เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ชี้แจงกรณี ธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) มีปัญหาว่า “จากที่มีข่าวเรื่องธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ที่ผ่านมาซึ่งหลายท่านอาจจะมีความกังวลในการลงทุน ซึ่งทาง กรุงศรี ฟินโนเวต ที่เป็นผู้บริหารกองทุน Finnoventure Fund1 ขอเรียนชี้แจงว่า กองทุนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรง (เงินฝากของกองทุน)และทางอ้อม ( Startup ฝากเงินที่ได้รับจากกองทุนเพื่อไว้บริหารงาน) กับ SVB แต่อย่างใด”
พร้อมเผยข้อมูลสรุปสถานการ์ล่าสุดถึงเช้าวันที่ 13 มี.ค. 66 ดังนี้
- SVB เป็นธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญในการปล่อยกู้ Tech Startup และมีหนี้เสียเพียง 0.18% และมีการระดมเงินฝากส่วนใหญ่จาก กองทุน Venture Capital (VC) ทั่วโลกที่เน้นลงทุนใน USA (เงินฝากที่รอเรียกเพื่อการลงทุน) และ เงินฝากของ Startup เองที่ได้รับจาก VC เพื่อเอาไว้ใช้บริหารกิจการต่อไป
- เมื่อ SVB ได้เงินฝากมา ก็เอาเงินไปลงทุนโดยที่เน้นที่พันธบัตร Mortgage-back securities ในในปีที่ลงทุน ได้ดอกเบี้ย 1+% แต่ปัจจุบันอัตรดอกเบี้ยใน USA พุ่งขึ้นถึง 5% ทำให้ราคาตราสารหนี้ตกลง และเมื่อ SVB ต้องเพิ่มสภาพคล่องในธนาคาร เนื่องจากอัตราการฝากลดลง เพราะ Startup ต้องใช้เงินมากกว่าได้รับการเพิ่มทุน ทำให้ SVB ต้องขายพันธบัตรออกไปแบบขาดทุนกว่า US$1,800 พันล้านบาท
- การประกาศดังกล่าวทำให้นักลงทุนไม่เชื่อมั่น หรือเรียกว่า Deeply Shock เพราะก่อนหน้านี้ SVB มีชื่อเสียงและมีความมั่นคงตลอด ทำให้ราคาหุ้นตกไปกว่า 60% จนผู้ฝากเงินเข้ามาถอนเงินแบบไม่หยุดหรือเรียกว่า Bank Run
- Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้เข้ามาปิดธนาคารทันทีหลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่กี่วัน และรับประกันให้ $250,0000 ต่อบัญชีต่อคนหรือบริษัท ซึ่งมากกว่า75% มีเงินฝากมากกว่านี้
สำหรับการวิเคราะห์ของ Krungsri Finnovate คุณแซม แบ่งออกมาเป็น 4 ประเด็น ดังนี้
- SVB ถือว่าเป็นธนาคารที่มีความเสี่ยงสถานการณ์นี้ เพราะบัญชีเงินฝากส่วนใหญ่อยู่กับ VC & Startup มิได้กระจายความเสี่ยงไปใน segment อื่นๆ
- จากวิกฤติ 2008 เคยเกิด Bank Run กับ Washington Mutual ซึ่งในที่สุดก็มี JP Morgan มาซื้อกิจการและก็ได้รับเงินฝากคืนทั้งหมด
- ภายในคืนนี้ หรือ สัปดาห์นี้ FED น่าจะประกาศให้ความช่วยเหลือแบบ emergency ซึ่งอาจจะเข้ามาอุ้มดูแล SVB ก่อน และปล่อยขาย ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีหลายธนาคารสนใจเนื่องจากผลงานในการปล่อยกู้ดีมาก และเชื่อว่าส่วนใหญ่สนใจ segment technology เพื่อเสริม port ในระยะยาว
- เหตุที่ FED จะต้องรีบเข้ามาช่วย เพราะนอกจากตัวเองเป็นผู้ที่ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง จนทำให้เกิดวิกฤติแล้ว FED ควรต้องมาเสริมสภาพคล่องให้ Startup ที่ฝากเงิน และเป็นเงินที่ต้องใช้บริหารกิจการ โดยที่ต้องทำให้ทันก่อนสิ้นเดือนที่เงินเดือนจะออก รวมถึง VC ต้องใช้เงินในการลงทุน เพราะถ้า FED นิ่งก็จะทำให้วิกฤติที่แท้จริง
โดยสรุปวิกฤติคราวนี้มาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากความไม่มั่นใจ แต่ในที่สุดต้องรอ FED ที่จะมาเข้าจัดการเรื่องนี้ให้กลับมาปกติเร็วที่สุก และทางกองทุนจะมา update สถานการณ์เมื่อมีการเคลื่อนไหวต่อไป