Categories: EnergyNews Update

กฟน. แก้สำเร็จ!! สายสื่อสารรกรุงรัง ด้วยเทคโนโลยีไมโครดักท์ ครั้งแรกในไทย

นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) แถลงข่าวถึงความสำเร็จ กฟน. นำร่องใช้ท่อพิเศษเทคโนโลยีใหม่ ไมโครดักท์ (Microduct) เพียงท่อเดียวติดตั้งบนเสาไฟฟ้า แก้ปัญหาสายสื่อสารรกรุงรัง ครั้งแรกในประเทศไทย ณ บริเวณ ถนนราชวิถี กรุงเทพมหานคร

ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า จากกรณีปัญหาสายสื่อสารรกรุงรัง ที่เกิดขึ้นจากการลักลอบพาดสายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน จนทำให้เกิดปัญหาด้านทัศนียภาพ รวมถึงอุบัติเหตุต่างๆ เช่น รถเกี่ยวสายสื่อสารเหนี่ยวรั้งเสาไฟฟ้าล้ม และปัญหาเพลิงไหม้สายสื่อสาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า และความปลอดภัยของประชาชน ดังนั้น กฟน. ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์การจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ จึงคิดค้นวิธีแก้ไขปัญหาตลอดมา ล่าสุด กฟน. ได้ทดสอบใช้เทคโนโลยีใหม่สำเร็จโดยใช้ท่อไมโครดักท์ติดตั้งบนเสาไฟฟ้าเพียงท่อเดียวเพื่อนำสายสื่อสารร้อยในท่อเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยดำเนินโครงการนำร่องในพื้นที่ถนนราชวิถี ฝั่งเหนือ ซอยคู่ (ตั้งแต่แยกถนนขาว – แยกการเรือน) เป็นระยะทาง 730 เมตร มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม 2561 เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ขณะเดียวกันยังรองรับสายสื่อสารได้เป็นจำนวนมาก และสามารถควบคุมดูแลสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าได้อย่างเบ็ดเสร็จอีกด้วย

สำหรับโครงการติดตั้งท่อไมโครดักท์ครั้งนี้ เป็นการนำเทคโนโลยี SOCC (Single Overhead Communication Cable) เป็นการประยุกต์ใช้ท่อ Aerial Microduct ที่ใช้รองรับสายสื่อสารลงใต้ดิน นำมาติดตั้งบนเสาไฟฟ้าเพื่อวางสายสื่อสารในอากาศ ร้อยสายด้วยระบบ Air Blown System โดยท่อมีคุณสมบัติพิเศษของสายสะพาน (Messenger Wire) ประเภทพลาสติกชนิด FRP (Fiber/Fiberglass Reinforce Plastic) ที่มีความเหนียวแข็งแรงพิเศษ ไม่ใช้เหล็กหรือลวดสลิง ใช้ติดตั้งยึดติดกับเสาไฟฟ้า เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ท่อจะทำให้ขาดออกไม่ส่งผลเหนี่ยวรั้งทำให้เสาไฟฟ้าหักหรือล้มแต่อย่างใด ท่อมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร สามารถรองรับสายสื่อสารใยแก้วนำแสงได้สูงสุดจำนวน 672 core เพียงพอกับสายสื่อสารในปัจจุบันที่มีอยู่ จำนวน 168 core เมื่อร้อยสายสื่อสารใหม่เสร็จสิ้นแล้ว สายสื่อสารเดิมจะถูกรื้อถอนออกไปคงเหลือท่อไมโครดักท์เพียงท่อเดียวบนเสาไฟฟ้า เท่านั้น ในส่วนลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1.ติดตั้งท่อร้อยสาย (Aerial Microduct) 2.ติดตั้งตู้เชื่อมต่อสาย (Outdoor Cabinet) 3.ติดตั้งสายเคเบิลสื่อสาร (Air Blow Cable) และ 4.หน่วยงานฯ และผู้ประกอบกิจการฯ ติดตั้งเชื่อมต่อสายเข้าระบบเพื่อใช้งานสำหรับโครงการติดตั้งท่อไมโครดักท์ในอนาคต กฟน. ได้กำหนดแผนการดำเนินการใน 7 เส้นทาง ได้แก่
1. ถนนสาทร (แยกถนนเจริญกรุง – แยกถนนพระราม 4) ระยะทาง 3.6 กิโลเมตร
2. ถนนพระราม 4 (แยกถนนราชดำริ – สถานีไฟฟ้าย่อยคลองเตย) ระยะทาง 2.3 กิโลเมตร
3. ถนนสารสิน (แยกถนนราชดำริ – แยกถนนวิทยุ) ระยะทาง 0.8 กิโลเมตร
4.ถนนชิดลม (แยกถนนเพชรบุรี – แยกถนนเพลินจิต) ระยะทาง 0.7 กิโลเมตร
5.ถนนหลังสวน (แยกถนนเพลินจิต – แยกถนนสารสิน) ระยะทาง 1.3 กิโลเมตร
6.ถนนเจริญราษฎร์ (แยกถนนพระราม 3 – แยกถนนสาทร) ระยะทาง 3.8 กิโลเมตร
7.ถนนอังรีดูนังต์ (แยกถนนพระราม 1 – แยกถนนพระราม 4) ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร
รวมระยะทางทั้งสิ้น 14.3 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 6 แสนบาท ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร ทั้งนี้ กฟน. จะประสานผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือดำเนินการเพื่อให้การแก้ไขปัญหาสายสื่อสารมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยเทคโนโลยีไมโครดักท์ เมื่อโครงการนี้สำเร็จจะช่วยให้การแก้ไขปัญหาสายสื่อสาร พร้อมทั้งการสร้างระบบไฟฟ้าที่มั่นคง และทัศนียภาพที่สวยงาม เดินหน้าสร้างมหานครแห่งอาเซียน Smart Metro อีกทั้ง กฟน. พร้อมเป็นผู้นำในการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อขยายผลการแก้ไขปัญหาสายสื่อสารรกรุงรังของประเทศต่อไป

 

BizTalk NEWS

Recent Posts

เปิดตัว HONOR X7c และ HONOR 200 Smart 5G เน้น “ถึก ทน คุ้ม” ในราคาสุดเร้าใจ

ออเนอร์ (HONOR) ประกาศเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ 2 รุ่น ได้แก่ HONOR X7c และ HONOR 200 Smart 5G โดยชูจุดเด่นด้านความแข็งแกร่งทนทาน ภายใต้คอนเซ็ปต์…

2 hours ago

JLL ครบรอบ 35 ปี! ผู้นำอสังหาฯไทย เดินหน้าสู่ยุค AI ปฏิวัติวงการ

เจแอลแอล ประเทศไทย (JLL) บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ฉลองครบรอบ 35 ปี แห่งการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย นับเป็นก้าวสำคัญที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย โดยตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เจแอลแอลได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของโครงการอสังหาฯ รูปแบบการใช้งานเดียว…

3 hours ago

AIS คว้ารางวัล “Creative Equality Award” ชูพลังสร้างสรรค์เพื่อสังคม

AIS คว้ารางวัล Creative Equality Award ประเภท Social Impact Awards จากเวที Creative Excellence Awards 2024 โดยรางวัลนี้เป็นผลมาจากความสำเร็จของโครงการ…

3 hours ago

องค์กรไทยแห่ใช้ Gen AI! ETDA ชูธง “ธรรมาภิบาล” นำทัพ AI Ethics สู่เวทีโลก

ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Center: AIGC) ภายใต้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) จัดงานเสวนาออนไลน์ AI Governance Webinar 2024…

3 hours ago

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก ททท. ตอกย้ำ “หนึ่งเดียว Authentic Thai Soft Power” สู่เวทีโลก ด้วย 11 ต้นคริสต์มาส “Heart-Made & Handcraft” อัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยฝีมือคนท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เซ็นทรัลพัฒนาได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับศิลปินและชุมชนท้องถิ่น สร้างสรรค์ผลงานคราฟต์ต้นคริสต์มาสที่ผสานเสน่ห์ของ 2 วัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก ถ่ายทอดผ่าน ต้นคริสต์มาส Local Pride ซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์อันโดดเด่นของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย ผลงานเหล่านี้ถูกนำเสนออย่างงดงามในศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั่วประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ “Place for All” ที่มุ่งยกระดับให้พื้นที่ศูนย์การค้าเป็นเดสติเนชั่นที่เชื่อมโยงเมือง ผู้คนในชุมชน และศิลปินท้องถิ่น ร่วมกันพัฒนาผลงานศิลปะที่เปี่ยมด้วยเสน่ห์อัตลักษณ์ไทยให้โดดเด่น นำเสนอสู่สายตาของคนทั่วประเทศและทั่วโลก ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา กรรมการผู้จัดการใหญ่…

4 hours ago

เจาะลึก Gen Z: ทำความเข้าใจคนรุ่นใหม่ หัวใจหลักของการตลาดยุคนี้

ในยุคที่โลกหมุนเร็วด้วยเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว การทำความเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับแบรนด์ต่างๆ และหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่ทรงอิทธิพลที่สุดในปัจจุบันก็คือ Gen Z หรือคนรุ่นใหม่ที่เกิดระหว่างปี 1997 ถึง 2012 พวกเขาเติบโตมากับโลกดิจิทัล มีมุมมองที่แตกต่าง และให้ความสำคัญกับคุณค่าที่หลากหลาย บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกถึง Gen Z…

13 hours ago