Industrial

สภาอุตฯ ร่วม 3 สมาคมประกาศจุดยืนด้านนวัตกรรม – สิ่งแวดล้อม จับมือเมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย ดึงเครือข่าย 200 ยักษ์ใหญ่ตอกย้ำจุดแข็ง

บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย พร้อมด้วย สมาคมการพิมพ์ไทย สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โชว์ความพร้อมการจัดงาน “Pack Print International 2022 และ Corrutec Asia 2022” กิจกรรมแสดงสินค้านานาชาติด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์การพิมพ์ และกระดาษลูกฟูกที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาค ที่จะช่วยตอกย้ำความแข็งแกร่งทั้ง 3 อุตสาหกรรมของไทย และเป็นพื้นที่แสดงนวัตกรรมสุดล้ำจาก 200 บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก

ทั้งนี้ ยังได้มีการเผยถึงแนวทางสร้างการเติบโตในอุตสาหกรรมการพิมพ์ การบรรจุภัณฑ์ และกระดาษลูกฟูกที่ทุกภาคส่วนมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม และการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ โดยในส่วนการภาคบรรจุภัณฑ์จะให้ความสำคัญกับ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตกว่าร้อยละ 6.2 หรือ 9 ล้านล้านบาท และส่งเสริมการออกแบบให้มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายภาคการพิมพ์กับการมุ่งเน้นใช้เทคโนโลยี เช่น การพิมพ์ดิจิทัล การพิมพ์ 3D การพิมพ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

เกอร์นอท ริงลิ่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย กล่าวว่า การฟื้นตัวของกำลังซื้อ กำลังการผลิต การตลาด และการโฆษณา เป็นอานิสงส์สำคัญสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ การบรรจุภัณฑ์ และวัสดุที่เกี่ยวข้อง และยังส่งผลให้อุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาภาคส่วนดังกล่าวจำเป็นต้องสรรหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อใช้แข่งขันทางธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการให้สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ในช่วงปลายปีนี้จึงได้มีการจัดมหกรรมการพิมพ์นานาชาติและกระดาษลูกฟูกแห่งภูมิภาคเอเชีย หรือ “Pack Print International 2022 and Corrutec Asia 2022” เวทีนำเสนอเทคโนโลยีอัจฉริยะระดับโลกที่เป็นประโยชน์ต่อหลากหลายอุตสาหกรรม และพื้นที่เพื่อการยกระดับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ การพิมพ์ และกระดาษลูกฟูกให้เติบโตได้บนเศรษฐกิจวิถีใหม่ พร้อมตอกย้ำประเทศไทยที่ยังคงเป็นศูนย์กลางของ 3 อุตสาหกรรมนี้

ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้าด้วย 5G และเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัว

Pack Print International 2022 and Corrutec Asia 2022 ถือเป็นมหกรรมด้านนวัตกรรมการพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ และกระดาษลูกฟูกที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย โดยมีความตั้งใจที่จะให้เวทีดังกล่าวทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางระหว่างผู้จัดจำหน่าย ผู้ซื้อ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมโอกาสด้านธุรกิจ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเสริมความสามารถให้กับภาคการผลิตไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดระดับภูมิภาค ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นครั้งล่าสุดในปี 2019 ได้รับผลตอบรับที่ดีจากทั้งผู้เข้าชมในไทย และต่างประเทศ ด้วยสถิติผู้เข้าชมเฉียด 20,000 คน จาก 62 ประเทศทั่วโลก และในปีนี้ มั่นใจว่ายังคงจะได้รับความสนใจ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังมองหาทั้งโซลูชันการพิมพ์เชิงพาณิชย์ การผลิตบรรจุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ที่รองรับการผลิตและการค้าในบริบทใหม่ อีกทั้งยังช่วยเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ ในห่วงโซ่พร้อมรับกับการแข่งขันในปี 2023

ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การพัฒนาเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลใหม่ๆ ต่างเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่จากเดิมนิยมซื้อสื่อสิ่งพิมพ์ ไปเป็นการบริโภคสื่อดิจิทัลแทนมากขึ้น จนทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์ต่างต้องถูก Disrupt จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาทดแทนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามภายใต้วิกฤตก็ยังมีโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ จากการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ที่ปี 2564 มีมูลค่าการค้าสูงถึง 4.01 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.11% จากปี 2563 ทำให้เกิดความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างมากตามไปด้วย

ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์ต่างปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทั้งด้านความแข็งแรงทนทาน การใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถย่อยสลายได้ ตลอดจนมีการนำความคิดสร้างสรรค์มาออกแบบเป็นบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ที่มีความสวยงาม ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์อีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์จึงยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ E-Commerce ที่เป็นเทรนด์ในปัจจุบัน

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ทั้งด้วยการประสานงานในเชิงนโยบายจากรัฐในการพัฒนาผู้ประกอบการ รวมทั้งผลักดันองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่อให้กลุ่มผู้ผลิตสามารถปรับตัวได้ทันกับกระแสโลก นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายระหว่างธุรกิจ โดยมีเวทีที่สำคัญอย่าง มหกรรมการพิมพ์นานาชาติและกระดาษลูกฟูกแห่งภูมิภาคเอเชีย ที่จะเชื่อมโยงให้กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับทราบและเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ พร้อมกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในอนาคตต่อไป

บรรจุภัณฑ์ปรับตัวได้ดี

ด้าน ประเสริฐ หล่อยืนยง นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย กล่าวว่า ในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา บรรจุภัณฑ์ยังคงปรับตัวได้ดี ซึ่งส่วนสำคัญมาจากความต้องการใช้จากธุรกิจต่างๆ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค การขยายตัวของอีคอมเมิร์ซ และอีกส่วนหนึ่งคือการปรับตัวของผู้ผลิตที่รู้เท่าทันกับกระแสโลกที่หันมาใช้นวัตกรรมการออกแบบ และมีแนวทางการบริหารต้นทุนภายใต้สภาวะเงินเฟ้อ – ราคาน้ำมันผันผวนที่ดีขึ้น

โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ภาคอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออก 18,162 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 18.34 ส่วนในไตรมาสที่ 2 มูลค่าการส่งออกบรรจุภัณฑ์ มีมูลค่า 19,026 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 22.03 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก

ส่วนในไตรมาสที่ 3 – 4 คาดการณ์ว่า ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายน่าจะยังคงขยายตัวได้ เนื่องจากเศรษฐกิจของคู่ค้าและในประเทศไทยที่สามารถควบคุมการระบาดของโรคโควิด – 19 ได้ดีขึ้น การเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบในภูมิภาคอื่น ๆ รวมถึงความเชื่อมั่นในด้านกำลังซื้อซึ่งจะเป็นอานิงส์ให้เกิดการผลิตบรรจุภัณฑ์และขยายการซื้อขายได้ทั้งในและต่างประเทศ

แม้ไทยจะเป็นผู้ส่งออกสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ในอาเซียน แต่สิ่งที่ยังต้องพัฒนาให้ดีขึ้นคือ เรื่องของปรับตัวตามตามกระแสโลก โดยเฉพาะจากปัญหาโลกร้อน ภัยพิบัติ การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีส่วนใกล้ชิดกับการผลิตบรรจุภัณฑ์โดยตรง ซึ่งผู้ผลิตต้องเข้มงวดกับโยบายเหล่านี้ให้มากขึ้น

ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินงานของสมาคมได้เน้นย้ำให้ผู้ประกอบการในเครือข่ายให้ความสำคัญกับ บรรจุภัณฑ์รีไซเคิล บรรจุภัณฑ์ทดแทนจากวัสดุธรรมชาติ และหมึกพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมูลค่าของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตกว่าร้อยละ 6.2 หรือ 9 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เช่น การปรับลดวัสดุให้น้ำมีน้ำหนักเบาเพื่อลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์และการขนส่ง การเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้มากกว่าการเป็นหีบห่อหรือบรรจุสินค้า การส่งเสริมงานวิจัยเพื่อยกระดับความแข็งแกร่งของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมิติใหม่เหล่านี้ จะถูกรวบรวมไว้ที่ มหกรรมบรรจุภัณฑ์ การพิมพ์นานาชาติและกระดาษลูกฟูกแห่งภูมิภาคเอเชีย เพื่อให้ผู้ประกอบการอื่นๆ สามารถเรียนรู้และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ

อุตสาหกรรมการพิมพ์กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

พงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช นายกสมาคมการพิมพ์ไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมการพิมพ์มีส่วนกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีความน่าสนใจในเชิงการตลาด และการโฆษณา โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบดิจิทัลที่ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในวงการพิมพ์ และกำลังจะเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคตเนื่องจากให้ผลงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ คมชัด ติดทนนาน พิมพ์ได้ในปริมาณมากและรวดเร็ว ทันต่อความต้องการสินค้าที่หลากหลายของผู้บริโภค โดยยังรวมไปถึงวัสดุการพิมพ์ที่ช่วยลดผลกระทบต่างๆ เช่น การใช้หมึกพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หมึกพิมพ์ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าเทรนด์ที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกคือ เทรนด์ปัญญาประดิษฐ์ ที่เป็นการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาทำงานเพื่อเพิ่มความรวดเร็ว ตรวจสอบย้อนหลังการทำงานได้ และลดความเสี่ยงจากการใช้แรงงานคน เทรนด์ 5G ที่เป็นการนำระบบสื่อสารที่ทันสมัยมาใช้ส่งข้อมูล หรือเห็นภาพทุกกระบวนการผลิตได้แบบเรียลไทม์ เทรนด์การพิมพ์และออกแบบแบบพรีเมียม ที่สะท้อนถึงความมีระดับ สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับการใช้สินค้า เทรนด์การผลิตด้วย 3D Printing เช่น ในกลุ่มเครื่องจักรและยานยนต์ การออกแบบและบรรจุภัณฑ์ การแพทย์ เทรนด์ความปลอดภัย เนื่องด้วยผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ภาวะทางสุขภาพอื่นๆ ที่ผู้ผลิตต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น และ เทรนด์ความยั่งยืน สำหรับผู้บริโภคที่ให้ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ที่ผู้ผลิตและผู้พัฒนาต้องมีนโยบายนี้อย่างชัดเจน

ชูศักดิ์ ดีตระกูลวัฒนผล นายกสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย กล่าวว่า จากสภาวะเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน และความผันผวนของราคากระดาษ ทำให้ผู้ผลิตกระดาษลูกฟูกไทยประสบปัญหาต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และนับเป็นหนึ่งในความท้าทายที่จะต้องเร่งปรับตัว โดยเฉพาะการควบคุมการผลิตให้สอดคล้องกับราคาวัตถุดิบที่มีการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาคุณสมบัติของเยื่อกระดาษให้มีความแข็งแรง ทนกับสภาวะต่างๆ และการพัฒนาการบริการควบคู่ไปกับการผลิต เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ประกอบการที่ต้องใช้กระดาษลูกฟูกในการหุ้มห่อสินค้า

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมกระดาษลูกฟูกไทยจะต้องเผชิญกับความผันผวน แต่ก็ยังพบโอกาสการเติบโตโดยเฉพาะจากอานิสงส์ของธุรกิจออนไลน์ที่ขยายตัวตามกำลังซื้อในช่องทางอีคอมเมิร์ซ การฟื้นตัวของภาคการส่งออกที่จำเป็นต้องมีการใช้กระดาษลูกฟูกในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนเทรนด์การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากกระดาษที่ยังคงโตตามกระแสความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG Economy Model) ตามนโยบายของรัฐบาล

“สำหรับแนวทางสร้างความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมกระดาษลูกฟูกในปีนี้ สมาคมฯ จะเข้าร่วมในมหกรรมการพิมพ์นานาชาติและกระดาษลูกฟูกแห่งภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญคือ การแสดงจุดยืนของสมาคมฯ ที่มุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม การนำนวัตกรรมใหม่ มาใช้ และความพร้อมในด้านการปรับตัวให้สอดรับกับอุตสาหกรรมการพิมพ์ การผลิตบรรจุภัณฑ์ และบทบาทสำคัญของผู้ผลิตแผ่นลูกฟูก ตัวแปลงกล่องพับ กล่องแข็ง รังผึ้ง นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ช่วยขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ มั่นใจว่ากลยุทธ์ต่างๆ จะช่วยในผลักดันให้เกิดการลงทุนและตอกย้ำให้ไทยเป็นผู้ผลิตที่มีศักยภาพและความน่าเชื่อถือในระดับภูมิภาค”

“Pack Print International 2022 และ Corrutec Asia 2022” งานแสดงสินค้านานาชาติด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์การพิมพ์ และกระดาษลูกฟูกแห่งภูมิภาคเอเชีย” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 22 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ภายในงานจะ มีการรวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ตอบโจทย์แนวทางการผลิตแห่งอนาคตจากกว่า 250 บริษัทชั้นนำที่มาจากประเทศทั่วโลก อาทิ Bobst, Heidelberg, Konica Minolta, Tsukatani, Zund รวมถึงแบรนด์ชั้นนำในประเทศ อาทิ Comprint, Cyber SM, Nationwide ฯลฯ โดยสามารถติดตามข้อมูล – รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่เว็บไซต์ www.pack-print.de และ www.corrutec-asia.com

supersab

Recent Posts

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

9 minutes ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

29 minutes ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

35 minutes ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

39 minutes ago

เปิดเทรนด์ “Conscious Travel” สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…

49 minutes ago

ไชน่า ยูนิคอม ผนึกกำลัง หัวเว่ย เร่งเครื่อง 5G-Advanced ทั่วเอเชีย

ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…

1 hour ago