดันโลหิตเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน (HBPM) ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในการตรวจสอบความดันโลหิตและอำนวยความสะดวกในการตรวจหาโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อรวมกับการรักษาด้วยยาที่เหมาะสมแล้วเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านจะมีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และภาวะสมองเสื่อมได้
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์ OMRON จึงได้เข้าร่วมภารกิจเพื่อส่งเสริมการคัดกรองโรคความดันโลหิตโดยการบริจาคอุปกรณ์ผ่าน May Measurement Month program ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา OMRON ได้บริจาคเครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน 23,249 เครื่องให้กับสมาคมทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูงหลายแห่งทั่วโลก เพื่อสนับสนุนการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรค
AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…
ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…
ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…
ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…
ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โครงการ Super AI Engineer Season 5 ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเป็นการรวมพลังครั้งสำคัญจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้าน AI ของไทยให้มีทักษะและความสามารถที่ทัดเทียมนานาชาติ…