1. คืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าให้บ้านที่อยู่อาศัย และ กิจการขนาดเล็ก จำนวน 21.5 ล้านราย วงเงิน 30,000 ล้านบาท โดยให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ การไฟฟ้านครหลวง ไปกำหนดวิธีการคืนเงินอีกครั้งว่าจะคืนเงินในรูปแบบใด เช่น คืนเป็นเงินสด หรือ หักเป็นค่าไฟฟ้า ส่วนประชาชนจะได้เงินคืนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับเงินประกันที่วางไว้กับการไฟฟ้า โดยจะทยอยคืนเงินให้ประชาชน ตั้งแต่รอบบิลสิ้นเดือนนี้ เชื่อว่าจะส่งผลให้่มีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจ 30,000 ล้านบาท
2. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะขยายระยะเวลาการตรึงค่าไฟฟ้าออกไปอีก 3 เดือน จากที่เดือนนี้จะสิ้นสุดมาตรการตรึงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที) 11.6 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่เดิมต้องปรับขึ้นเป็น 3.70 บาท/หน่วย ยังคงอัตราเดิมที่ เป็น 3.60 บาทต่อหน่วย ขณะเดียวกัน การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะใช้งบของหน่วยงาน ในการตรึงค่าไฟอีก 11.6 สตางค์/หน่วย ทำให้รวมทั้งหมด ค่าไฟฟ้าจะลดลง 23.2 สตางค์ต่อหน่วย สะท้อนเป็นค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายเหลือเพียง 3.50 สตางค์/หน่วย จากค่าไฟที่ควรจะเป็นคือ 3.70 บาทต่อหน่วย ซึ่งมาตรการนี้ใช้วงเงินราว 10,000 ล้านบาท
3. ขยายระยะเวลาชำระค่าไฟฟ้า 2 รอบบิล (เม.ย. – พ.ค.) โดยจะขยายให้นานถึง 6 เดือน เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน โดยเน้นกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัย กิจการขนาดเล็ก โรงแรม ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
4. ใช้เงินจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า วงเงิน 4,000 ล้านบาท เป็นวงเงินเบื้องต้น นำมาใช้ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก เช่น งานขุดบ่อบาดาล งานขุดลอกคูคลอง บรรเทาปัญหาภัยแล้ง (ในลักษณะเดียวกับ งบมิยาซาว่า)
อย่างไรก็ตามมาตรการทั้งหมดจะถูกนำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ เพื่อขอความเห็นชอบดำเนินการต่อไป