ช่วงปลายฝนต้นหนาวนับเป็นเวลาที่เรามีโอกาสป่วยได้มากที่สุด เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวน ช่วงบ่ายร้อนอบอ้าว ช่วงเย็นฝนตก แถมความชื้นและลมฝนก็มักพัดพาเอาแบคทีเรียและไวรัสมาทำให้เราป่วยได้ง่าย ๆ โรคฮิตช่วงหน้าฝนสำหรับคนทุกวัยจึงหนีไม่พ้น ‘ไข้หวัดทั่วไป’ ที่มักมีอาการไม่รุนแรงและหายได้เองในไม่กี่วัน แต่หากใครโชคไม่ดีเจอเชื้อไวรัส ‘ไข้หวัดใหญ่’ ก็ต้องป่วยซมด้วยอาการที่คล้ายไข้หวัดแต่รุนแรงกว่าหลายเท่า โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ ล่าสุดกรมควบคุมโรคเผยว่าปี 2566 คนไทยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ไปแล้วกว่า 200,000 รายและยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงเพราะคนไทยยังไม่มี ‘ภูมิคุ้มกัน’ ไข้หวัดใหญ่ วันนี้ นพ. กรธัช อชิรรุจิกร อายุรศาสตร์โรคเลือด ศูนย์อายุรกรรม และ พญ. สุธิดา ชินธเนศ กุมารแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบการหายใจในเด็ก ศูนย์กุมารเวช รพ.วิมุต จะมาอธิบายอาการและอันตรายของโรคไข้หวัดใหญ่ พร้อมแนะนำแนวทางการป้องกันเพื่อให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตอย่างแข็งแรงปลอดภัยในช่วงสิ้นปีนี้
‘ไข้หวัดใหญ่’ อาการรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไปหลายเท่า!
โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับไวรัสที่ชื่อว่า “อินฟลูเอนซา” (influenza) ซึ่งมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์อยู่ 4 สายพันธุ์ โดยโรคสามารถติดต่อด้วยการสัมผัสสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เช่น การรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วยโดยไม่ใช้ช้อนกลางและการพูดคุยใกล้ชิดกับผู้ป่วย เป็นต้น โดย นพ. กรธัช อชิรรุจิกร อายุรศาสตร์โรคเลือด ศูนย์อายุรกรรม เล่าถึงอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ว่า “ผู้ป่วยจะมีอาการที่คล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ และมีน้ำมูก แต่จะมีอาการรุนแรงอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ มีไข้สูง หนาวสั่น ไอหนักจนนอนไม่ได้ ปวดหัวมาก ปวดตัว น้ำมูกเยอะแน่นจมูก บางรายอาจมีอาการหายใจติดขัด หอบเหนื่อย และแน่นหน้าอก ร่วมด้วย”
ห่างไกล ‘ไข้หวัดใหญ่’ ง่าย ๆ ด้วยตัวเรา
การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มักจะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อเราใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วย ซึ่งถ้าคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่ทำงานติดเชื้อ ก็จะแพร่เชื้อสู่คนรอบข้างได้ง่าย ๆ โดยแพทย์ รพ.วิมุต แนะนำวิธีป้องกันง่าย ๆ ได้แก่ การรักษาสุขอนามัยโดยใช้แนวทาง ‘กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ’ ตลอดจนการใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ใกล้กับผู้ป่วย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้
เด็กเล็กเป็นแล้วอาการหนัก! แพทย์แนะพ่อแม่พาไปฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่ 6 เดือน
“ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่นั้นจะแตกต่างกันไป บางคนอาจมีอาการรุนแรงมากหรือมีอาการแทรกซ้อน เช่น โรคปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และโรคสมองอักเสบ ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว” พญ. สุธิดา ชินธเนศ กุมารแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบการหายใจในเด็ก กล่าวพร้อมเสริมว่า “ในเด็ก ๆ ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะจะมีไข้สูงถึง 39 – 40 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3 – 4 วัน อาจมีอาการหนาวสั่นสะท้านร่วมด้วย บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ ซึ่งถือว่าอันตรายมากและต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด”
–บำรุงราษฎร์ ชูความพร้อม ‘ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ’ ตรวจวินิจฉัยรักษาได้ครอบคลุมและแม่นยำตรงจุด
ด้วยอาการที่รุนแรงในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อผ่อนหนักเป็นเบา ลดอาการรุนแรงเมื่อป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ “วัคซีนสามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน โดยควรฉีดเป็นประจำทุกปี เพราะแต่ละปี วัคซีนจะมีการพัฒนาตามการกลายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่อยู่เสมอ ส่วนในเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี กรณีเริ่มให้วัคซีนเป็นปีแรก จะต้องฉีด 2 ครั้ง ครั้งละ 1 เข็มห่างกัน 1 เดือน แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาหลายปีก็สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้โดยไม่ต้องฉีดหลายเข็ม” พญ. สุธิดา ชินธเนศ อธิบาย
ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่การป้องกันการรับเชื้อ เพราะทุกคนสามารถรับเชื้อไวรัสได้ตลอดเวลา แต่การรับวัคซีนช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับไวรัสและการกลายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง หรือในบางคนอาจจะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดร่วมกับวัคซีนอื่น ๆ ได้ โดยต้องฉีดคนละตำแหน่ง และควรฉีดห่างจากวัคซีนอื่น ๆ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ง่ายต่อการวินิจฉัยในกรณีที่มีการแพ้วัคซีน ซึ่งกลุ่มที่ไม่ควรควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ผู้ที่แพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่รุนแรง ผู้มีอาการปลอกประสาทอักเสบหลังจากได้รับวัคซีน และผู้ที่แพ้ไข่รุนแรง
“โรคไข้หวัดใหญ่ถือเป็นภัยร้ายที่เราไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอย่างเด็ก ๆ ที่จะมีอาการรุนแรงกว่าคนอื่น แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยและฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันเป็นประจำทุกปี ผู้ที่มีบุตรหลานก็สามารถพาไปรับวัคซีนได้ตั้งแต่ 6 เดือน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ให้สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ในระยะยาว” พญ.สุธิดา ชินธเนศ กล่าวทิ้งท้าย
ผู้ที่สนใจต้องการปรึกษาแพทย์โรงพยาบาลวิมุต สามารถติดต่อได้ที่ ชั้น 3 ศูนย์อายุรกรรม หรือโทรศัพท์นัดหมาย 02-079-0030 เวลา 07.00-20.00 น. หรือสามารถเรียกรถฉุกเฉินได้ที่ เบอร์โทร 02-079-0191 และศูนย์กุมารเวช ชั้น 3 โทร. 02-079-0038 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 20.00 น.หรือใช้บริการ Telemedicine ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่าน ViMUT Application คลิก
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…