กรมโรงงานอุตสาหกรรมคุมเข้มแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากโรงงานพร้อมทั้งผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาโรงงานกำจัด บำบัด และรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพให้เพียงในทุกภูมิภาค เน้นนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการ และเข้มงวดกฎหมายลงโทษผู้กระทำผิด
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรอ.มีแผนที่จะผลักดันส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโรงงานที่รับกำจัด /บำบัด/รีไซเคิลกากอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับลักษณะกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นกว่า 30 ล้านตันต่อปี เน้นส่งเสริมให้มีการจัดการกากอุตสาหกรรมในพื้นที่การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการกากอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบันในบางพื้นที่มีโรงงานรับกำจัดหรือบำบัดไม่เพียงพอที่จะรองรับกากอุตสาหกรรมในพื้นที่นั้นๆ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องส่งกากอุตสาหกรรมไปกำจัดหรือบำบัดนอกพื้นที่ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงมาก เช่น สัดส่วนโรงงานผู้ก่อกำเนิดต่อโรงงานผู้รับกำจัด/บำบัดในภาคเหนือ คือ 102 : 1 , ภาคใต้ 121 : 1 , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 101 : 1 ซึ่งต่างจากภาคตะวันออกที่มีสัดส่วน 12 : 1
“จากข้อมูลการกระจายตัวเชิงปริมาณของโรงงานรับกำจัด/บำบัดในแต่ละภูมิภาค ดังนั้นการส่งเสริมการจัดตั้งอุตสาหกรรมที่รับกำจัด/บำบัด/รีไซเคิลกากอุตสาหกรรม ต้องมีการนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาประกอบการพิจารณา เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการกากอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับลักษณะกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ เช่น ภาคใต้ โรงงานส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร แปรรูปยางธรรมชาติ และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ภาคตะวันออก โรงงานส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมหนัก และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งมีกากของเสียอันตรายในปริมาณค่อนข้างมาก เป็นต้น โดยต้องมีการนำเทคโนโลยีในการบริหารจัดการเข้ามาช่วยให้เกิดประสิทธิภาพด้วย” นายทองชัย กล่าว
ทั้งนี้ข้อมูลสิ้นเดือนมิ.ย.62 พบว่า มีโรงงานบำบัดน้ำเสียที่ได้รับอนุญาตรวม 133 ราย ส่วนใหญ่เป็นระบบบำบัดน้ำเสียของบริษัทในเครือ, โรงงานเผาร่วมในการผลิตปูนซิเมนต์/ปูนขาว 12 ราย, โรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อ 5 ราย, โรงงานเตาเผาของเสียอันตราย 4 ราย, โรงงานเตาเผาของเสียไม่อันตราย 10 ราย, โรงงานคัดแยกของเสียไม่อันตราย 1,609 ราย, โรงงานฝังกลบของเสียไม่อันตราย 20 ราย, โรงงานฝังกลบของเสียอันตรายและไม่อันตราย 3 ราย และโรงงานรีไซเคิล 960 ราย โดยภาพรวมโรงงานดังกล่าวมีทั้งดำเนินกิจการ รวมถึงยังไม่แจ้งประกอบกิจการ และมีการหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว เป็นต้น
นายทองชัย กล่าวอีกว่า ขณะนี้กรอ.ยังให้ความสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อมและมีนโยบายที่เข้มงวดเพื่อให้โรงงานมีการจัดกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง และถูกกฎหมายมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประสานกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัดให้เร่งรัดโรงงานเป้าหมายเข้าสู่ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง 100% ทั้งนี้ล่าสุดกรอ. สามารถผลักดันให้โรงงานที่เข้าระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องแล้วจำนวน 32,986 ราย จากโรงงานทั้งหมด 67,989 ราย หรือคิดเป็น 48.52% ของโรงงานทั้งหมด แบ่งเป็นโรงงานที่เข้าระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 2,813 ราย หรือคิดเป็น 78.95% ของโรงงานที่อยู่ในนิคมฯ 3,563 ราย และโรงงานที่อยู่นอกนิคมฯที่เข้าระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมมีจำนวน 30,173 รายหรือคิดเป็น 46.83% ของโรงงานที่อยู่นอกนิคมฯ 64,426 ราย
ส่วนแนวทางในการคุมเข้มและตรวจสอบกากของเสียที่เกิดขึ้นจากโรงงานในประเทศนั้น ทางกรอ.มีกฎหมายที่ควบคุม และดูแลการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากโรงงานในประเทศจากต้นทางไปถึงปลายทางอย่างเข้มงวด เช่นโรงงานที่จะนำของเสียออกไปกำจัด บำบัด หรือรีไซเคิลนอกโรงงาน ต้องขออนุญาตจากกรอ.ก่อน ส่วนโรงงานที่มีการกักเก็บของเสียไว้ภายในโรงงานเกิน 90 วัน ต้องขออนุญาตขยายระยะเวลากักเก็บของเสียไว้ภายในโรงงานเช่นกันแต่หากดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
“กรอ.ยังจัดโครงการยกระดับมาตรฐานการจัดการกากของเสียของโรงงานผู้รับกำจัด/บำบัด/รีไซเคิล เพื่อส่งเสริมให้โรงงานมีมาตรฐานการจัดการของเสียที่ดี พร้อมทั้งมีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Auto E-License เข้ามาเชื่อมโยงกับระบบติดตามรถขนส่งของเสียอันตรายด้วยการติดจีพีเอส ซึ่งจะช่วยในการกำกับดูแลการขนส่งของเสียอันตรายแบบเรียลไทม์และมีการแจ้งเตือนหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง” นายทองชัย กล่าว
นอกจากนี้ยังได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้งบประมาณปี พ.ศ. 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้โรงงานที่ประกอบกิจการคัดแยก ถอดประกอบ บดย่อย และรีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้มีศักยภาพในการประกอบกิจการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั่วประเทศ ให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….
สำหรับการคาดการณ์ปริมาณกากขยะวัตถุอันตรายและของเสียอื่นๆ มีปริมาณ 30.94 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็นกากอันตราย 1.74 ล้านตัน และไม่อันตราย 29.2 ล้านตัน โดยใน 9 เดือนของปีงบประมาณ 62 (ต.ค.61- มิ.ย. 62) มีปริมาณกากที่เข้าระบบแล้ว 13.184 ล้านตัน แบ่งเป็นกากอันตราย 925,000 ตัน และไม่อันตราย 12.259 ล้านตัน
เปิดตัว vivo V50 สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมคอนเซปต์ "ถ่ายที่รักอย่างโปร" ชูจุดเด่นกล้อง ZEISS ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลรอบด้าน อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ AI…
กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…
China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…
AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…
ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…
ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…