News Update

“กรมโรงงานฯ ย้ำ การใช้งานโพแทสเซียมไซยาไนด์ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้”

กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันว่ากำกับดูแลสารโพแทสเซียมไซยาไนด์เป็นไปตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แล้ว โดยการใช้โพแทสเซียมไซยาไนด์ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เท่านั้น

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า “กรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นหนึ่งใน 6 หน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแลวัตถุอันตราย ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบสารตามบัญชี 5 ซึ่งใช้ในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงสารที่ควบคุมตามอนุสัญญา ของเสียเคมีวัตถุ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว รวมจำนวน 615 รายการ และ 26 กลุ่ม ทั้งนี้ โพแทสเซียมไซยาไนด์ จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ ซึ่งผู้ประกอบการที่ประสงค์จะนำเข้า ผลิต จะต้องขอขึ้นทะเบียนพร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ที่ชัดเจนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจะต้องได้รับอนุญาตก่อนการดำเนินการ โดยการนำไปใช้ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น สำหรับสารโพแทสเซียมไซยาไนด์ เป็นสารที่นำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ในการกระบวนการทำความสะอาดโลหะ ชุบโลหะ สกัดแร่ทองและเงิน และใช้ในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ทั้งนี้ สถานที่เก็บรักษาโพแทสเซียมไซยาไนด์ จะต้องได้รับการตรวจสอบทุกครั้งประกอบการพิจารณาขออนุญาต เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เหมาะสม เป็นไปตามกฎหมายและหลักวิชาการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ยังมีการตรวจติดตามสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อบุคคล ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม และกำหนดให้ผู้ที่มีโพแทสเซียมไซยาไนด์ในครอบครองตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไปในรอบ 6 เดือน มีหน้าที่ต้องรายงานข้อเท็จจริงของการนำไปใช้ ปริมาณคงเหลือ การจำหน่าย เพื่อให้สามารถติดตามตรวจสอบไปจนถึงผู้ใช้ (End User) ได้

นายจุลพงษ์ กล่าวต่อว่า กรณีมีข่าวการนำสารโพแทสเซียมไซยาไนด์ไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์ เช่น นำไปกำจัดสัตว์ หรือนำไปก่อเหตุฆาตกรรมนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อยกระดับการกำกับดูแลโพแทสเซียมไซยาไนด์ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้เชิญผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตฯ เกี่ยวกับสารโพแทสเซียมไซยาไนด์เข้าให้ข้อเท็จจริง และชี้แจงแนวทางการกำกับดูแลสารโพแทสเซียมไซยาไนด์ โดยได้จัดกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าโพแทสเซียมไซยาไนด์เป็น 3 กลุ่มตามวัตถุประสงค์การนำไปใช้ ได้แก่ กลุ่มผู้นำเข้าสำหรับกิจการโรงงาน กลุ่มผู้นำเข้าสำหรับห้องปฏิบัติการ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และกลุ่มผู้นำเข้าสำหรับกิจการชุบล้างโลหะขนาดเล็ก พร้อมกำหนดมาตรการควบคุม กำกับดูแลเพิ่มเติมแยกรายกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มผู้นำเข้าสำหรับกิจการโรงงาน และกลุ่มผู้นำเข้าสำหรับห้องปฏิบัติการ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ต้องยื่นข้อมูลผู้ใช้ (End User) พร้อมระบุวัตถุประสงค์การใช้ ประกอบการแจ้งนำเข้าก่อนนำของออกจากด่านศุลกากรในรูปแบบเอกสารที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น และต้องรายงานทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการครอบครองแบบเรียลไทม์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

กลุ่มผู้นำเข้าสำหรับกิจการชุบล้างโลหะขนาดเล็ก ต้องยื่นข้อมูลผู้ใช้ (End User) พร้อมระบุวัตถุประสงค์การใช้ ประกอบการแจ้งนำเข้าก่อนนำของออกจากด่านศุลกากร และต้องรายงานปริมาณการครอบครองทุก 3 เดือน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดให้ใบอนุญาตฉบับใหม่มีอายุไม่เกิน 1 ปี จากเดิมไม่เกิน 3 ปี และต้องมีข้อมูลผู้จำหน่าย (Trader) และ ผู้ใช้ (End User) ประกอบการพิจารณาอนุญาต ทั้งนี้ ผู้รับใบอนุญาตที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตฯ ต่อไป กรมโรงงานอุตสาหกรรมยังได้ขอความร่วมมือ สคบ. เพื่อห้ามมิให้มีการโฆษณาและจำหน่ายโพแทสเซียมไซยาไนด์ในแพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าออนไลน์ทุกประเภท และอยู่ระหว่างการยกร่างประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขการโฆษณา และนำเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายต่อไป

“กรมโรงงานอุตสาหกรรม มุ่งมั่นที่จะป้องกันมิให้มีการนำสารโพแทสเซียมไซยาไนด์ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยการขอความร่วมมือและเพิ่มมาตรการควบคุม กำกับดูแลการใช้สารโพแทสเซียมไซยาไนด์อย่างเข้มงวด โดยจะพยายามให้เกิดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม และด้านการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย น้อยที่สุด เพื่อประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งนี้ ได้กำชับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกรายต้องนำสารโพแทสเซียมไซยาไนด์ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุในการขึ้นทะเบียนเท่านั้น หากพบว่า ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย (Trader) หรือผู้ใช้ (End User) มีการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” อธิบดีกรมโรงงาน กล่าวปิดท้าย

BizTalk NEWS

Recent Posts

Roojai Acquires DirectAsia Thailand, Solidifying Market Leadership

BANGKOK – Roojai, a leading digital insurance platform in Thailand, has announced the successful acquisition…

2 hours ago

รู้ใจ เดินหน้ารุกตลาด! ประกาศเข้าซื้อ ไดเร็คเอเชีย ประเทศไทย เสริมแกร่งส่วนแบ่งตลาด

กลุ่มบริษัทรู้ใจ ประกาศความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการ ไดเร็คเอเชีย ประเทศไทย จากกลุ่มบริษัทฮิสค็อกซ์ (Hiscox) อย่างเป็นทางการ การควบรวมกิจการครั้งสำคัญนี้ ส่งผลให้รู้ใจมีพอร์ตโฟลิโอลูกค้าประกันภัยรถยนต์รวมกันกว่า 300,000 คัน ตอกย้ำความแข็งแกร่งและเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ รู้ใจ ก่อตั้งขึ้นในปี 2559…

2 hours ago

realme 14 Pro series พลิกโฉมวงการสมาร์ทโฟน เปิดตัวนวัตกรรมฝาหลังเปลี่ยนสีได้

realme (เรียลมี) สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในวงการสมาร์ทโฟน ด้วยการเปิดตัว realme 14 Pro series สมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมที่มาพร้อมดีไซน์ฝาหลังเปลี่ยนสีได้ตามอุณหภูมิเป็นครั้งแรกของโลก! ผลงานการออกแบบร่วมกับ Valeur Designers สตูดิโอออกแบบอุตสาหกรรมชื่อดังจากแถบสแกนดิเนเวีย ที่เคยฝากผลงานไว้กับแบรนด์ระดับโลกอย่าง Bang…

2 hours ago

รีวิว Samsung Galaxy S24 FE ผ่านมา 3 เดือน ยังน่าซื้ออยู่มั้ย

สวัสดีครับ วันนี้ Biztalk Gadget จะมา รีวิว Samsung Galaxy S24 FE ที่เปิดตัวมาตั้งแต่เดือน กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งในวันนี้เราจะมาคุยกันใน 3 เรื่องหลักคือ…

2 hours ago

แฮกเบื้องหลังไอเดียสิ่งประดิษฐ์ “ถังขยะอัจฉริยะ” จากนวัตกรผู้ชนะ e-Waste HACK BKK 2024 เวทีที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคอย่างแท้จริง

การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Waste เปรียบเสมือน “ระเบิดเวลา” ทางสิ่งแวดล้อมของโลก “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ถือเป็นผู้ผลิต e-Waste รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลกที่ปริมาณ 12.3 ล้านเมตริกตันในปี 2566 เพิ่มสูงขึ้นกว่า 60% ในปี…

11 hours ago

Google Cloud เปิดตัว Agentspace ปฏิวัติการทำงานด้วย AI Agent สู่ยุคองค์กรอัจฉริยะ

Google Cloud ประกาศเปิดตัว Google Agentspace แพลตฟอร์มสุดล้ำที่ผสานพลัง AI agent เข้ากับระบบการค้นหาอัจฉริยะระดับโลก ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน เพิ่มศักยภาพองค์กรสู่ยุคใหม่แห่งความสำเร็จ ในโลกธุรกิจยุคปัจจุบัน การเข้าถึงข้อมูลและความรวดเร็วในการทำงานถือเป็นหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จ องค์กรต่าง ๆ…

11 hours ago