Money&Investment

ถอดบทเรียนการจัดการทรัพย์สินและธุรกิจครอบครัวเมื่อเจอ ‘ศึกภายใน’ ศึกษา-สื่อสาร-ส่งต่อ ช่วยลดความขัดแย้ง เพิ่มประสิทธิภาพการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน

เมื่อพูดถึงเรื่องของการบริหารจัดการทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่มีทรัพย์สินมากหรือน้อยก็มีโอกาสเกิดความขัดแย้งได้พอๆกัน สาเหตุหลักมาจากครอบครัวไม่เห็นความสำคัญจากศึกภายใน ด้วยความคิดที่ว่าสมาชิกรักใคร่กันดีไม่มีปัญหา ขนบธรรมเนียมที่ครอบครัวปฏิบัติสืบกันมาเป็นสิ่งที่สมาชิกทุกรุ่นยอมรับได้ หรือการส่งต่อทรัพย์สินเป็นเรื่องของรุ่นผู้ให้อย่างเดียวไม่จำเป็นต้องฟังความคิดเห็นของรุ่นผู้รับ ความคิดเหล่านี้ทำให้ครอบครัวขาดการวางแผนและสื่อสาร จนเป็นที่มาของความขัดแย้งไม่ว่าในรุ่นเดียวกันหรือระหว่างรุ่น พี่น้องรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรม ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ลำเอียง ในอีกด้านหนึ่ง พ่อแม่รู้สึกว่าลูกหลานไม่เชื่อฟัง ไม่สามัคคีกัน บ่มเพาะและนำไปสู่การล่มสลายของธุรกิจครอบครัว ทั้งนี้ ธุรกิจครอบครัวมีความสำคัญและเป็นรากฐานของเศรษฐกิจโลก จากข้อมูลระบุว่า 2 ใน 3ของบริษัททั่วทุกประเทศเป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งสร้างรายได้กว่า 70% ของ GDP โลก ในขณะที่ประเทศไทย ธุรกิจครอบครัวมีสัดส่วนสูงที่ 60% ของ GDP1ด้วยเหตุนี้เอง องค์กรและสถาบันด้านการศึกษาชั้นนำต่างๆ จึงมีความพยายามในการให้ความรู้และเสนอแนะแนวทางในการสร้างความยั่งยืนผ่านการสืบทอดธุรกิจครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น กรณีศึกษาแรกเป็นภาพยนตร์ไทยที่กำลังถูกกล่าวถึง ที่บอกเล่าเรื่องราวสะท้อนวิถีชีวิตของครอบครัวไทยเชื้อสายจีนที่แม้จะไม่ได้เป็นครอบครัวร่ำรวยหรือมีธุรกิจ แต่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาคลาสสิกจากการส่งต่อทรัพย์สินระหว่างคน 3 รุ่น เมื่อ “อาม่า” มีแนวคิดในการส่งต่อทรัพย์สิน 2 ประการ ได้แก่ขนบธรรมเนียมและความจำเป็น ในมุมของอาม่า ขนบธรรมเนียมเป็นสิ่งที่หล่อหลอมอาม่ามาทั้งชีวิต อาม่าจึงยึดถือการยกมรดกให้กับลูกหรือหลานชายเท่านั้น ในส่วนของความจำเป็น หนังได้ถ่ายทอดมุมมองของอาม่าที่เห็นลูกชายคนเล็กเป็นคนไม่เอาถ่าน คนเป็นแม่จึงต้องยกมรดกให้เพื่อความอยู่รอดของลูกชายคนนี้ สำหรับอาม่าแล้ว แผนในการส่งต่อทรัพย์สินที่วางไว้จึงชอบด้วยประการทั้งปวง ในส่วนมุมมองของผู้รับกลับแตกต่างออกไป ลูกชายคนโตของอาม่ามองว่าลูกที่ดูแลชีวิตตัวเองได้ดีควรมีส่วนแบ่งจากมรดกมากที่สุด ส่วนหลานชาย ในฐานะของทายาทลูกสาวของอาม่า ก็เกิดมาในยุคที่เงินทองมีค่ามากกว่าค่านิยมของครอบครัว ในมุมของลูกและหลานชาย ความคิดของเขาก็ไม่ผิดเช่นกัน ความถูกต้องในมุมที่ต่างกันนี้เองกลายเป็นชนวนแห่งความขัดแย้ง หากอาม่าสื่อสารกับลูกหลานอย่างใกล้ชิดมาตลอด ได้ส่งต่อค่านิยมของครอบครัว แบ่งปันแผนการในชีวิต รับฟังความเห็นของทุกคนแล้วเอามาประมวลเพื่อหาแนวทางที่อาม่าและทุกฝ่ายพอใจ เชื่อว่าจะเป็นกุญแจในการแก้ไขปมปัญหาผ่านการพูดคุยสื่อสารกัน การวางแผนจัดสรรมรดกอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ซึ่งจะช่วยให้เรื่องนี้จบลงอย่างมีความสุขได้อย่างแน่นอน

กรณีศึกษาที่สอง เป็นเคสที่มีความยุ่งยากขึ้นอีกระดับหนึ่งเมื่อครอบครัวมีธุรกิจที่ต้องการส่งต่อด้วย จากที่มีกระแสข่าวแบรนด์บะหมี่เฟรนไชน์ที่หลายๆ คนคุ้นเคยแบรนด์หนึ่ง กำลังเตรียมบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (การทำ IPO) โดยให้เหตุผลว่ากลัวรุ่นลูกจะทะเลาะกัน ทั้งนี้ การวางกติกาของครอบครัวให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการส่งต่อหุ้น การคัดเลือกผู้บริหาร บทบาทของสมาชิกของครอบครัวในธุรกิจ ให้สมาชิกทุกคนได้รับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ ก็เพียงพอแล้วที่จะป้องกันการเกิดความขัดแย้งระดับหนึ่ง ประกอบกับถ้ามีการปรับธุรกิจให้เป็นระบบ มีการตรวจสอบ ทำให้สมาชิกของครอบครัวรุ่นใหม่สนใจที่จะเข้ามาร่วมทำงาน และดึงดูดให้มืออาชีพเข้ามาบริหารงานของธุรกิจครอบครัวได้ ในกรณีที่ไม่มีลูกหลานทำต่อ หรือลูกหลานไม่เชี่ยวชาญพอที่จะแข่งกับมืออาชีพในตลาด ก็จะส่งเสริมความยั่งยืนให้ธุรกิจครอบครัวยังคงเป็นของครอบครัว แทนการไปให้คนอื่นเข้ามาร่วมถือหุ้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจที่ควรทำ IPO เพื่อนำเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการระดมทุนเท่านั้น

กรณีศึกษาที่สาม เป็นกรณีที่เกิดในต่างประเทศที่พบว่าธุรกิจครอบครัวเจ้าของแบรนด์ดังมากที่สุดของโลก แม้ต้นตระกูลจะพัฒนาแบรนด์สินค้าอายุหลักร้อยปีให้เติบโตได้ไกลกว่าจุดเริ่มต้นไปมากขนาดไหน แต่หากมีความอ่อนแอในระบบการบริหารจัดการของครอบครัว ก็อาจส่งผลให้กิจการถูกควบรวม จึงกลายเป็นธุรกิจที่มีแต่ชื่อ ครอบครัวผู้ก่อตั้งก็ไม่ได้มีส่วนในการบริหารธุรกิจอีกต่อไป และทำให้ตระกูลที่ได้กิจการไปกลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลก โดยล่าสุดจะเห็นบทความที่เล่าถึงการปลูกฝังให้รุ่นลูกดูแลธุรกิจร่วมกันอย่างปรองดอง รวมถึงข่าวที่มหาเศรษฐีรุ่นพ่อของแบรนด์ดังนี้เตรียมวางแผนเพื่อให้การส่งต่อธุรกิจครอบครัวไปสู่รุ่นลูกอีกด้วย 

จากทั้ง 3 กรณีศึกษาจะเห็นได้ว่าการเตรียมความพร้อม และวางแผนเพื่อส่งต่อทรัพย์สินและธุรกิจครอบครัวเป็นหัวใจสำคัญที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัว และสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ อีกทั้งจะเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคตได้ 

พีระพัฒน์  เหรียญประยูร Managing Director – Wealth Planning and Non Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า จากทั้ง 3 กรณีศึกษามีรายละเอียดเฉพาะตัวและความท้าทายที่แตกต่างกัน แต่ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะมีทรัพย์สินมาหรือน้อย ขนาดของธุรกิจครอบครัว หรือจะทำธุรกิจในด้านใดก็ตามควรมีการวางแผนเพื่อเก็บรักษาและส่งต่อทรัพย์สินและธุรกิจครอบครัวได้อย่างยั่งยืน โดยมองว่ามี 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ (1) การสร้างกติกาของครอบครัวและการสืบทอดธุรกิจอย่างเป็นระบบ (Family Continuity Planning)เริ่มต้นจากการวางกติกาของครอบครัว เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวเข้าใจสิทธิ หน้าที่และกระบวนการในการตัดสินใจเรื่องต่างๆร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างสมาชิก (2) การจัดโครงสร้างการถือครองทรัพย์สินของครอบครัว (Asset Holding Structures) เช่น การปรับโครงสร้างให้สอดคล้องกับแผนและกติกาของครอบครัว วางระบบการบริหารจัดการภายในให้ข้ามผ่านความเป็นธุรกิจครอบครัว เพื่อให้สมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไปเข้ามารับช่วงต่อหรือเพื่อจูงใจให้มืออาชีพเข้ามาร่วมบริหาร (3) การวางแผนการส่งต่อทรัพย์สินจากรุ่นสู่รุ่น (Inheritance and Wealth Transfer) เน้นการสื่อสาร ให้ทายาทรุ่นต่อไปมีส่วนร่วม มีการถ่ายถอดความรู้เป็นระบบ เพื่อให้การส่งต่อความมั่งคั่งเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ บางครอบครัวอาจจะใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น การจัดตั้งทรัสต์ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต เป็นต้น มาใช้ประกอบในการวางแผนการส่งต่อความมั่งคั่งตามโจทย์ของครอบครัวด้วย

“การวางแผนเพื่อส่งต่อทรัพย์สินและธุรกิจครอบครัวจะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง และเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงสามารถรับมือความท้าทายทั้งภายในภายนอกได้ KBank Private Banking ในฐานะผู้ให้บริการไพรเวทแบงก์ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน ‘บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว’ (Family Wealth Planning Service) พร้อมนำความรู้และประสบการณ์ในระดับสากลของธนาคารพันธมิตร Lombard Odier มาเป็นทางเลือกให้ลูกค้าสามารถวางแผนบริหารทรัพย์สินในองค์รวม และเดินหน้าธุรกิจครอบครัวได้อย่างราบรื่นพร้อมกับการเติบโตอย่างยั่งยืน” พีระพัฒน์ กล่าวปิดท้าย

UOB แนะนำพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่งสำหรับลูกค้าที่มีความมั่งคั่ง ในงานสัมมนา Mid-Year Outlook

supersab

Recent Posts

แผ่นดินไหว กระทบตลาดอสังหาฯ 6 เดือน แต่ภาพรวมยังท้าทาย

Biztalk เสาร์นี้กับ ตั๊ก ฐิติกร ทิพย์มณเฑียร ร่วมประเมินทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเหตุแผ่นดินไหวกับ คุณสัมมา คีตสิน นักเศรษฐศาสตร์อสังหาริมทรัพย์ https://www.youtube.com/watch?v=gL0ooLDVi3o -AI กับการทำงานสื่อ สรุปแล้วเราจะตกงานมั้ย?

9 hours ago

Huawei ผนึกกำลังพันธมิตรครั้งใหญ่ ปูทางสู่อนาคตดิจิทัลอัจฉริยะในไทย

หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด (Huawei) จัดงาน Thailand Partner Summit 2025 "หัวเว่ย ไทยแลนด์ พาร์ทเนอร์ ซัมมิท 2025"…

13 hours ago

LINE MAN Wongnai ทุ่ม 300 ล้านบาท ปลุกตลาดอาหารทั้งปี! ชูรางวัล Users’ Choice การันตีความอร่อยระดับประเทศ

LINE MAN Wongnai จัดงานประกาศผลรางวัลแห่งปี “LINE MAN Wongnai Users’ Choice Best of 2025 – ที่สุดของร้านอร่อยรีวิวดี” พร้อมประกาศอัดฉีดงบประมาณทางการตลาดกว่า…

21 hours ago

พาณิชย์ – DITP สางปัญหาส่งออกน้ำตาล! จับคู่ธุรกิจไทย-ฟิลิปปินส์ ดันมูลค่าซื้อขายทะลุ 1.1 พันล้านบาท

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้นโยบายของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เร่งเครื่องช่วยเหลือผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาลและน้ำตาลแปรรูปที่กำลังเผชิญความท้าทายในตลาดต่างประเทศ ล่าสุด ผนึกกำลังกับกรมการค้าต่างประเทศ และสมาคมอุตสาหกรรมน้ำตาลแปรรูปไทย จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจสุดยิ่งใหญ่กับผู้นำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่…

21 hours ago

UNEX EV เปิดตัวแพลตฟอร์มสลับแบตเตอรี่ EV อัจฉริยะในไทย นำร่องที่ จ.ภูเก็ต ตั้งเป้า 1,000 สถานี ใน 3 ปี

ยูเน็กซ์ อีวี (UNEX EV) เปิดตัว "แพลตฟอร์มขับเคลื่อนอัจฉริยะ" (Intelligent Mobility Platform) ครั้งแรกในประเทศ ชูเทคโนโลยี "การสลับแบตเตอรี่" (Battery Swapping) เป็นหัวใจหลัก พร้อมผนึกกำลังพันธมิตรชั้นนำสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร ตั้งเป้าผลักดันไทยสู่ศูนย์กลางเทคโนโลยีขับเคลื่อนแห่งอนาคต แพลตฟอร์มใหม่จาก…

1 day ago

ททท. จุดพลุแคมเปญ “Everyday Special Moment” ชวนสัมผัสเสน่ห์วันธรรมดาภาคกลาง ฮีลใจใกล้กรุง พร้อมรับดีลส่วนลด

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จับมือพันธมิตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสื่อสารประชาสัมพันธ์ เปิดตัวแคมเปญใหม่ล่าสุด "Everyday Special Moment เที่ยวกลางมีสุข ทุกโมเมนต์" มุ่งหวังกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคภาคกลาง ชวนนักท่องเที่ยวสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษและผ่อนคลายในวันธรรมดาที่ไม่จำเจ ภายใต้แนวคิด "Chic and…

2 days ago

This website uses cookies.