ท่ามกลางความผันผวนจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่กระทบต่อเศรษฐกิจประเทศชั้นนำ รวมถึงเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ ยังมีเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่อย่างอินโดนีเซีย ที่ยังมีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาวและเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยังมีช่องว่างให้พัฒนาและขยายการลงทุนได้ สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกเหนือจากตลาดเวียดนามที่นักลงทุนไทยคุ้นเคยแล้ว ตลาดอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องและมีความน่าสนใจ ทั้งในแง่ขนาดตลาดที่ใหญ่และทรัพยากรที่มีมาก
บทวิเคราะห์นี้ SCB CIO อยากชวนทุกคนมารู้จักตลาดอินโดนีเซียมากขึ้นผ่าน 5 คำถามสำคัญ ได้แก่ (i) โครงสร้างเศรษฐกิจอินโดนีเซียเป็นอย่างไร แตกต่างกับเศรษฐกิจไทยและเวียดนามอย่างไร (ii) วัฏจักรราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอินโดนีเซียอย่างไร (iii) ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ นโยบายการเงินตึงตัว และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินอินโดนีเซียในระยะสามปีข้างหน้าอย่างไร (iv) โครงสร้างตลาดทุนของอินโดนีเซียเป็นอย่างไร แตกต่างกับตลาดหุ้นไทยและเวียดนามอย่างไร และ (v) มูลค่าของตลาดหุ้นอินโดนีเซียเป็นอย่างไร หุ้นกลุ่มไหนเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ
เศรษฐกิจอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเศรษฐกิจมีขนาดใหญ่ถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 6 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และใหญ่เป็นอันดับ 1 ในกลุ่มอาเซียน ขณะที่เศรษฐกิจขยายตัวค่อนข้างดีต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงฟื้นตัวได้ดีจากวิกฤตโรคระบาด COVID-19 (ในปี 2015-2019 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 5% ต่อปี ก่อนที่จะหดตัวในปี 2020 อยู่ที่ -2.1% และฟื้นตัวในปีถัดมาที่ 3.7% โดยล่าสุดในไตรมาสแรกของปี 2022 ขยายตัว 5% YOY)
–ซิตี้แบงก์ หนุนภาคธุรกิจ EV ไทย ผนึก BOI และ EVAT ผลักดันการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าในไทย
–Stock2morrow เปิดตัว BulIMoon Club ยกระดับ NFT ไทย หวังปูพื้นนักลงทุนสู่ Metaverse
โครงสร้างเศรษฐกิจของอินโดนีเซียเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการใช้จ่ายในประเทศเป็นสำคัญ (Domestic demand-led growth) ซึ่งแตกต่างจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยและเวียดนามที่พึ่งพาภาคการส่งออกสินค้าและบริการในสัดส่วนที่มากกว่าอินโดนีเซีย (รูปที่ 1) หากพิจารณาจาก
1) สัดส่วนของการบริโภคของเอกชนและการลงทุนรวมในประเทศเฉลี่ยในช่วงปี 2012-2021 ของอินโดนีเซียที่สูงถึง 91% ต่อมูลค่า GDP เทียบกับภาคส่งออกที่มีเพียง 21% ขณะที่ประเทศไทยและเวียดนามมีสัดส่วนภาคส่งออกสูงถึง 64% และ 95% ตามลำดับ
2) การใช้จ่ายในประเทศเป็นภาคเศรษฐกิจหลักขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจในอินโดนีเซีย (Contribution to GDP growth) กล่าวคือ GDP ในช่วงปี 2012-2019 (ไม่นับในปี 2020-2021 ที่เศรษฐกิจในประเทศเผชิญวิกฤต COVID-19) ที่ขยายตัวเฉลี่ย 5.2% ต่อปี มาจากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนในประเทศสูงถึง 4.7%
ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้การใช้จ่ายในประเทศของอินโดนีเซียเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญและขยายตัวโดดเด่นเมื่อเทียบกับภาคการส่งออก ได้แก่ 1) ขนาดประชากรที่ใหญ่ อายุเฉลี่ยต่ำ และรายได้เติบโตดี 2) ทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนมาก และ 3) ต่างชาติเข้ามาลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment: FDI) ค่อนข้างมาก
สำหรับปัจจัยด้านประชากร อินโดนีเซียเป็นตลาดการบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม ASEANs ด้วยจำนวนประชากรที่มากถึงเกือบ 300 ล้านคน และอยู่ในวัยที่กำลังก่อร่างสร้างตัวและมีความต้องการในการจับจ่าย ใช้สอยสูง ด้วยอายุเฉลี่ย(ค่ามัธยฐาน) ที่ 30 ปี แตกต่างจากประชากรไทยที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (อายุเฉลี่ย (ค่ามัธยฐาน) 40 ปี) ที่มักมีพฤติกรรมเริ่มเน้นการออมมากขึ้นและบริโภคน้อยลงเมื่อเทียบกับสัดส่วนของรายได้
ขณะที่คุณภาพของประชากรอินโดนีเซียก็อยู่ในแนวโน้มที่ดี สะท้อนจาก 1) จำนวนประชากรในเขตเมืองที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่สัดส่วนเกือบ 60% ของประชากรทั้งประเทศ และมากกว่าไทยและเวียดนามที่มีสัดส่วน 52% และ 38% และ 2) รายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงอยู่ที่ $13,099/ปี สูงกว่าเวียดนามที่ $11,534/ปี และแม้ว่าจะต่ำกว่าประเทศไทย แต่แนวโน้มการขยายตัวในอีก 5 ปีข้างหน้าอยู่ในระดับสูงกว่าประเทศไทย (คาดการณ์โดย IMF)
นอกจากนี้ การบริโภคของครัวเรือนในอินโดนีเซียยังได้ปัจจัยเร่งจากการเติบโตของเศรษฐกิจ Digital โดยเฉพาะการเข้าถึงสินเชื่อและการใช้จ่ายผ่าน e-wallet โดยในปี 2017-2019 ปริมาณธุรกรรม e-money เพิ่มขึ้นเกือบ 12 เท่าสู่ระดับ 145 tn IDR ขณะที่เงินกู้สะสมในรูปแบบ P2P เพิ่มขึ้น 37 เท่า
สำหรับปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตทรัพยากรด้านพลังงานและโลหะภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยอินโดนีเซียสามารถผลิตถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ นิกเกิลและทองแดงสูงเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่ม ASEAN โดยโลหะภัณฑ์ นิกเกิลและทองแดง มีความสำคัญต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะแบตเตอรี่รถยนต์ EV ที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตและเป็นอุตสาหกรรมอนาคตของโลก ขณะที่ไทยและเวียดนามแทบไม่มีการผลิตโลหะภัณฑ์ดังกล่าวเลย
สำหรับปัจจัยด้านการลงทุนทางตรงของต่างชาติ (FDI) ผลจากตลาดผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่และทรัพยากรธรรมชาติที่มากของอินโดนีเซีย ท่ามกลางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยังมีช่องว่างในการพัฒนาอยู่มาก ทำให้อินโดนีเซียเป็น แหล่งลงทุน FDI ที่น่าสนใจสำหรับบริษัทข้ามชาติและนักลงทุนต่างชาติ เห็นได้จากเม็ดเงินลงทุน FDI สุทธิสะสมและ อัตราการขยายตัวเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาของอินโดนีเซียที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค รวมถึงไทยและเวียดนาม
ขณะที่แนวโน้มการเติบโตของ FDI ในระยะข้างหน้าของอินโดนีเซียยังมีโอกาสขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์ EV (หนึ่งในกระแสการลงทุน ESG) ซึ่งนิกเกิลเป็นส่วนสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ EV
ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นแหล่งผลิตนิกเกิลรายใหญ่ของโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาดที่สูงถึงเกือบ 40% ในปี 2021 ทำให้อินโดนีเซียเป็นที่สนใจของบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์ EV ให้เข้ามาลงทุน เช่น โครงการลงทุนเพื่อผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ EV ในอินโดนีเซียของกลุ่มทุนเกาหลี Hyundai-LG และ JV: Indonesia Battery Corp (IBC)-LG group ซึ่ง JV มีเม็ดเงินลงทุนอยู่ราว US$9.8bn และโครงการลงทุนของ Contemporary Amperex Technology (CATL) จากจีนที่มีเม็ดเงิน US$5bn เพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม เป็นต้น
การเติบโตของเศรษฐกิจที่ผ่านมาของอินโดนีเซีย ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญมาจากกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งกลุ่มพลังงานและกลุ่มวัตถุดิบสำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรราคาสินค้าโภคภัณฑ์เช่นกัน หากพิจารณาจากรูปที่ 5 จะพบว่าในช่วงที่ราคาสินค้าพลังงานและโลหะภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลบวกในอีกประมาณ 1 ปีถัดมาต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจผ่านการส่งออกและการลงทุนในประเทศ ต่อเนื่องมายังรายได้และการจ้างงานของครัวเรือน นำมาสู่การบริโภคภาคเอกชนให้ดีขึ้น รวมไปถึงคุณภาพสินเชื่อก็ปรับตัวดีขึ้นตามมาในท้ายที่สุด นอกจากนี้ ตลาดหุ้นและค่าเงินก็ได้อานิสงส์ด้านบวกด้วยเช่นกัน
ในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาสินค้าพลังงานและโลหะภัณฑ์ลดลง จะส่งผลให้ภาคส่งออกของอินโดนีเซียหดตัวลงตาม และการลงทุนชะลอตัวลงมาก
ตัวอย่าง เช่นในช่วงปี 2011-1H2013 ที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับสูง การลงทุนในประเทศขยายตัวสูงถึง 8-9% เทียบกับช่วงปี 2015-1H2017 ที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ การลงทุนขยายตัวเพียงประมาณ 4-5%
อย่างไรก็ตาม การบริโภคของเอกชนกลับขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับภาคส่งออกและลงทุนที่ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์มากกว่า ส่วนหนึ่งมาจากการเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางและการขยายตัวของภาคธุรกิจอื่นๆ ในประเทศ โดยเฉพาะภาคบริการที่ปัจจุบันมีน้ำหนักใน GDP สูงถึงเกือบ 50% มากกว่าภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วน 40% (เทียบกับเมื่อ 10 ปีก่อนที่ภาคบริการมีสัดส่วน 40% น้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ที่ 45%)
ดังนั้น ในระยะหลังนี้ วัฏจักรราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจผ่านการส่งออกและการลงทุน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มพลังงาน แต่ผลกระทบรุนแรงน้อยลงจากอดีต เนื่องจากได้ปัจจัยบวกจากการเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางที่ช่วยประคับประคองการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ หากการลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไม่รุนแรงและยาวนาน นอกจากนี้ การสนับสนุนการลงทุนที่เกาะกระแส ESG เช่น รถยนต์ EV ที่แนวโน้มอุปสงค์เติบโตต่อเนื่อง ก็อาจช่วยลดทอนผลกระทบของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาพลังงานลงมาได้บ้าง
ในภาวะที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงเงินเฟ้อสูง แรงกดดันจากนโยบายการเงินที่ตึงตัว ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่อาจจะชะลอตัวลง แต่ดูเหมือนว่าเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของอินโดนีเซียโดยรวมในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แนวโน้มในระยะ 3 ปีข้างหน้าก็ยังไม่น่ากังวล หากพิจารณาจาก
1) ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ในปี 2022 เกินดุล 4.5% ของ GDP ในระยะ 3 ปีข้างหน้าการขาดดุลอยู่ในระดับต่ำไม่เกิน 2% ของ GDP (คาดการณ์โดย IMF) ทั้งนี้ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับต่ำๆ ถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ยังมีความต้องการลงทุนสูง เนื่องจากสะท้อนถึงสัดส่วนการลงทุนที่มีมากกว่าการออม บ่งชี้ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ขณะที่ดุลการคลังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากในอดีต (คาดการณ์โดย IMF)
2) ภาระหนี้ของทั้งภาครัฐและเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ถือว่าเป็น Buffer สำคัญที่จะช่วยรับมือในช่วงที่เกิดวิกฤต
3) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการ รวมถึงเทียบกับมูลค่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ขณะที่ค่าเงิน IDR ก็ไม่ผันผวนในทิศทางอ่อนค่ารุนแรงเหมือนในอดีต และล่าสุดที่ค่าเงินของหลายประเทศในเอเชียกำลังเผชิญแรงกดดันจากการแข็งค่าของ USD จะพบว่า IDR อ่อนค่าเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ JPY, KRW, INR และ THB (Analyst consensus by Bloomberg มีมุมมองต่อค่าเงิน IDR เทียบ USD จะทยอยกลับมาแข็งค่าหลังจาก BI ปรับขึ้นดอกเบี้ยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ ส่งผลให้ IDR/USD สิ้นปี 2022 อยู่ที่ 14,650 และสิ้นปี 2023-2024 อยู่ที่ 14,617 และ 14,500 ตามลำดับ จากปัจจุบันที่ IDR/USD อยู่ที่ 14,969 ในวันที่ 12 ก.ค. 2022 และเฉลี่ย YTD อยู่ที่ 14,478)
4) แรงกดดันจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวจากประเทศชั้นนำ กดดันต่อตลาดเงินอินโดนีเซียไม่มากเท่ากับในอดีต ส่วนหนึ่งมาจากตลาดพันธบัตรของอินโดนีเซียมีสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งมาจากการเข้าซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางอินโดนีเซียในช่วงที่ประเทศกำลังเผชิญวิกฤตโรคระบาด COVID-19
5) ทิศทางของเงินเฟ้อสูงยังไม่กดดันให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วและแรง แม้ว่าเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. จะทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 ปี แต่ธนาคารกลางฯ ให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมากกว่า ซึ่งเดือน มิ.ย. ยังต่ำกว่าที่ตลาดคาด ผลจากการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาลทำให้ราคาสินค้าไม่ได้เร่งตัวขึ้นมาก ขณะที่ความสามารถในการดูแลราคาสินค้าของรัฐบาลในระยะถัดไปยังคงมีอยู่ หากพิจารณาจากการขาดดุลการคลังและหนี้ภาครัฐที่ต่ำ แตกต่างจากในอดีตที่ความสามารถในการสนับสนุนของภาครัฐมีไม่มาก
ทั้งนี้ Analyst consensus by Bloomberg คาดว่าธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในครึ่งหลังของปี 2022 ส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันที่ 3.50% จะปรับขึ้นมาอยู่ที่ 4.25-4.50% ในสิ้นปี 2022 (BI เหลือการประชุมนโยบายการเงินอีก 6 ครั้งในปีนี้) และ 4.75-5.00% ในสิ้นปี 2023 ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า GDP จะขยายตัวได้เฉลี่ยอยู่ที่ 5.1-5.2% ในช่วงปี 2022-24 (IMF คาดว่า GDP ของอินโดนีเซียจะขยายตัวอยู่ในช่วง 5.0-6.0% ในปี 2022-24)
โครงสร้างตลาดหุ้นอินโดนีเซียในแง่ของ market capitalization มีหุ้นในกลุ่มธุรกิจการเงินเป็นกลุ่มหลัก รองลงมาจะกระจายตัวอยู่ในกลุ่ม Consumer discretionary กลุ่มสื่อสาร กลุ่ม Material และ Consumer staples นอกจากนี้ มูลค่าตลาดยังกระจุกตัวอยู่ในหุ้น 10 บริษัทแรก ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ 50% ของมูลค่าตลาด คล้ายคลึงกับตลาดเวียดนาม
โดยกลุ่มธุรกิจการเงินมีมูลค่าในตลาดหุ้นอินโดนีเซียถึง 1 ใน 3 เช่นเดียวกันกับตลาดหุ้นในเวียดนาม แม้ว่าในกลุ่มธุรกิจการเงินจะมีหุ้นอยู่ในกลุ่มกว่า 100 บริษัท แต่เกือบ 70% ของมูลค่าของกลุ่มมาจากธนาคารขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ Bank Rakyat Indonesia, Bank Central Asia และ Bank Mandiri
สำหรับกลุ่มธุรกิจที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดรองลงมาจะกระจายตัวอยู่ใน 5 กลุ่มธุรกิจที่มีน้ำหนักอยู่ในตลาดประมาณ 8-15% ของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย โดย 3 ใน 5 กลุ่มเกี่ยวข้องกับการบริโภคและภาคบริการ ได้แก่ กลุ่ม Consumer discretionary (มีหุ้นอยู่ในกลุ่มกว่า 100 บริษัท แต่มูลค่าเกินครึ่งของกลุ่มมาจาก GoTo Group ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ platform เช่น GOJEK) กลุ่มสื่อสาร (มูลค่าเกินครึ่งของกลุ่มถูกครอบงำโดย Telkom ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้น 50%) และ กลุ่ม Consumer staples (หุ้นตัวใหญ่ในกลุ่มนี้ คือ CP Indonesia, Alfamart, Indofood และ Uniliver Indonesia)
ส่วน 2 ใน 5 กลุ่มที่เหลือเกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสำคัญ ได้แก่ กลุ่ม Material (หุ้นในกลุ่มนี้ค่อนข้างกระจายตัว โดย Top 3 คือ Merdeka Copper Gold, Chandra Asri Petrochemical และ Barito Pacific ซึ่งเป็นผู้นำในการผลิตไฟฟ้าและปิโตรเคมี) และกลุ่มพลังงาน (มูลค่ามากกว่า 60%ของกลุ่มถูกครอบงำโดย Top 3 ได้แก่ Bayan Resources ผู้ผลิต Coal, United Tractors จำหน่ายเครื่องจักรหนัก ทำเหมือง Coal และทอง และ Adaro Energy ทำเหมือง Coal)
โดยรวมเรามีมุมมองเป็น Slightly positive ต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย มูลค่าตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังมีความน่าสนใจ หากพิจารณาจาก Forward P/E ที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปี โดยแนวโน้มของ Earning ในตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังเติบโตได้ดี โดยเฉพาะในกลุ่มหุ้น Large และ Mid cap ล่าสุด MSCI-Indonesia มี valuation ในด้าน Forward P/E อยู่ในระดับ 14x โดยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างถูก (-1.4 sd) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่แนวโน้มการเติบโตของกำไรในปี 2022-23 มีโอกาสเร่งตัวขึ้นอยู่ที่เฉลี่ย 12% ต่อปีเมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 ซึ่งขยายตัวเพียง 7% ต่อปี
หากเปรียบเทียบกับ Regional peer อย่างตลาดหุ้นไทยและเวียดนาม ตลาดอินโดนีเซียยังมีความน่าสนใจ ในแง่ของความผันผวนที่ต่ำกว่า Peer และ Earning ที่เติบโตได้ดี แม้ว่าราคาหุ้นจะแพงกว่าเมื่อเทียบกับตลาดเวียดนาม ส่วนหนึ่งมาจากราคาที่ปรับลดลงมากของหุ้นเวียดนาม
หากพิจารณาในแง่ Market cap, Return, EPS และ P/E รวมถึงปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุนกลุ่ม Sector ต่างๆ จะพบว่า กลุ่ม Sectors ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นอินโดนีเซีย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1) กลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มสุขภาพ และกลุ่ม Consumer discretionary ที่ได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของการบริโภคของครัวเรือน โดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นกลาง และการขยายตัวของธุรกิจบริการ โดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจใหม่อย่างธุรกิจ Platform
2) กลุ่มพลังงานและกลุ่ม Material ที่ได้อานิสงส์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับสูง แต่ในระยะสั้นผลบวก เริ่มมีข้อจำกัดจากแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่กำลังเข้าสู่ระดับสูงสุด อย่างไรก็ตาม ในระยะกลาง การลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ EV น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในกลุ่ม Material
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…