กกร.ประเมินเศรษฐกิจไทย ไตรมาส 3 ชะลอลงจากช่วงครึ่งปีแรก จากการส่งออก และการท่องเที่ยว ขณะที่การใช้จ่ายในประเทศปรับตัวดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวดีขึ้น จากแรงหนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการส่งออกที่เติบโตสูงขึ้น ส่งผลให้ที่ประชุม กกร. มองว่า ภาพเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2561 จะยังขยายตัวไม่ต่ำกว่ากรอบล่างของประมาณการที่ 4.4% เช่นเดียวกับการส่งออกที่คาดว่าจะยังเติบโตได้ในกรอบล่างของประมาณการที่ 8.0%

สำหรับปี 2562 นั้น การส่งออกของไทยอาจมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง ตามการชะลอตัวของทิศทางเศรษฐกิจหลักต่าง ๆ ในโลกที่ยังเผชิญความไม่แน่นอนหลายประการ ขณะที่ยังต้องติดตามประเด็นการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งหากคลี่คลายไปในทางที่ดี จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่มีต่อการส่งออก

ทั้งนี้ กกร. มองว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย คงจะต้องพึ่งพาการใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนที่จะได้รับอานิสงส์จากการลงทุนอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ และการใช้จ่ายของครัวเรือนภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อผนวกกับการทยอยฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ในเบื้องต้น กกร. จึงประเมินว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 น่าจะทำได้ไม่ต่ำกว่า 4.0% หรืออยู่ในกรอบประมาณการที่ 4.0-4.3% โดยประเมินว่า การส่งออกในปี 2562 อาจขยายตัวในกรอบ 5.0-7.0% จากการส่งออกที่ขยายตัวทั้งในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร อาทิ ผลิตภัณฑ์ยาง หมวดสินค้าก่อสร้าง สิ่งทอ ไปยังตลาดสำคัญๆ

สำหรับทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ยังคงเผชิญกับความเสี่ยงมากมายไม่ว่าจะเป็น

ความไม่แน่นอนของสงครามการค้าและความเสี่ยงของสถานการณ์ Brexit ตลอดจนการฟื้นตัวกลับมาของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน ทั้งนี้ ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย ตลอดจนราคาพืชผลทางการเกษตรในประเทศ ที่จะมีผลต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ

• ปัจจัยบวกในปี 2562 คือ บรรยากาศของการเลือกตั้ง ซึ่งคาดว่าจะมีเงินสะพัดที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี ตลอดจนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านบัตรสวัสดิการคนจน น่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวได้เป็นปกติในช่วงกลางปี 2562 หากปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกคลี่คลายลงโดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน

• มาตรการช็อปช่วยชาติของรัฐบาล รอบใหม่ที่จะเริ่มใช้มาตรการในวันที่ 15 ธ.ค. 2561-15 ม.ค.

2562 มาตรการนี้จะสามารถช่วยให้เกษตรกรสวนยาง และชุมชนต่าง ๆ มีรายได้มากขึ้น ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้นประมาณ 1.0 – 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะส่งผลต่อบรรยากาศการกระตุ้น เศรษฐกิจต่อเนื่อง ตั้งแต่ปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้า คาดว่าจะช่วยเพิ่มจีดีพีของไทย 0.1-0.2%

• สำหรับการที่ประเทศไทยจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนเจ้าภาพ ASEAN ในปีหน้านั้น

กกร. มอบหมายสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจอาเซียน-ประเทศไทย (หรือ ASEAN-BAC Thailand) เพื่อจัดกิจกรรมในส่วนของภาคเอกชน เช่น การประชุมสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) และการสัมมนาหัวข้อต่างๆซึ่งเป็นที่สนใจ รวมถึง การจัด ASEAN Business Awards และ ASEAN Business & Investment Summit (ABIS) คู่ขนานไปกับการประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit)

• นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27-28 พ.ย.2562 ภาคเอกชน ได้มีโอกาสนำเสนอ

6 ประเด็น เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระหว่างประเทศไทย และ ประเทศเยอรมณี เช่น

  • (1) ส่งเสริมการอบรมพัฒนาวิชาชีพอาชีวศึกษาทวีภาคีตามระบบของ
    ประเทศเยอรมนี
  • (2) ความร่วมมือกับ MESSE เพื่อส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้าน
    การจัดกิจกรรม MICE ในภูมิภาคอาเซียน
  • (3) การเชิญชวนบริษัทประกันภัยต่อของเยอรมันจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคขึ้น
    ในประเทศไทย
  • (4) การส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศเยอรมนีและประเทศไทย โดย
    การเชิญชวน นักท่องเที่ยวเยอรมัน เดินทางท่องเที่ยวเมืองรอง นอกเหนือจากการที่นักท่องเที่ยวเยอรมัน ซึ่งเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยเมืองหลัก
  • (5) การเชิญชวนสถาบัน Fraunhofer IPK จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา ขึ้นที่
    Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi)

นอกจากนี้ กกร. ได้จัดตั้งคณะทำงานภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านอาชีวศึกษา และหารือความต้องการแรงงานและแนวทางในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต

• กกร. มอบหมาย คณะทำงาน ประสานงานกับ สศช. เพื่อหารือสำหรับการจัดประชุม คณะกรรมการร่วมภารรัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือ กรอ. ส่วนกลาง ซึ่งจะครอบคลุมภายใต้กรอบ 5 กลุ่มเรื่อง ดังนี้ (1) การส่งเสริมการค้าและการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ (2) การส่งเสริมอุตสาหกรรม (3) การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการ (4) การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ และ (5) การแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ

• โครงการ Downtown VAT Refund for Tourists กรมสรรพากรจะประกาศให้มีการเปิดบริการจุดรับคืนภาษีในเมืองสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นสกุลเงินบาท เพิ่มเติมอีก 5 จุด ในเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นการทดลองไปจนถึงวันที่ 31 มี.ค. 2562 (1.สยามพารากอน 2.เซ็นทรัลเวิลด์ 3.เซ็นทรัลชิดลม 4.โรบินสันสุขุมวิท 5.เอ็มโพเรียม) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว

Scroll to Top