ความปลอดภัยของผู้คนถือเป็นสิ่งสำคัญสุดสำหรับบริษัทด้านการผลิต การแพร่ระบาดผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสถานที่ทำงาน เช่น การสร้างระยะห่างทางสังคมในส่วนบรรจุภัณฑ์ และการจำกัดการเข้าถึงเพื่อติดตั้งหรือดำเนินการซ่อมบำรุง คนทำงานลดน้อยลง เนื่องจากกฎระเบียบข้อบังคับในการกักตัว และอีกหลายปัญหาที่ต้องอาศัยการตอบสนองด้วยนวัตกรรมจากผู้มีส่วนร่วมในภาคการผลิต ตัวอย่างเช่น ในเดือนมีนาคม สถาบันด้านการจัดการซัพพลาย หรือ ISM (Institute of Supply Management) รายงานว่าเกือบ 75 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่เข้ารับการสำรวจได้รายงานถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในซัพพลายเชนเรื่องกำลังการผลิตบางส่วน เนื่องจากข้อจำกัดด้านการขนส่งอันเนื่องมาจากไวรัสโคโรนา
–ดีแทคเผย “สวัสดีปีเสือทอง” อวยพรฮิตสุดช่วง 21.00-22.00 น.
–เอไอเอส ชี้ปีใหม่ยอดดาต้า 5 จี เพิ่มขึ้น 619% กระจายทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
เมื่อองค์ประกอบจากปัจจัยภายนอกร่วมกันบีบบังคับให้อุตสาหกรรมต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงไม่มีเวลา (หรือเงินทุน)มาคาดหวังว่าเงินลงทุนจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ในทางกลับกัน โซลูชันที่ช่วยปรับปรุงเรื่องความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และความสามารถในการมองเห็นทั่วซัพพลายเชนการผลิตคือสิ่งจำเป็น ความสามารถในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำเนินการได้มากขึ้นด้วยจำนวนคนเท่าที่มีอยู่ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว
แนวทางใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการปรับกระบวนการดำเนินงานสู่ระบบดิจิทัล ช่วยให้พนักงานสามารถเพิ่มทักษะและการฝึกอบรมได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ทำงานได้จากระยะไกล และเพิ่มประสิทธิภาพของสินทรัพย์ที่มีอยู่ในโรงงานผลิต
หลายองค์กรกำลังตระหนักว่าการปรับกระบวนการดำเนินงานสู่ดิจิทัลสามารถให้วิธีการในการสร้างกระบวนการใหม่ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งช่วยให้กระบวนการเดิมมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงให้เห็นว่าบรรดาบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ได้นำโซลูชันดิจิทัลซอฟต์แวร์มาใช้ เพื่อปรับตัวรับมือกับความท้าทายจากการแพร่ระบาดทั่วโลก
–ติดตั้งระบบซ่อมบำรุงแบบคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ในอุตสาหกรรมที่จำเป็นอย่าง อาหารและเครื่องดื่ม ที่มีความต้องการพุ่งสูงทำให้ผู้ผลิตอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถปล่อยให้การดำเนินการต้องชะลอตัวหรือหยุดชะงักได้ ตัวอย่างเช่น ในการผลิตผลิตภัณฑ์จำพวกนมวัว ยังคงผลิตนมอยู่อย่างต่อเนื่อง และหากโรงงานโดนบังคับให้ต้องหยุดการดำเนินงาน นมที่ได้ก็จะถูกทิ้ง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียสำคัญที่เป็นอาหารเหลือทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย รวมถึงส่งผลกระทบต่อผลกำไร ด้วยเหตุนี้ สินทรัพย์เครื่องจักรจึงถูกเรียกเก็บภาษีเกินขีดจำกัดปกติ และต้องมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าเพื่อลดการเกิดดาวน์ไทม์ แม้ว่าอุปกรณ์จะเกิดความเสียหายและล้มเหลวก็ตาม โดยในกรณีดังกล่าว โซลูชันระบบดิจิทัลจะให้ความสามารถในการคาดการณ์การซ่อมบำรุงล่วงหน้า ซึ่งช่วยให้พนักงานที่มีอยู่จำกัดมุ่งเน้นที่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด และสามารถวางแผนการซ่อมได้ ก่อนที่จะทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงัก บริษัทต่างๆ สามารถขยายอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้ด้วยการใช้ IIoT เซ็นเซอร์วัดเงื่อนไขการทำงาน หากไม่มีเหตุอันควรให้ต้องซ่อมบำรุง บริษัทก็สามารถเลื่อนการซ่อมบำรุงออกไปได้ไกลกว่าช่วงเวลาปกติที่เป็นมาตรฐาน สอดคล้องตามข้อมูลจาก McKinsey การตรวจสอบเงื่อนไขการซ่อมบำรุงได้ดียิ่งขึ้น โดยปกติแล้วจะช่วยลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงได้ 10-15 เปอร์เซ็นต์
–การเพิ่มศักยภาพให้กับคนทำงาน บรรดาองค์กรที่เผชิญกับความท้าทายในการที่ต้องลดคนทำงาน ต้องใช้คนทำงานที่เหลืออยู่ในการผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่างหนึ่งที่การปรับกระบวนการสู่ดิจิทัลช่วยได้คือ การมีผู้เชี่ยวชาญจากระยะไกล (เช่นผู้จัดการที่ดูแลพื้นที่ผลิต) ใช้แท็ปเล็ตในการช่วยชี้แนวทางให้กับพนักงานที่มีประสบการณ์น้อยและยังต้องทิ้งระยะห่างทางสังคม โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะใช้แอปพลิเคชัน AR ในการอธิบายกระบวนการในการใช้เครื่องจักรและบริหารจัดการด้านการทำงานให้เห็นเป็นภาพ
ในสถานการณ์ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และโรงงานส่วนใหญ่ต้องอาศัยการดำเนินการด้วยตัวเอง พนักงานต้องห่างจากเครื่องจักรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมด้านกระบวนการดำเนินงาน เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาในพื้นที่การผลิต พนักงานเหล่านี้ต้องดูหน้าจอหลากหลายของเครื่องจักรแต่ละตัว เพื่อประเมินถึงต้นเหตุของปัญหาที่เจอ หากสายการผลิตหยุดทำงาน ก็ต้องโทรเข้าไปที่ฝ่ายสนับสนุนด้านเทคนิค ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทั้งหมดกินเวลามากและทำให้มีเวลาไม่พอ
ในทางกลับกัน หากผู้ดำเนินงานเข้าถึงเครื่องมือ AR ในระบบดิจิทัลผ่านอุปกรณ์พกพา ตัวอย่างเช่น พนักงานสามารถระบุจากภาพที่เห็นได้อย่างรวดเร็วว่าเกิดปัญหาที่ไหนโดยที่ไม่ต้องทำการฝึกอบรมต่อ อีกทั้งยังได้รับคำแนะนำโดยทันที พร้อมเอกสารที่อัพเดตเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และเมื่อกระบวนการในระบบดิจิทัลทำให้งานของผู้ดูแลง่ายขึ้น บริษัทก็มีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่ยุ่งยากและผันผวนได้ดียิ่งขึ้น
–ปรับสู่ระบบอัตโนมัติเพื่อให้สามารถเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกได้รวดเร็ว องค์กรธุรกิจที่ลงทุนในเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว จะไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากวิกฤติปัจจุบัน เนื่องจากความยืดหยุ่นที่เพิ่มเข้ามา ช่วยให้ปรับตัวตามเงื่อนไขตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ ตัวอย่างเช่น ในการดำเนินการด้านการกลั่นและบรรจุขวดที่ออกแบบเพื่อการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากมีระบบออโตเมชั่นที่เหมาะสมอยู่แล้ว ก็จะช่วยให้ปรับเปลี่ยนและออกเป็นสูตรใหม่สำหรับเจลทำความสะอาดมือได้ ซึ่งความคล่องตัวในการตอบสนองอย่างรวดเร็วนั้นช่วยให้บริษัทต่างๆ รองรับความต้องการของตลาดในปัจจุบันได้ โดยใช้สินทรัพย์ขององค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และช่วยรักษางานไว้ได้
ก้าวต่อไปก็คือ หลายองค์กรด้านการผลิตจะนำพาธุรกิจไปในแนวทางใหม่ สำหรับบางรายการจะมุ่งเน้นที่ความพอเพียงในองค์กรมากกว่า แต่สำหรับอีกหลายรายจะเน้นไปที่ช่องทางจัดหาและจัดจำหน่ายเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหนก็ตาม การปรับกระบวนการด้านการทำงานหลักสู่ระบบดิจิทัลและความสามารถในการเข้าถึงสินทรัพย์ต่างๆ ในโรงงานได้จากระยะไกลอย่างปลอดภัย จะกลายเป็นศักยภาพหลักที่จำเป็นต่อการให้บริการในตลาดที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ยิ่งขึ้น
บทความโดย ไมเคิล จามีสัน ประธานฝ่ายอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…