Categories: EnergyNews Update

กกพ.” มีมติออกใบอนุญาต โรงไฟฟ้าชีวมวล ของ “มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ)” หลังชะลอการพิจารณาอนุญาต และใช้เวลาเกือบ 3 เดือน

​นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. มีมติเห็นชอบให้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ให้แก่ บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 32,500.00 กิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA) หรือ 26.000 เมกะวัตต์ (MW) ผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชีวมวล (กากอ้อย ใบอ้อย และชิ้นไม้สับ) ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต. น้ำปลีก อ. เมือง จ. อำนาจเจริญ พร้อมกำหนดมาตรการในกำกับดูแลเพิ่มเติม นอกเหนือจากมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามรายงาน EIA

​ทั้งนี้ เพื่อให้ครอบคลุมข้อเรียนและประเด็นผลกระทบที่มีนัยสำคัญอย่างครบถ้วน โดยระบุไว้ในเงื่อนไขเฉพาะในท้ายใบอนุญาต กกพ. ยังได้รับทราบมาตรการเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ข้อวิตกกังวลของประชาชนเพิ่มเติมตามที่ตัวแทนกลุ่มบริษัทมิตรผลได้แสดงเจตจำนงยินดีที่จะจัดทำมาตรการดังกล่าว เพื่อเป็นโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในการดูแลผลกระทบต่อ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งหากพบว่าฝ่าฝืนหรือไม่มีการปฏิบัติ และเกิดมลพิษและผลกระทบสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดให้หยุดการผลิตได้ทันที

​“การดำเนินงานของ กกพ. ตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในบริหารจัดการ และเคารพสิทธิต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ และตรงตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่บัญญัติไว้” นางสาวนฤภัทร กล่าว

ก่อนหน้านี้ ในการประชุม กกพ. เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2561 กกพ. ได้มีมติชะลอการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า ระบบจำหน่ายไฟฟ้า จำหน่ายไฟฟ้า การอนุญาตก่อสร้างอาคาร และการอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า ของบริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด เพื่อให้ กกพ. ได้มีโอกาสรับฟังข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้า ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ ซึ่งข้อสรุปประเด็นปัญหาข้อร้องเรียน ข้อกังวลใจ และแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อไปสู่การกำหนดเงื่อนไขเฉพาะในการประกอบกิจการพลังงานหรือกำหนดเป็นมาตรการลดผลกระทบตามกฎหมายต่างๆ

โดยเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 นำโดยนายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธาน กกพ. พร้อมคณะผู้แทนสำนักงาน กกพ. ได้ลงพื้นที่เพื่อเข้าประชุมร่วมกับนายนิกร สุกใส ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร และกลุ่มผู้คัดค้านโครงการ ประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายและกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซบาย เพื่อดู สำรวจ เก็บข้อมูล และรับฟังข้อเท็จจริงของโครงการ ได้แก่ จุดผันน้ำจากลำน้ำเซบาย สภาพทั่วไปของพื้นที่โครงการ และการกันพื้นที่สาธารณะ (ลำห้วยน้อย) ออกจากพื้นที่โครงการ รวมทั้งได้เจรจากับกลุ่มผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านโครงการ ซึ่งในการลงพื้นที่ในครั้งนั้น ได้ข้อสรุปประเด็นที่ได้จากกลุ่มผู้คัดค้าน มาพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามรายงาน EIA โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทฯ เพื่อนำมาพิจารณาใช้ปฏิบัติในช่วงก่อนก่อสร้างและตลอดช่วงก่อสร้าง ตลอดจนถึงช่วงดำเนินการ

ทั้งนี้ ตามที่ กกพ. ได้มีมติอนุญาตใบอนุญาตจำนวน 5 ประเภทแล้วได้แก่ ใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า ใบอนุญาตระบบจำหน่ายไฟฟ้า ใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้า ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (อ.1) และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้า (รง.4)

นางสาวนฤภัทร กล่าวว่า “ในส่วนของใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า กกพ. ได้มติให้เพิ่มเงื่อนไขเฉพาะในการประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า เป็น 9 ข้อ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
​1. ต้องปฏิบัติตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม “โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัท มิตรผลไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ” ฉบับล่าสุด หรือฉบับที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมที่ได้รับความเห็นชอบโดยเคร่งครัด
​2. ต้องนำส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัญหา ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะต่อสำนักงานเป็นประจำทุก 6 เดือน
​3. ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ก่อนแจ้งเริ่มประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า
​​(1) ผลการทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพของเครื่องจักรอุปกรณ์สำคัญที่ได้รับรองอย่างเป็นทางการจากผู้ผลิต
​​(2) ผลการทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพของระบบผลิตไฟฟ้า ซึ่งรวมถึง Heat Balance, Mass Balance, Water Balance และปริมาณมลพิษทางอากาศที่ระบายจากปล่อง ซึ่งได้รับรองอย่างเป็นทางการหลังจากการทดลองเดินเครื่องและทดสอบระบบ
4. หากมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงชนิดของเชื้อเพลิงหรือรายละเอียดโครงการแตกต่างจากที่เสนอไว้ในการขออนุญาตประกอบกิจการพลังงาน จะต้องเสนอรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงให้คณะกรรมการให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
​5. ให้นำส่งรายงานสมดุลของการผลิต ซื้อ ใช้ และ/หรือจำหน่ายไฟฟ้าประจำวันของสถานประกอบกิจการ โดยแสดงรายละเอียดเป็นรายชั่วโมง และผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามรอบการตรวจติดตามที่กำหนดในรายงาน EIA ให้สำนักงานทุกเดือน นับแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ
​6. ห้ามจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบโครงข่ายพลังงานของการไฟฟ้าก่อนได้รับอนุญาต
​7. ต้องจัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน จัดการฝึกอบรม แนะนำวิธีการป้องกันเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในส่วนที่อาจก่อให้เกิดอันตราย อุบัติเหตุและอุบัติภัย และมีการฝึกซ้อมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ จะต้องมีหลักฐานเอกสารการดำเนินการแสดงไว้ที่สถานประกอบกิจการให้สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
​8. ต้องทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศทั้งระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการจำนวน 4 จุด (ทิศทางลมและความเร็วลม 2 จุด) ปีละ 3 ครั้ง (ทุก 4 เดือน) ครั้งละ 7 วันต่อเนื่อง ให้ครอบคลุมทั้งในช่วงฤดูหีบอ้อยและนอกฤดูหีบอ้อ
9. ให้ควบคุมดูแลการระบายมลพิษทางอากาศให้น้อยที่สุด และให้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศจากปล่องที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (CEMs) โดยให้ติดตั้งจอแสดงผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่บริเวณหน้าโรงงาน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบได้โดยสะดวก”

สำหรับ มาตรการเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ข้อวิตกกังวลของประชาชนเพิ่มเติมตามที่ตัวแทนกลุ่มบริษัทมิตรผลฯ ได้แสดงเจตจำนงยินดีที่จะจัดทำมาตรการดังกล่าว เพื่อเป็นโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล มีดังนี้

1. บริษัทฯ จะควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศให้น้อยที่สุดและจะติดตั้งเครื่องตรวจวัดความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศจากปล่องที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (CEMs) โดยจะรายงานคุณภาพอากาศผ่านจอแสดงผลที่บริเวณหน้าโรงงาน
​2. บริษัทฯ จะจัดส่งรายงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดินให้แก่สำนักงาน กกพ. ทุกเดือน
​3. บริษัทฯ จะเพิ่มความถี่ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศทั้งระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการปีละ 3 ครั้ง ต้องดำเนินการตรวจวัดในช่วงหีบอ้อย นอกฤดูกาลหีบอ้อย และช่วงหยุดซ่อมบำรุง
​4. บริษัทฯ ยินดีจะเชิญผู้ร้องเรียนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อติดตามการประกอบกิจการของบริษัทฯ
​5. บริษัทฯ จะจัดตั้งกองทุนมวลชนสัมพันธ์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบโรงงาน ซึ่งบริหารกองทุนโดยคณะกรรมการไตรภาคี
​6. บริษัทฯ จะจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย โดยสนับสนุนการเพาะเลี้ยงและปล่อยพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำท้องถิ่น รวมทั้งกิจการสัตว์น้ำท้องถิ่น โดยผ่านคณะกรรมการไตรภาคีและประมงจังหวัด
​7. บริษัทฯ จะพัฒนาถนน และการจราจรในพื้นที่ เพื่อสร้างทางเลี่ยงทางหลัก และลดการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ รวมทั้งการดูแลฝุ่นถนน
​8. บริษัทฯ จะมอบทุนวิจัยการพัฒนาและอนุรักษ์กับนักวิจัยของมหาวิทยาลัย
​9. บริษัทฯ จะยกเลิกการใช้สารเคมีเกษตรที่เป็นอันตราย 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต
ไกลโฟเซต คลอร์ไพริฟอส ในการปลูกอ้อย
​10. บริษัทฯ จะติดตั้งมาตรวัดปริมาณน้ำที่โรงงานมีการผันน้ำจากลำน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก และรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
​11. บริษัทฯ จะดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน สร้างงาน สร้างอาชีพเสริม
การท่องเที่ยวชุมชน
​12. บริษัทฯ จ้างงานคนพิการในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร รอบโรงงาน”
ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. จะดำเนินการติดตามการดำเนินการตามมาตรการเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ข้อวิตกกังวลของประชาชนเพิ่มเติมที่ตัวแทนกลุ่มบริษัทมิตรผลเสนออย่างเคร่งครัด และรายงาน กกพ. ต่อไป” นางสาวนฤภัทร กล่าวเพิ่มเติม

BizTalk NEWS

Recent Posts

vivo V50 เปิดตัวแล้ว มาพร้อมกล้อง ZEISS 50MP ในราคาเริ่มต้น 15,999 บาท

เปิดตัว vivo V50 สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมคอนเซปต์ "ถ่ายที่รักอย่างโปร" ชูจุดเด่นกล้อง ZEISS ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลรอบด้าน อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ AI…

4 hours ago

LINE MAN เผยเทรนด์ “ชาไทย Specialty” แรงจัด! ยอดสั่งพุ่ง 81% ร้านใหม่ผุด 205%

กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…

7 hours ago

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

9 hours ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

9 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

9 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

9 hours ago