รอยัล ฟิลิปส์ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เผยถึงผลการสำรวจจากรายงาน Philips Future Health Index (FHI) 2023 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) ในหัวข้อ “Taking Healthcare Everywhere” เป็นผลสำรวจที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 โดยทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกือบ 3,000 คน ครอบคลุมผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ และบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่จาก 14 ประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งจากผลสำรวจพบว่าโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยการนำเทคโนโลยีและข้อมูลมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อให้การดูแลรักษามีความใกล้ชิดกับตัวผู้ป่วยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นไปอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในระหว่างที่ต้องเผชิญกับภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์
แครอไลน์ คลาร์ก ประธานและรองประธานบริหาร ฟิลิปส์ เอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า “เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ระบบสาธารณสุขให้บริการจากส่วนกลางหรือโรงพยาบาลเท่านั้น แต่จากผลสำรวจล่าสุด พบว่าผู้บริหารในวงการเฮลท์แคร์ในเอเชีย-แปซิฟิกส่วนมาก กำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพื่อรับมือกับปัญหาด้านบุคลากรและต้นทุนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ป่วย เพราะเราเล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่จะมีการกระจายบริการด้านสาธารณสุขออกไป ด้วยการนำสมาร์ทและดิจิทัลเฮลท์เทคโนโลยี (Smart and Digital Health Technology) และข้อมูลมาใช้เพื่อเชื่อมต่อบริการสาธารณสุขให้เข้าใกล้ผู้ป่วยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ ให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้ทุกที่ทุกเวลา”
นอกจากขยายการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและปรับปรุงผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยแล้ว รายงาน FHI ยังเผยให้เห็นว่าการนำโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่มาใช้ จะช่วยให้ผู้บริหารแถวหน้าของวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคนี้ สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น โดยสองในสาม (66%) ของผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์และบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่บอกว่า พวกเขามีความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่ ในขณะที่ 63% เชื่อว่าการดูแลรักษาผู้ป่วยสามารถดำเนินการไปได้พร้อมๆ กับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
ผลสำรวจยังเผยให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกต่อกำลังใจและการรักษาบุคลากรไว้ในองค์กร โดยบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่หวังว่าโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่จะช่วยให้พวกเขามีสมดุลในการทำงาน (work-life balance) ที่ดีขึ้น (58%) และสร้างความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น (56%) มากกว่าโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบเดิมๆ
นอกจากนี้ 44% ของกลุ่มตัวอย่างในภูมิภาคนี้ยังเห็นว่าโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่มีประโยชน์ในด้านการยอมรับและปฏิบัติตามของผู้ป่วยในการรักษา ในขณะที่ 36% เห็นว่าช่วยให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ป่วยได้ดีขึ้น และ 35% เห็นว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ (เช่น ระยะเวลารอคอยในการรักษาที่สั้นลง, แพทย์ได้ตรวจและพบปะผู้ป่วยมากขึ้น) ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อพัฒนาด้านสุขภาวะของประชากร และยกระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเฮลท์แคร์มากขึ้น
การนำโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่มาใช้ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้รับแรงหนุนจากการลงทุนเพิ่มในเทคโนโลยีดิจิทัลเฮลท์ และการขยายของระบบออนไลน์ (virtual care) ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบนิเวศด้านเฮลท์แคร์
48% ของผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ลงทุนในบันทึกดิจิทัลด้านสุขภาพมากที่สุด และเกือบสามในสี่ (74%) ของผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคมีแผนที่จะลงทุนในปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอีก 3 ปีข้างหน้า นำโดยสิงคโปร์ (84%) ตามด้วยอินโดนีเซีย (76%) และออสเตรเลีย (63%) เพื่อนำไปใช้ในการคาดการณ์ผลลัพธ์ (39%) เช่น วิเคราะห์แนวโน้มผู้ป่วยต่อการตอบสนองต่อแผนการดูแลรักษา เพื่อความแม่นยำในการดูแลรักษาที่มากขึ้น เพื่อนำไปใช้สนับสนุนในการตัดสินใจทางคลินิก (35%) เช่น ให้คำแนะนำในการตรวจวินิจฉัยหรือการรักษา การแจ้งเตือนล่วงหน้า การตรวจหาโรคแบบอัตโนมัติ ตัวชี้แนะการตัดสินใจทางคลินิก เป็นต้น และเพื่อนำไปใช้ในการบูรณาการด้านวินิจฉัย (33%) เช่น ช่วยประมวลผลการตรวจวินิจฉัยจทางคลินิกจากเครื่องมือที่แตกต่าง อาทิ การตรวจด้วยภาพและพยาธิวิทยา ประวัติทางคลินิก เป็นต้น
ผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ของภูมิภาคนี้ผลักดันการกระจายบริการด้านสาธารณสุขที่นอกเหนือจากในโรงพยาบาล ด้วยการขยายการดูแลรักษาผู้ป่วยผ่านระบบออนไลน์ (virtual care) ไปยังส่วนต่างๆ ของระบบนิเวศด้านเฮลท์แคร์ซึ่งไม่เฉพาะสำหรับการตรวจวินิจฉัยเท่านั้น โดยครึ่งหนึ่ง (51%) ของผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก บอกว่า สถานบริการด้านสาธารณสุขของพวกเขาให้บริการดูแลผู้ป่วยหนักหรือผู้ป่วยวิกฤตผ่านระบบออนไลน์แล้ว และ 42% บอกว่าพวกเขาจะให้บริการเช่นนั้นในอนาคต ในขณะที่ 62% ของผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ของภูมิภาคนี้บอกว่า พวกเขาให้บริการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินที่บ้านแล้ว ผ่านทั้งระบบออนไลน์และการพบปะตัวบุคคล และ 31% บอกว่าพวกเขาวางแผนที่จะทำเช่นนั้นในอีก 3 ปีข้างหน้า
สำหรับประเทศไทย มากกว่าร้อยละ 45 ของหน่วยบริการด้านเฮลท์แคร์ได้ถูกพัฒนาไปสู่การเป็น Smart Hospitals โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในโรงพยาบาล และมีการตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลและบริการด้านเฮลท์แคร์สู่การเป็น Smart Hospital[1]
นอกจากนี้ การนำโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่มาประยุกต์ใช้ กว่าครึ่ง (58%) ของผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์และบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะที่จำเป็น โดยเกือบหนึ่งในสามของผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ ระบุว่าทักษะในการอ่านและแปลข้อมูล (29%) ความสมัครใจของบุคลากรที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ (29%) ทั้งสองเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จในการนำโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่มาใช้ ในขณะที่ 44% ของบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ยอมรับว่าพวกเขาต้องการการฝึกอบรมเพิ่มเติมทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยในการตรวจวินิจฉัย (41%) และเพื่อช่วยลดภาระงาน (40%) ซึ่งถือเป็นเหตุผลสำคัญในการผลักดันให้บุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้นด้วย
ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรกำลังเป็นปัญหาสำคัญของวงการสาธารณสุขทั่วโลก จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขเผยอัตราแพทย์ในประเทศไทยคือแพทย์ 0.5 คน ต่อประชากร 1,000 คน ในขณะที่ WHO ระบุไว้ว่าอัตราที่เหมาะสมคือแพทย์ 2.8 คนต่อประชากร 1,000 คน นอกจากนี้ แผนกำลังคนตามการจัดระบบบริการโดยเขตสุขภาพแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์มากกว่า 38,174 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นแพทย์ 6,115 ตำแหน่งและเป็นพยาบาล 28,174 ตำแหน่ง
จากรายงานพบว่าผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สองในสาม (67%) ของพวกเขา (เทียบกับ 56% ทั่วโลก) มีการใช้หรือมีแผนที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเฮลท์เพื่อลดผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะผู้บริหารในอินโดนีเซีย (77%) และสิงคโปร์ (75%) ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ 3 อันดับแรกของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการลดผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรจากความเห็นของผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ เทคโนโลยีที่สามารถใช้งานบนคลาวด์ได้ เพื่อรองรับการเข้าถึงข้อมูลจากที่ไหนก็ได้ (44%) เทคโนโลยีโซลูชันส์ที่เชื่อมต่อภายนอกโรงพยาบาลได้ (37%) และเทคโนโลยีด้านการจัดการข้อมูล อาทิ PACS, บันทึกดิจิทัลด้านสุขภาพ, และกระบวนการจัดการผู้ป่วยอัตโนมัติ (35%)
การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลและโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่สามารถช่วยดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้ บุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ระบุว่า การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ (39%) และโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่ที่เชื่อมต่อการดูแลที่แตกต่างกัน (33%) เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกสถานที่ทำงานของพวกเขา โดย 33% เห็นว่าแชทบอท (Chat bots) สามารถช่วยตอบคำถามพื้นฐานทางการแพทย์ให้กับผู้ป่วยได้ 28% เห็นว่าการถ่ายโอนข้อมูลด้านเฮลท์แคร์ระหว่างโรงพยาบาลเป็นเรื่องสำคัญ และ 26% เห็นถึงความสามารถในการเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยได้จากทุกที่ ทั้งหมดนี้บุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่เห็นเหมือนกันว่า เป็นเทคโนโลยีอันดับต้นๆ ที่จะมาช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานของพวกเขาได้
ความยั่งยืนยังคงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แต่การไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสม (43%) การไม่มีมาตรฐานที่ตั้งไว้ในวงการเฮลท์แคร์ (37%) และขาดความสนใจจากบุคลากร (32%) ถือเป็นความท้าทายสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ไม่สามารถดำเนินการโครงการด้านความยั่งยืนได้ ดังนั้นกลุ่มผู้บริหารในวงการจึงเห็นว่าการสร้างกรณีศึกษาทางธุรกิจเพื่อริเริ่มดำเนินงานโครงการ (42%) และการแชร์ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ (38%) จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรได้ นอกจากนี้ พวกเขายังเชื่อว่าการทำงานร่วมกันหรือปรึกษากับพาร์ทเนอร์เพื่อริเริ่มหรือสนับสนุนโครงการด้านความยั่งยืน และการสรรหาบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะทางเพิ่มขึ้น (35% ตามลำดับ) จะเป็นประโยชน์ต่อการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้
“ระบบนิเวศเฮลท์แคร์ที่สมาร์ทและยั่งยืน มาพร้อมโซลูชันส์ดิจิทัลที่กำหนดนิยามใหม่ในด้านประสบการณ์ของการดูแลผู้ป่วยที่เน้นให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และด้านการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในอนาคต เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่ได้ร่วมงานกับพันธมิตรด้านเฮลท์แคร์ของเราในการริเริ่มการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่ของทศวรรษหน้า นอกจากการนำเสนอนวัตกรรมที่เหมาะสม และการฝึกอบรมที่ทันสมัย ซึ่งจำเป็นต่อการปลดล็อกศักยภาพของการดูแลผู้ป่วยได้ทุกที่ทุกเวลาแล้ว เรายังตระหนักดีถึงการนำเสนอโซลูชันส์ การดำเนินงาน และโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อมลภาวะทางอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างความยั่งยืนแห่งอนาคตในวงการเฮลท์แคร์ได้” แครอไลน์ คลาร์ก กล่าวเสริม
ฟิลิปส์ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อนำเสนอโมเดลการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่ และสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในระยะยาวเพื่อส่งมอบการดูแลผู้ป่วยที่สร้างสรรค์ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนระบบสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการพัฒาไปสู่ Smart Hospital ที่เชื่อมต่อผู้คน ข้อมูล และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อบรรลุเป้าหมาย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ปรับปรุงประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย 2) ยกระดับสุขภาพส่วนบุคคลและประชากร 3) ปรับปรุงชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และ 4) ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อคน นอกจากนี้ การบริการ การอัปเกรด นวัตกรรมและการดำเนินงานที่ยั่งยืน ตลอดจนการฝึกอบรมและการศึกษา คือ กุญแจสู่ความสำเร็จในระยะยาวในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ฟิลิปส์จึงพร้อมนำเสนอระบบที่ครอบคลุมและบูรณาการ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์แบบสมาร์ท ซอฟต์แวร์และการบริการ ที่สามารถแก้ไขปัญหาและความท้าทายที่ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขกำลังเผชิญ และสามารถผลักดันการปฏิรูปด้านดิจิทัลได้อย่างเต็มความสามารถ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยสามารถเยี่ยมชมได้ที่ Future Health Index methodology และยังสามารถเข้าถึงรายงาน Future Health Index 2023 ฉบับเต็มได้ที่ Philips Future Health Index 2023
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…