การใช้ระบบ Automation จะช่วยประหยัดเวลาและเงินได้จริงหรือไม่

Automation หรือระบบอัตโนมัติ ได้กลายเป็นคำศัพท์ที่แพร่หลายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตไปจนถึงธุรกิจบริการทางการเงิน เรียกได้ว่าเป็นคำตอบที่ทั้งในโรงงานและสำนักงานทั่วโลกต่างมองหาเพื่อจะช่วยให้การส่งมอบสินค้าและบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รัฐบาลไทยเองก็ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของระบบอัตโนมัติในการช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ตอบรับต่อนโยบาย Thailand 4.0 ได้อย่างเต็มที่ จึงได้มีการเสนอให้สามารถลดหย่อนภาษีได้มากถึง 200% เมื่อธุรกิจลงทุนในระบบอัตโนมัติ

ดูเหมือนว่าระบบอัตโนมัตินั้นได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่จากผลการสำรวจล่าสุดของเอบีม คอนซัลติ้ง ที่ทำการสำรวจกลุ่มบริษัทข้ามชาติในเอเชีย 55 แห่งพบว่า มากกว่า 42% รายงานว่าการใช้กระบวนการอัตโนมัติโดยหุ่นยนต์ (Robotics Process Automation: RPA) ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ซึ่งได้กลายเป็นปัญหาหลัก แล้วเราจะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร

พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผย Bitcoin สร้างความมั่งคั่งให้อาชญากรไซเบอร์
เอส เอฟ จับมือ เจ เวนเจอร์ส แลกบัตรชมภาพยนตร์ด้วย JFIN Coin บน SF Cinema แอปฯ

สิ่งสำคัญคือ ผู้นำธุรกิจจะต้องคิดอย่างรอบคอบเกี่ยวกับวิธีที่จะนำระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น การเลือกกระบวนการที่เหมาะสมเพื่อนำระบบอัตโนมัติไปใช้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้งานที่ไม่มีประสิทธิภาพถูกแก้ไขโดยระบบอัตโนมัติ หรือการทบทวนว่าจะสามารถปรับปรุงกระบวนการก่อนนำระบบอัตโนมัติมาใช้งานได้อย่างไร และการใช้งานระบบอัตโนมัตินี้มีมากหรือน้อยเกินไปเกินไปหรือไม่ เป็นต้น

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนของปัญหาที่ทีมเอบีม คอนซัลติ้ง พบเจอเมื่อทำงานกับลูกค้าในการนำกระบวนการ RPA มาใช้ ซึ่งถือเป็นทางออกยอดนิยมที่จะช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนได้ แต่ระบบ RPA นั้นจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการคิดและวางแผนอย่างรอบคอบมาแล้วเท่านั้น

เอบีม คอนซัลติ้ง ได้แนะนำแนวทางและหลักการแบบองค์รวมเกี่ยวกับดิจิทัลรานส์ฟอร์เมชั่น ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ (Business Process Reengineering: BPR) เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงว่าสิ่งนี้จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร

และเพื่อให้แน่ใจว่าการนำ RPA ไปใช้งานจะประสบผลสำเร็จ เราได้สนับสนุนให้องค์กรต่างๆ ดำเนินการ 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ก่อนเริ่มใช้ RPA และระบบอัตโนมัติอื่นๆ:

  1. ระบุจุดที่ต้องปรับปรุงและประเมินปริมาณงานเพื่อเลือกกระบวนการที่เหมาะสม

ขั้นตอนแรกคือ วิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจในปัจจุบันของคุณเพื่อระบุจุดที่เป็นไปได้สำหรับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ผ่านการทำ BPR หรือการปรับปรุงในด้านอื่นๆ โดยพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่เป็นไปได้ทั้งหมด โดยพื้นฐานแล้วหมายถึงการแสดงภาพให้เห็นว่ามีจุดใดบ้างที่สามารถปรับปรุงได้และจะช่วยทำให้ปริมาณงานลดลง ให้พิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ค่า FTE (Full-Time Equivalent) เพื่อกำหนดลำดับความสำคัญ ซึ่งโดยปกติแล้ว กระบวนการที่เน้นการทำงานมากที่สุดจะกลายเป็นจุดสนใจในการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมการประเมินกระบวนการนี้แสดงให้เห็นภาพกระบวนการโดยรวมที่ชัดเจนแก่ผู้บริหาร และอำนวยความสะดวกในการระบุพื้นที่สำหรับโอกาสของ BPR และ/หรือ RPA

  1. การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ (BPR) เพื่อออกแบบหนทางแก้ปัญหาโดยไม่ใช้แค่เพียง RPA เท่านั้น

การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่จะสามารถระบุ แสดงภาพ และวิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายในกระบวนการที่เลือกใช้ และการทบทวนนี้จะช่วยแจ้งให้ทีม BPR ทราบเมื่อพวกเขากำลังออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาสำหรับแต่ละปัญหา โดยวิธีการแก้ปัญหาจะไม่จำกัดเฉพาะการใช้ RPA หรือเทคโนโลยีอื่นๆ เท่านั้น แต่รวมถึงการทำให้กระบวนการง่ายขึ้น และ/หรือการกำหนดมาตรฐาน ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานได้ ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากร การพิจารณา BPR โดยละเอียดสามารถลดความซับซ้อนได้ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการดำเนินการลดลง

  1. แนะนำการทดสอบ RPA แบบนำร่องเพื่อให้เกิดประโยชน์และผลลัพธ์

ดำเนินการทดสอบ RPA แบบนำร่องควบคู่ไปกับ BPR ของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการแก้ปัญหาและโครงสร้างพื้นฐานของคุณทำงานได้ตามที่คาดไว้ กระบวนการที่ระบุในขั้นตอนที่หนึ่งสามารถพัฒนาและทดสอบได้โดยผู้ใช้งานเพื่อเป็นข้อเสนอแนะและปรับแต่ง ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสในการหารือเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบของ RPA กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเพื่อให้ได้การยอมรับและเห็นด้วย

  1. คำนวณผลกระทบและกำหนดแผนการเปลี่ยนแปลง

หลังจากตรวจทานผลการทดสอบแล้ว คุณควรจะมองเห็นถึงประโยชน์และผลกระทบจากระบบอัตโนมัติได้อย่างชัดเจน แม้กระทั่งคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment: ROI) ที่คาดการณ์ไว้เพื่อพิจารณาว่าคุณจะสร้างมูลค่าที่แท้จริงจากการนำไปใช้งานได้หรือไม่ ในขั้นตอนนี้ คุณอาจระบุพื้นที่เพิ่มเติมหรือทางเลือกอื่นๆ ที่จำเป็นต้องลงทุน และควรจะสามารถสร้างแผนการโอนถ่ายโยกย้าย (Migration Plan) ที่จะช่วยให้คุณก้าวไปข้างหน้าด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรของคุณจะได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มที่จากการใช้กระบวนการ RPA นี้

การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นผ่านการใช้ RPA นั้น สามารถทำให้กระบวนการต่าๆ รวดเร็วขึ้นและช่วยนำทรัพยากรไปทำงานอื่นๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นได้ แต่ที่สิ่งสำคัญคือต้องกำหนดเป้าหมายกระบวนการที่เหมาะสมที่สุดที่จะใช้ระบบอัตโนมัติ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและสร้างผลประโยชน์ได้อย่างมาก แทนที่จะเน้นไปที่จำนวนของกระบวนการอัตโนมัติ ซึ่งก็คือการคำนึงถึงคุณภาพมากกว่าปริมาณที่ได้

องค์กรควรทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นที่สามารถนำ BPR และ RPA มาใช้ได้อย่างบูรณาการ รวมถึงการประเมินกระบวนการทางธุรกิจโดยละเอียดและการออกแบบกระบวนใหม่เพื่อรองรับระบบอัตโนมัติ การนำ RPA มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ และการปรับปรุงดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงขององค์กรทั้งหมดจะบรรลุผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุดและส่งมอบประโยชน์จากระบบอัตโนมัติตามที่ต้องการ

สำหรับเอกสารฉบับสมบูรณ์ที่นำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับบทบาทของ BPR ในการเพิ่มผลประโยชน์ RPA สูงสุด สามารถเข้าไปอ่านได้ที่: https://www.abeam.com/th/en/topics/insights/rpa_benefits

บทความโดย วากานะ โอกุระ ผู้อำนวยการสายงานที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด

supersab

Recent Posts

เอปสัน คว้า 2 รางวัลแห่งปี ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านประสบการณ์ลูกค้า และแบรนด์อันดับหนึ่งเครื่องพิมพ์

เอปสัน (ประเทศไทย) สร้างความภาคภูมิใจครั้งยิ่งใหญ่ คว้า 2 รางวัลทรงเกียรติระดับประเทศประจำปี 2568 ได้แก่ รางวัล “Thailand Top Company Awards 2025” ในประเภท…

12 hours ago

NH Collection Samui Peace Resort รีสอร์ทหรูริมหาดบ่อผุด สัมผัสโอเอซิสแห่งการพักผ่อนบนเกาะสมุย

ไมเนอร์ โฮเทลส์ ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการบริการ เปิดตัวโรงแรม เอ็นเอช คอลเลคชั่น สมุย พีซ รีสอร์ท (NH Collection Samui Peace Resort) รีสอร์ทหรูแห่งแรกภายใต้แบรนด์…

12 hours ago

ทรู ดิจิทัล พาร์ค ผนึก บีโอไอ เปิด “Thailand Fast Track” ดึงดูดสตาร์ทอัพทั่วโลก ปักหมุดไทยศูนย์กลางลงทุนแห่งใหม่

ทรู ดิจิทัล พาร์ค เดินหน้าผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นประเทศที่น่าลงทุนที่สุดในภูมิภาค ผนึกกำลังกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดตัวโครงการสำคัญ "Thailand Fast Track" เพื่อเติมเต็มความต้องการของสตาร์ทอัพและนักลงทุนจากทั่วโลกที่สนใจเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โครงการ "Thailand Fast Track"…

13 hours ago

ไปรษณีย์ไทย จับมือ เมเจอร์ฯ เปิดตัว “Post Truck Bucket Set” สุดเก๋ เอาใจนักสะสมและคนรักหนัง เริ่ม 15 เม.ย. นี้

ไปรษณีย์ไทย สร้างความฮือฮาด้วยการจับมือกับ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เปิดตัว "Post Truck Bucket Set" บัคเก็ตเซ็ทป๊อปคอร์นสุดพิเศษ ที่มาในรูปแบบ "โมเดลรถส่งไปรษณีย์ไทย" สัญลักษณ์ที่คุ้นเคยของคนทุกยุคสมัย ผสานความคลาสสิกของไปรษณีย์ไทยเข้ากับความบันเทิงของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์…

13 hours ago

จระเข้ ผนึกกำลัง Q-CHANG และพันธมิตร เปิดแคมเปญ “WE’VE GOT YOUR BACK” ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว ซ่อมบ้านปลอดภัย หายกังวล

จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จับมือกับพันธมิตรสำคัญอย่าง บริษัท คิวช่าง จำกัด (Q-CHANG) พร้อมด้วยกลุ่มบริษัทพันธมิตร เอสซีจี แฟมิลี่ และผลิตภัณฑ์ตราช้าง เปิดตัวแคมเปญใหญ่ “WE’VE GOT YOUR…

13 hours ago

HPE รุกตลาดคลาวด์ส่วนตัวเสมือน เปิดทางเลือกใช้งาน On-premise เสริมแกร่ง Aruba Networking Central

บริษัท ฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ (HPE) ประกาศเปิดตัวฟังก์ชันใหม่สำหรับ HPE Aruba Networking Central โซลูชันบริหารจัดการเครือข่ายอัจฉริยะที่เน้นความปลอดภัยเป็นอันดับแรก โดยได้เพิ่มทางเลือกการใช้งานระบบคลาวด์ส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Cloud…

14 hours ago

This website uses cookies.