สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ จัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแข่งขันเอเปค หรือ APEC CPLG : Asia-Pacific Economic Cooperation, Competition Policy and Law Group โดยมุ่งผลักดัน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพการกำกับการแข่งขันทางการค้าในตลาดดิจิทัล การกำหนดแนวทางการใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวระหว่างและหลังสถานการณ์โควิด-19 นอกจากนี้ ยังมีมติเห็นชอบนโยบายแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะร่วมกันบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมนวัตกรรมและพฤติกรรมทางธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
–เปิด 3 เทรนด์ พัฒนา Leadership เอาชนะความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลง
–สภาดิจิทัลฯ ผลักดันยกเว้น Capital Gains Tax สำเร็จ คาดเงินลงทุนสตาร์ทอัพไทยเพิ่มขึ้น 3.2 แสนล้านบาท ในปี 69
กฤษฎา เปี่ยมพงษ์สานต์ รองประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า ในฐานะประธานของกลุ่ม CPLG (Competition Policy and Law Group) กล่าวว่า สำนักงาน กขค.ได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแข่งขันเอเปค (APEC CPLG : Asia-Pacific Economic Cooperation, Competition Policy and Law Group) จาก 19 เขตเศรษฐกิจเข้าร่วมการประชุมในปีนี้ ซึ่งทุกหน่วยงานมีความตั้งใจที่จะผลักดัน 3 ประเด็นหลักที่สำคัญในแผนงานสำหรับปี 2565 ได้แก่
1.การพัฒนาศักยภาพการกำกับการแข่งขันทางการค้าในตลาดดิจิทัล
2.การกำหนดแนวทางการใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3.การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวระหว่างและหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะการสร้างตลาดที่เท่าเทียมเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ MSMEs
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า ยังได้เน้นย้ำให้หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้า ต้องมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าที่เสรีและเป็นธรรม แม้ว่าจะเผชิญหน้ากับความท้าทายจากตลาดดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงขยายตัวอย่างรวดเร็วในภาคเศรษฐกิจดิจิทัล
“กลุ่มสมาชิก CPLG มีมติเห็นชอบโครงการ “นโยบายแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่ประเทศไทยเป็นผู้เสนอ โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นและแนวทางนโยบายจากหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะการส่งเสริมนวัตกรรมสีเขียวและพฤติกรรมทางธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”
นอกจากนี้ สำนักงาน กขค. ยังได้จัดกิจกรรมการเสวนาเชิงนโยบายหัวข้อ “การกำกับการแข่งขันในตลาดดิจิทัล” เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda for Structural Reform : APEC) โดยให้คำแนะนำทางนโยบายในการยกระดับการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าในตลาดดิจิทัลใน 2 ด้านหลัก ได้แก่ การเสริมศักยภาพให้แก่หน่วยงานกำกับการแข่งขันโดยวิธีต่าง ๆ อาทิ การฝึกฝนเจ้าหน้าที่ในประเด็นดิจิทัล การพัฒนาเครื่องมือตรวจจับพฤติกรรมในตลาดดิจิทัลที่ละเมิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้า และ แนวทางการพัฒนาการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าในตลาดดิจิทัล อาทิ การร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ โดยกลุ่ม CPLG ยังเห็นด้วยกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกทั้งในด้านการประเมินและคำตัดสินเพื่อเป็นประโยชน์แก่กลุ่มสมาชิกที่ยังมีประสบการณ์ในตลาดดิจิทัลไม่เพียงพอ
กฤษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2565 นี้ ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปคตั้งใจขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เสรีและเป็นธรรม ครอบคลุม และยั่งยืนทั่วทั้งภูมิภาคเอเปค ภายใต้กรอบแนวคิด “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” และสำนักงาน กขค. นั้นมุ่งมั่นที่จะมีบทบาทสำคัญช่วยผลักดันวาระดังกล่าวผ่านการจัดการประชุมกลุ่ม CPLG การเสวนานโยบาย และโครงการนโยบายแข่งขันทางการค้าและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะจัดขึ้นภายในปีนี้ต่อไป
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และนายอรรถวิท รักจำรูญ กรรมการฯ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ลงพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ…
บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC เปิดบ้านต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากหลากหลายสำนักที่เดินทางมาเยี่ยมชมโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Press Visit “BSRC:…
บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ภายใต้คำมั่นสัญญา “ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้” โดย นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ รับรางวัล…
Krungthai COMPASS มีมุมมองต่อยอดขายรถยนต์ไทยในปี 2567-68 อาจอยู่ในระดับต่ำที่ปีละ 0.6-0.61 ล้านคัน ลดลงจากค่าเฉลี่ยในอดีต (ปี 2564-66) เกือบ 25% โดยมีแรงกดดันหลักจาก 1) กำลังซื้อของผู้บริโภคที่แผ่วลง…
Huawei Cloud ผงาดขึ้นแท่นผู้นำระดับโลกในบริการคอนเทนเนอร์ คว้าอันดับ 1 ในรายงาน Omdia Universe: Cloud Container Management & Services, 2024-25 ตอกย้ำความเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยี…
ในยุคที่ผู้บริโภคใส่ใจในแบรนด์ที่สะท้อนรสนิยมและความสนใจของตัวเองมากขึ้น "Lifestyle Brand" หรือ "แบรนด์ไลฟ์สไตล์" จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยสร้างความผูกพันอันแข็งแกร่งกับลูกค้า โดยนำเสนอมากกว่าแค่สินค้าหรือบริการ แต่เป็นการนำเสนอ "วิถีชีวิต" ที่ลูกค้าใฝ่ฝัน จากรายงาน Business of Fashion (BoF)…