โนบิทเทอร์ ผนึกกำลัง จุฬาฯ ลาดกระบัง และปัญญาภิวัฒน์ เดินหน้าวิจัย “ฟาร์มแนวตั้ง” (Vertical Farming) ยกระดับเกษตรไทยสู่เวทีโลก มุ่งสู่เกษตรแม่นยำ ใช้เทคโนโลยี IoT, AI และ Big Data เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน แก้ปัญหาสภาพอากาศ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ พร้อมรับมือความท้าทาย ปูทางสู่ความยั่งยืน
ในยุคที่โลกเผชิญกับความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนทรัพยากร และความต้องการอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ภาคการเกษตรจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ
ล่าสุด บริษัท โนบิทเทอร์ จำกัด (noBitter) ผู้บุกเบิกนวัตกรรมการเกษตรแนวตั้งเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย ได้ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเกษตรแนวตั้ง (Vertical Farming) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการปลูกพืชในแนวดิ่ง โดยใช้พื้นที่น้อย แต่ให้ผลผลิตสูง และสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้อย่างแม่นยำ
ดร.วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนบิทเทอร์ จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการปฏิวัติวงการเกษตรไทย โดย “ฟาร์มแนวตั้ง” จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้น้ำและทรัพยากร รวมถึงลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัย และคุณภาพสูง ที่ตอบโจทย์ตลาดทั้งในประเทศและทั่วโลก
นอกจากนี้ โครงการนี้ยังมีเป้าหมายที่จะสร้างศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farmer) สำหรับนิสิตและนักศึกษา เพื่อพัฒนานวัตกรเกษตรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ พร้อมส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน โดยการใช้วัสดุและทรัพยากรท้องถิ่นในระบบฟาร์มแนวตั้ง รวมถึงลดการนำเข้าอาหาร และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในระยะยาว พร้อมยกระดับความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ
ศาสตราจารย์ ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความร่วมมือกับโนบิทเทอร์ ช่วยให้นิสิตได้เรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตพืชในโรงเรือน และการใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ในการควบคุมสิ่งแวดล้อม ผลงานที่ได้จะช่วยยกระดับคุณภาพอาหารและสุขภาพของผู้บริโภค นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบัน โครงการนี้มุ่งเตรียมความพร้อมให้นิสิตได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง ช่วยขยายมุมมองการเรียนรู้ในห้องเรียนให้กว้างขวางขึ้น แต่ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตในการพัฒนาองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการพัฒนานโยบายและแนวทางด้านพฤกษศาสตร์ระดับชาติในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
มนตรี คงตระกูลเทียน คณบดีคณะเกษตรนวัตและการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Plant Factory และเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ที่พัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษาในการพัฒนานวัตกรรมเกษตรในอนาคต ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพทางการตลาดส่งออกของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ซึ่งประเทศไทยในปี 2566 มีสมุนไพรส่งออกมูลค่าสูงถึง 56 พันล้านบาท ผลของการสร้างรายได้มหภาคสำหรับมูลค่าการส่งออกปี 2566 พืชสมุนไพรมีมูลค่า 483 ล้านบาท และสารสกัดสมุนไพรมีมูลค่า 382 ล้านบาท และยังช่วยในมิติของสิ่งแวดล้อม โดยระบบ Plant Factory ที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะโลกรวน ช่วยลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย พร้อมสร้างศักยภาพให้เกษตรกรแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยเป้าหมายของสถาบันฯ คือการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเชิงเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ตลอดจนการแปรรูปพืชผลให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาดสากล
รองศาสตราจารย์ ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่การเกษตรแบบแม่นยำ (Precision agriculture) โดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการข้อมูลเพื่อการวางแผนและบริหารจัดการฟาร์มของเกษตรกร เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น IoT, AI และ Big Data มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยระบบเซนเซอร์และระบบวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ระบบ Controlled-Environment Agriculture (CEA) และ Vertical Farm เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเกษตรของไทย โดยช่วยลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและศัตรูพืช รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้น้ำลงถึง 90% เมื่อเทียบกับการเกษตรทั่วไป นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถปลูกพืชที่มีมูลค่าสูง และสร้างโอกาสใหม่ในตลาดด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ ซึ่งนับเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับการเกษตรไทยในอนาคต
ความร่วมมือระหว่างโนบิทเทอร์ และ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาภาคการเกษตรไทย สู่ยุค “ฟาร์มแนวตั้ง” อัจฉริยะ ที่ใช้เทคโนโลยี IoT, AI และ Big Data ในการบริหารจัดการ เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อยกระดับเกษตรกรไทย และผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการเกษตรในระดับโลก
#โนบิทเทอร์ #noBitter #ฟาร์มแนวตั้ง #VerticalFarming #เกษตรอัจฉริยะ #SmartFarming #IoT #AI #BigData #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #ลาดกระบัง #ปัญญาภิวัฒน์ #นวัตกรรมเกษตร #เกษตรไทย #ความยั่งยืน
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…
สวัสดีครับวันนี้ Biztalk Gadget จะมา รีวิว Samsung Galaxy S25 Ultra เรือธงที่มาตามนัดทุกปี หลังจากได้ทดลองใช้จริงมา 2 สัปดาห์ จะมาเล่าให้ฟังตั้งแต่เรื่องการใช้งานตัวเครื่อง การถ่ายรูป…
ภาคีเครือข่ายนานาชาติผนึกกำลังจัดประชุมสุดยอด Southeast Asia Access to Medicines Summit ครั้งแรกในกรุงเทพฯ ปูทางสู่การลดอุปสรรคการเข้าถึงยาและการรักษาอย่างยั่งยืน ชูประเด็นสำคัญ "คำมั่นสัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลง" และ "เสียงของผู้ป่วย" นับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่ภาคีเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน…
วินท์รดิศ กลศาสตร์เสนี President TrueID เปิดใจถึงความท้าทายของธุรกิจคอนเทนต์ยุคปัจจุบัน ที่มีการแข่งขันสูงลิบลิ่ว การก้าวขึ้นเป็นผู้นำไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ TrueID ยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มของคนไทย เพื่อส่งออกคอนเทนต์และวัฒนธรรมไทยสู่สายตาชาวโลก โดยมี "ความพึงพอใจของผู้ใช้" เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ จาก…